ไลฟ์แฮ็ก

1 นิสัยเริ่มต้นของคนเป็นนักเขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
1 นิสัยเริ่มต้นของคนเป็นนักเขียน

คุณจะเป็นนักเขียนที่ดีได้ จะต้องเป็นนักอ่านที่ดีก่อน

คำกล่าวประโยค บ่งบอกถึงจุดเริ่มต้นสำหรับการสร้างนิสัยของการเป็นนักเขียนที่ดี ซึ่งไม่ว่าเราจะไปสอบถามนักเขียนเด่นดัง หรือ มีชื่อเสียงระดับใดก็ตาม สิ่งที่นักเขียนเหล่านั้นจะแนะนำผู้ที่อยากเป็นนักเขียนที่ดีได้ คือ คุณ จะต้องเป็นนักอ่านก่อน

ภาพโดย free-photos จาก https://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C-%E0%B8%84%E0%B8%99-1031754/ภาพโดย free-photos จาก https://pixabay.com/th/photos/

1 นิสัยเริ่มต้นของคนเป็นนักเขียน

การเป็นนักเขียนนั้น นอกจากจะต้องมีความรู้ในสิ่งที่เขียนแล้ว จะต้องหาความรู้ในสิ่งที่จะเขียนและพัฒนาทักษะการเขียนอย่างต่อเนื่อง ก็จำเป็น     จะต้องเริ่มสร้าง สะสมนิสัยการอ่านเสียก่อน ซึ่งประโยชน์ของการอ่านนั้น จะส่งผลต่อการเขียนได้อย่างดี

การอ่าน คือ คลังสะสมความรู้

การอ่าน เป็นวิธีการนำเข้าความรู้ที่ดี เพราะเมื่อผู้อ่าน ได้ทำความเข้าใจกับสิ่งที่อ่าน ผ่านการใช้สายตาที่กวาดไปกับตัวหนังสือ ซึ่งร้อยเรียงเนื้อหาเอาไว้ ก็จะทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้ และเมื่อความรู้นั้น ได้ถูกพัฒนาไปเป็นความเข้าใจในระดับที่สูงขึ้น ก็สามารถถ่ายทอดสิ่งที่รู้นั้นออกมาได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม

Advertisement

Advertisement

การอ่าน คือ คลังสะสมความคิด

นอกจากจะได้ความรู้จากการอ่านแล้ว การอ่านยังก่อให้เกิดการสะสมความคิด ซึ่งความคิดนี้ เป็นผลผลิตจากความเข้าใจ และกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากความคิดนั้นสามารถต่อยอด แตกแขนง หรือปรับเปลี่ยนไปสู่ไอเดีย หรือแนวทาง เพื่อพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ได้อีก

ภาพโดย pixel 2013 จาก https://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-3299901/ภาพโดย pixel 2013 จาก https://pixabay.com/th/photos/

การอ่าน คือ คลังสะสมคำศัพท์

ประโยชน์ของการอ่านอีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้อ่านจะได้สะสมคำศัพท์ จากสิ่งที่อ่าน โดยคำศัพท์เหล่านั้น เป็นพื้นฐานของการผูกประโยค และสร้างเนื้อหาให้กลายเป็นบทความ เรื่องราว ที่จะทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจจากการใช้คำศัพท์ที่เหมาะสม เมื่ออ่านเยอะ คลังของคำศัพท์ที่เหมาะสมสำหรับการเขียน ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นและสามารถเลือกใช้ได้กับงานเขียนประเภทต่าง ๆ ได้

การอ่าน คือ คลังสะสมทักษะการใช้ภาษา

Advertisement

Advertisement

นอกจากนี้ การอ่าน ยังเป็นการสะสมทักษะทางการใช้ภาษา โดยในความหมายนี้ จะทำให้ผู้อ่านที่กำลังพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นนักเขียน จะมีทักษะการใช้ภาษาที่มีสไตล์เป็นของตนเอง โดยการอ่านเยอะ ๆ จะทำให้เห็นความหลากหลาย ความแตกต่างและความแปลกใหม่ของวิธีการเขียน จาก  นักเขียนแต่ละคน ซึ่งจะทำให้เกิดการสะสมทักษะการใช้ภาษาในการเขียนในอนาคตอย่างไม่รู้ตัว

ภาพโดย ClarissaBell จาก https://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94-3205035/ภาพโดย ClarissaBell จาก https://pixabay.com/th/photos/

ผู้เขียนเชื่อว่า การที่ใครคนหนึ่ง จะพัฒนาตนเองให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือเก่งในสิ่งที่ตนเองถนัดนั้น จะต้องมีคุณสมบัติหรือนิสัยบางอย่าง ที่เขาจะต้องเรียนรู้และฝึกพัฒนาตนเองอย่างเข้มงวด และการจะเป็นนักเขียนนั้น จะต้องมีคุณสมบัติข้อแรก คือ การเป็นนักอ่านก่อน ซึ่งเชื่อว่า   ทุกคน ที่อยากเป็นนักเขียน ก็ไม่ปฏิเสธนิสัยการเป็นนักอ่านแน่นอน

Advertisement

Advertisement

.............

เครดิตภาพปก โดย 777546 จาก https://pixabay.com/th/photos/ ออกแบบปกโดยผู้เขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์