อื่นๆ

ความท้าทายในการผลักดันสงขลาสู่ "เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก"

363
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ความท้าทายในการผลักดันสงขลาสู่ "เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก"

สถานการณ์โลกที่เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความเจริญก้าวหน้าทางด้านต่าง ๆ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี สิ่งเหล่านี้ได้หล่อหลอมให้มนุษยชาติให้อยู่กับสังคมแห่งความเจริญและความรุ่งโรจน์ จนอาจทำให้หลงลืมสิ่งที่เป็น “อัตลักษณ์” ดั้งเดิมของชนชาติหรือท้องถิ่นของตนเอง ด้วยเหตุดังกล่าวส่งผลให้องค์การยูเนสโกหันกลับมาให้ความสำคัญของการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรม การพัฒนาและรักษามรดกความเป็นท้องถิ่น ควบคู่กับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้แนวคิด “เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก” (The UNESCO Creative Cities Network, UCCN) แบ่งออกเป็น 7 สาขา ได้แก่ เมืองที่ดีเด่นด้านวรรณกรรม, การออกแบบ, ด้านภาพยนตร์, ด้านดนตรี, ด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน, ด้านศิลปะสื่อประชาสัมพันธ์ และด้านอาหาร (ข้อมูลจาก https://bit.ly/2vmvSZe)

Advertisement

Advertisement

สัญลักษณ์ของจังหวัด มโนราและทะเลสาบสงขลานางเงือกสงขลา(ภาพถ่ายโดยผู้เขียน)

จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ตอนล่าง และมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของภาคใต้ พื้นที่ติดกับทะเลอ่าวไทย จึงเป็นเมืองท่าและจุดศูนย์กลางในการติดต่อค้าขายในอดีต ส่งผลให้เมืองสงขลามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ตลอดจนมีความหลากหลายจากผู้คนชนชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาแวะเวียนละตั้งรกรากอาศัย โดยหลัก ๆ มีทั้งจากชาวไทย ชาวเชื้อสายจีน ชาวเชื้อสายมลายู การอาศัยอยู่ร่วมกันจึงเกิดเป็นการหล่อหลอมทางวัฒนธรรมกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ถูกถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเห็นได้จากโบราณสถาน ชุมชนเมืองเก่า และอาหารดั้งเดิม จึงเป็นนำไปสู่ความคิดริเริ่มในการผลักดันเมืองสงขลาให้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก โดยมุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่น เพื่อยกระดับอาหารของพื้นเมืองสงขลาสู่ความเป็นสากลที่น่าสนใจ

Advertisement

Advertisement

อาหารอันเป็นเอกลัษณ์ของภูเก็ตภาพจาก https://unsplash.com/photos/9Zw3SLS-YS4

ประเทศไทยเคยได้รับรองจากยูเนสโก ในสาขาด้านอาหารคือ จังหวัดภูเก็ต ด้วยเหตุผลว่า จังหวัดภูเก็ตมีผู้คนหลากหลาย จึงเกิดวัฒนธรรมอาหารที่ผ่านการผสมผสานของวัฒนธรรมต่าง ๆ จนเป็นเอกลักษณ์สูตรอาหารได้ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น และหาทานที่อื่นไม่ได้ นอกจากนี้ชาวภูเก็ตยังมีความเป็นกันเอง และพร้อมส่งเสริมอาหารของถิ่นตนให้ดีเลิศจากการร่วมมือกันทุกภาคส่วน ซึ่งจังหวัดภูเก็ตได้รับการรับรองเป็นเมืองสร้างสรรค์ทางอาหารสำเร็จในปี 2557 จากการพยายามมากถึง 3 ปี

