อื่นๆ

ป่าผาดำ ป่าต้นน้ำคนสงขลา

194
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ป่าผาดำ ป่าต้นน้ำคนสงขลา

มนุษย์เรามักมองว่า น้ำหมดเดี๋ยวฝนก็ตกใหม่ หรือเดี๋ยวก็มีการแก้ปัญหาโดยรัฐบาล

แต่เราลืมนึกไปว่า เอาจริง ๆ แล้วธรรมชาติหรือหน่วยงานรัฐ ไม่สามารถที่จะบรรเทาปัญหาได้ทันกับความต้องการของเราได้ แต่ก็มีน้อยคนมากที่จะหวนกลับมานึกได้ว่า เราไม่เคยใช้น้ำอย่างหวงแหนเลย ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าธรรมชาติทำงานหนักขึ้นทุกวัน และค่อย ๆ หมดลงเพราะฝีมือของมนุษย์อย่างเรา ๆ ทั้งผืนป่า ทั้งแหล่งน้ำ และสัตว์ป่า

วันนี้ผู้เขียนขอเสนอป่าผาดำ ผืนป่าที่เป็นแหล่งน้ำแทบจะเป็นผืนสุดท้ายของจังหวัดสงขลา อย่างที่คนในพื้นที่กล่าวขาน เนื่องจากเมื่อ 12 ปีก่อน ทางผู้เขียนและเพื่อน ๆ ที่ชอบทำกิจกรรมอาสา ได้รวมตัวกันเพื่อออกค่ายทำกิจกรรม โดยกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการทำฝายชะลอน้ำ เพราะป่าผาดำเป็นพื้นที่ป่าผืนใหญ่ของจังหวัดสงขลา มีพื้นที่ติดหลายอำเภอ แต่ปัจจุบันพื้นที่ป่าที่เป็นป่าจริง ๆ เริ่มลดน้อยลงทุกวัน และกลายเป็นพื้นที่สวนผลไม้ และสวนยางพาราในหลาย ๆ จุด แต่บางจุดก็เป็นพื้นที่อนุญาตให้ชาวบ้านได้ไปทำสวน และทำกินบริเวณริมเขา แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่ตัดต้นไม้ ถ้าจะทำสวนต้องมีการปลูกแซมในพื้นที่เท่านั้น (นี่คือข้อมูลเมื่อ 15 ปีที่แล้ว) แต่ที่น่ากลัวคือการเข้าไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และทำกินโดยไม่อนุรักษ์

Advertisement

Advertisement

เนื่องจากป่าผาดำเป็นพื้นที่ป่า ที่เป็นแนวเขายาวติดหลายอำเภอในจังหวัดสงขลา และแต่ละจุดของแนวป่าก็มีชื่อเรียกโดยชาวบ้านในพื้นที่ ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละจุด อย่างเช่นจุดที่ทางผู้เขียนและคณะได้ขึ้นไปทำฝายชะลอน้ำในครั้งนั้น เป็นแนวป่าผาดำฝั่งบาโรย ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ป่าไม้ โดยในจุดนี้จะมีสำนักงานป่าไม้เป็นผู้รับผิดชอบดูแลอยู่ แต่ในการเดินทางครั้งนี้ ทางทีมงานก็ได้รับความอนุเคราะห์เรื่องการนำทางเดินป่า และการหาจุดเพื่อจัดสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนกลางน้ำ และปลายน้ำให้มากที่สุด

การเข้าพื้นที่ป่าเพื่อสำรวจพื้นที่

เมื่อได้พื้นที่เหมาะสมในการทำฝาย การจัดเตรียมทุกอย่างก็เริ่มเกิดขึ้น แต่ในการทำค่ายอาสาในรูปแบบการทำฝายในป่า สิ่งที่ต้องเตรียมก็ไม่ได้มีอะไรมากมาย เนื่องจากอุปกรณ์หลัก ๆ ในการทำฝายเราสามารถหาได้จากธรรมชาติ โดยการใช้ธรรมชาติในการช่วยเหลือธรรมชาติ สิ่งที่ต้องเตรียมก็คงเห็นจะมีแค่อุปกรณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่สามารถหาได้จากธรรมชาติ และก็คงจะเป็นเสบียงให้พอกับคนที่มาช่วยในกิจกรรมครั้งนี้ และในภารกิจครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องโชคดี เมื่อได้รับข่าวจากคุณครูท่านหนึ่ง จากโรงเรียนกอบกุลวิทยา เป็นโรงเรียนในพื้นที่และเป็นโรงเรียนที่เน้นเรื่องกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ว่าจะพาน้อง ๆ นักเรียนมาช่วยในกิจกรรมครั้งนี้ เป็นที่น่าดีใจเป็นอย่างมากครับ เพราะเราจะได้มีแรงงาน และเพื่อนร่วมอุดมการณ์ต่างวัยเพิ่มขึ้นอีกหลายคน

Advertisement

Advertisement

ภาพขณะทำฝายโดยมีน้องๆนักเรียนมาช่วย

จริง ๆ แล้วความยากในการทำฝายชะลอน้ำ ในพื้นที่ของสายน้ำป่าผาดำแห่งนี้ คือ ป่าผาดำเป็นป่าดิบชื้น และมีทางน้ำหลายสาย เพราะเหตุนี้ทางทีมงานจึงต้องหาสายน้ำที่เหมาะสม และเมื่อทำฝายแล้วน้ำจะไม่ไหลออกไปทางสายน้ำเส้นอื่นทั้งหมด อีกทั้งในพื้นที่ป่าต้นน้ำ แหล่งน้ำในช่วงฤดูฝนจะมีฝนตกหนัก นั่นหมายถึงจะมีน้ำป่าที่ไหลแรงเช่นกัน เมื่อถึงเวลานั้นอาจจะส่งผลให้ฝายชะลอน้ำพังได้

มาถึงขั้นตอนการทำกันบ้าง การทำฝายชะลอน้ำในครั้งนี้ ได้รับการแนะนำจากพี่ ๆ เจ้าหน้าที่ และหลาย ๆ ท่านแนะนำให้เริ่มจากการตัดไม้มาทำคอกรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณ 1 - 1.20 เมตร และความยาวก็เท่ากับขนาดของขอบคูน้ำ หรือความกว้างของคลองในจุดที่สร้างฝาย เมื่อปักไม้ทำเสาและกั้นเป็นคอกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนของงานหนัก คือ การขนหินมาไว้ในคอก เพราะใช้หินเป็นตัวกักและกรองน้ำ ให้น้ำผ่านไปได้แค่ปริมาณที่จำกัด เมื่อระยะเวลาผ่านไปปริมาณน้ำก็จะสูงขึ้น พร้อมทั้งมีกิ่งไม้ใบไม้เข้ามาติดที่หน้าฝาย ทำให้ฝายสามารถกักเก็บน้ำได้ดียิ่งขึ้น ทำให้สายน้ำตรงจุดนั้นกลายเป็นแอ่งน้ำ ที่ค่อย ๆ ระบายน้ำลงไปสู่พื้นที่ด้านล่างได้อย่างต่อเนื่อง และยังคงเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับต้นไม้ และเป็นแอ่งน้ำดื่มให้กับสัตว์ป่าบริเวณนั้นได้อีกด้วยภาพการทำคอก

Advertisement

Advertisement

ภาพการนำหินมาใส่คอกภาพฝายชะลอน้ำเสร็จสมบูรณ์ จริง ๆ แล้วสิ่งที่ได้จากการทำฝายในครั้งนี้ ไม่ใช่แค่งานเสร็จและมีเพื่อนร่วมอุดมการณ์เพิ่มขึ้นเพียงแค่นั้น แต่สิ่งที่ทุกคนอย่างเห็นคือวันพรุ่งนี้เรายังมีผืนป่า มีสัตว์ป่า และมีน้ำใช้อย่างอุดมสมบูรณ์ เราเห็นข่าวหลายต่อหลายพื้นที่ในประเทศไทย ที่ชาวบ้านไม่มีน้ำใช้ พื้นที่ป่าถูกทำลาย และเกิดไฟป่า เพราะเหตุนี้เราจึงไม่อยากให้ผืนป่าที่เราสามารถช่วยดูแลได้ ถูกทำลายลงไป

กิจกรรมครั้งนี้ถึงผ่านมา 12 ปีแล้วก็ตาม แต่ภาพของกิจกรรมและความประทับใจ ยังอยู่ในใจของผู้เขียนเสมอมา

ขอขอบคุณ

  1. เพื่อน ๆ เอกการพัฒนาชุมชนทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้องทุก ๆ ท่าน ที่ทำให้ผู้เขียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้
  2. คุณครูและน้อง ๆ จากโรงเรียนกอบกุลวิทยา ตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
  3. พี่ ๆ เจ้าหน้าที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาดำ ฝั่งบาโรย

ภาพทั้งหมดโดยผู้เขียนและคณะ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เด็กชายคลอง
เด็กชายคลอง
อ่านบทความอื่นจาก เด็กชายคลอง

เป็นคนชอบเที่ยว ชอบมากคือป่า เขา และชอบถ่ายภาพ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์