หากพิจารณาจากเหตุผลที่ยูเนสโกรับรองจังหวัดภูเก็ตแล้ว ผู้เขียนคิดว่าสงขลายังมีข้อจำกัดหลายประการที่ยังไม่สามารถตอบโจทย์ตามที่ยูเนสโกต้องการได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ จังหวัดสงขลามีความหลากหลายทางพหุสังคมวัฒนธรรมสูงก็จริง เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตกว้างกว่าภูเก็ตมาก จึงทำให้มีประชากรหลายกลุ่ม ความแตกต่างทางด้านอาหารก็ย่อมมากตามไปด้วย ซึ่งอาหารที่ถูกยกตัวอย่างว่าเป็นอาหารพื้นเมืองของสงขลา เช่น ต้าวคั่ว แกงสมรม ข้าวมันแกงไก่ แป้งแดง ไข่ครอบ ขนมดู และขนมคนที

Advertisement

Advertisement

ขนมคนที(ภาพโดยผู้เขียน) นี่คือขนมคนที น้อนคนนักจะรู้จักหรือชื่นชอบ เพราะมีกลิ่นแรงจากพืชที่มีชื่อชนิดหนึ่ง

ผู้เขียนคิดเห็นว่าเป็นพบว่าอาหารพื้นเมืองของผู้คนที่บริเวณลุ่มแม่น้ำทะเลสาบสงขลา ไม่ได้คลอบคลุมกลุ่มคนของจังหวัดอย่างแท้จริง ยกตัวอย่าง กลุ่มคนในแถบลุ่มทะเลสาบสงขลาในพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอสิงหนคร รับประทานต้าวคั่วหรือข้าวมันแกงไก่เป็นอาหารเช้า ในขณะที่กลุ่มคนดั้งเดิมอีกพื้นที่กลับทานขนมจีนเป็นอาหารเช้า เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าอาหารพื้นเมืองเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอาหารและวิชีวิตของคนสงขลาเพียงบางกลุ่ม อาหารบางชนิดผู้คนท้องถิ่นอื่น ๆ ที่อยู่มาดั้งเดิมในจังหวัดสงขลา ตลอดจนแทบไม่เคยรู้จักชื่อหรือเคยลิ้มลอง

ต้าวคั่วต้าวคั่ว (ภาพโดยผู้เขียน)

อีกประการที่กล่าวว่าอาหารของภูเก็ตเป็นเอกลักษณ์ที่สืบทอดและไม่สามารถหาทานที่อื่นได้ แต่อาหารของสงขลาสามารถหาทานได้ในจังหวัดอื่น ๆ ใกล้เคียง อาจเกิดมาจากการย้ายถิ่นฐานหรือการนำทำกินและค้าขายเป็นอาชีพ ทั้งนี้อาหารเป็นวัฒนธรรมที่สามารถถ่ายทอดซึ่งกันและกันระหว่างท้องถิ่นได้ง่าย อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมจังหวัดสงขลาไปสู่เมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโกด้านอาหารยังเป็นเพียงความคิดริเริ่ม ซึ่งยังต้องกลับมาทบทวนร่วมมือและแลกเปลี่ยนความคิดระหว่าหน่วยงานและคนในจังหวัดสงขลา เพื่อมาหาสู่ข้อสรุปที่ว่า วัฒนธรรมทางด้านอาหารที่แท้จริงจริงของจังหวัดสงขลาเป็นอย่างไร และมีอาหารชนิดใดบ้างที่บ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์ของคนสงขลาในภาพรวมอย่างแท้จริง

เรื่องดังกล่าวเป็นโจทย์ท้าทายสำคัญให้ทุกส่วนต้องร่วมค้นหาคำตอบ อันจะนำมาสู่วัฒนธรรมทางอาหารอันบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของจังหวัดสงขลาที่น่ายกย่อง ไม่แน่ว่าในอนาคตข้างหน้าอาจมีเรื่องน่ายินดีว่า สงขลาได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านอาหารก็เป็นได้!

ขอบคุณข้อมูลประกอบจากกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องโครงการเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network - UCCN) จาก https://www.bic.moe.go.th/index.php/unesco-others-menu

ภาพหน้าปกจาก https://unsplash.com/photos/XoByiBymX20

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์