อื่นๆ

เปิดสอนหลักสูตรนอกห้องเรียน “วิชาเผาหัวครก” หวนนึกถึงกลิ่นอายชนบท

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เปิดสอนหลักสูตรนอกห้องเรียน “วิชาเผาหัวครก” หวนนึกถึงกลิ่นอายชนบท

รูปภาพหน้าปกโดย ผู้เขียน

ยามบ่ายวันอาทิตย์หลังตื่นสายขึ้นมาในบรรยากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝนหวนชวนให้นึกถึงวิถีชีวิตในวัยเด็กที่เติบโตขึ้นมาอีกครั้ง แม้กาลเวลาหมุนเวียนเดินมุ่งไปสู่หนทางข้างหน้า อาจมีเพียงแต่ความทรงจำในวัยเยาว์ที่ไม่เคยจางหายไป กล่าวได้ว่า การเรียนรู้นอกห้องเรียนในวัยเด็กเป็นขุมทรัพย์ที่ติดตัวไปตลอดชีวิต รู้จักการเอาตัวรอดจากความหิวโหยพร้อมกับเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตให้มีสีสันขึ้นมา กล้าคิด กล้าทำ กล้าทดลอง กล้าใช้ประโยชน์ของทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นนำมาดัดแปลงได้อย่างสร้างสรรค์ เห็นได้ว่า การเรียนรู้แบบชนบท ( Learning local) เป็นการปูพื้นฐานที่ดีนำไปสู่การพัฒนาทักษะอื่นๆในการดำรงชีพต่อไป

หลักสูตรนอกห้องเรียน “วิชาเผาหัวครก” เกิดมาจากวิถีชีวิตของชาวบ้านในชนบททางปักษ์ใต้ คำว่า “หัวครก” มีความหมายเช่นเดียวกับ “เมล็ดมะม่วงหิมพานต์” ตามภาษาเด็กเทพ หรือ ภาษากลางของไทย จากที่กล่าวมาข้างต้นบรรยากาศก่อนฝนใกล้จะตก มีอากาศเย็นๆ และเหลือบแลเห็นหัวครกที่มีอยู่จำนวนหนึ่งพอสมควรในห้องครัวเหมาะแก่การนำมาเผาหรือหมกให้เกิดกลิ่นหอมร้อน ๆ เข้ากับบรรยากาศกลิ่นอายความเป็นชนบทและหวนนึกถึงกิจกรรมที่คุ้นเคยได้ซุกซนในวัยเด็กกลับขึ้นมาอีกครั้ง

Advertisement

Advertisement

ทั้งนี้ ขั้นตอนในการเรียนรู้หลักสูตร "เผาหัวครก" มีทั้งหมด 3 ขั้นตอนที่สำคัญดังต่อไปนี้

เครดิต nontawut suwan

รูปภาพประกอบโดย นนทวุฒิ สุวรรณ

1.การเตรียมไม้ฟืนและจุดก่อไฟขึ้นมา กล่าวคือ การเตรียมอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้นั้นซึ่งประกอบด้วยไม้ฟืนหรือถ่าน รวมถึงหม้อเล็กๆขนาดพอเหมาะ หลังจากการจัดเตรียมก่อตั้งไฟ อาจใช้หินก้อนใหญ่จำนวน 3 ก้อน วางเป็นสามเหลี่ยมเพื่อเป็นที่ตั้งหม้อสำหรับการเผาเมล็ดหัวครก เครดิต nontawut suwan

รูปภาพประกอบโดย นนทวุฒิ สุวรรณ

2.การนำเมล็ดหัวครกลงในภาชนะขณะเดียวกันใช้ไม้ขนาดยาวกวนวนจนกว่าเมล็ดหัวครกสุก กล่าวคือ หลังจากนำหัวครกลงหม้อแล้วนั้น จำเป็นต้องใช้ไม้ขนาดยาวกวนเมล็ดหัวครกตลอดเวลาจนกระทั่งสุกโดยประมาณ 15 นาที วิธีการการสังเกตเมล็ดหัวครกสุกแล้วหรือยัง ให้สังเกตว่าเมื่อเมล็ดหัวครกใกล้สุกจะได้ยินเสียงการปะทุและดีดออกมาให้กวนวนต่อไปจนกว่าไฟจะติดเมล็ดหัวครกทั้งหม้อ จากนั้นเมื่อคิดว่าเมล็ดหัวครกสุกได้ที่แล้วอย่างแน่นอนให้คว่ำหม้อที่ร้อนๆลงบนพื้นดินก็ถือว่าภารกิจในขั้นที่สองเสร็จสิ้น

Advertisement

Advertisement

เครดิต nontawut suwan

รูปภาพประกอบโดย นนทวุฒิ สุวรรณ

3.การใช้หินตอกเมล็ดหัวครกให้แตกเพื่อรับประทาน กล่าวคือ หลังจากที่ได้คว่ำหม้อลงพื้นดินแล้วนั้น สัมผัสได้ถึงกลิ่นอายความร้อนอันหอมหวนไหม้ๆของการเผาเมล็ดหัวครก แม้ว่าใจจริงมีความอยากลิ้มลองรสชาติที่คุ้นเคยในทันที แต่ก็ควรจะปล่อยให้ความร้อนได้จางหายไปสักหน่อยถึงจะดี ในที่สุดก็ถึงเวลาหลักสูตรใกล้จะจบเต็มทีภารกิจสุดท้ายคือการใช้หินพอขนาดมาตอกเมล็ดหัวครกก่อนรับประทาน ซึ่งในทางเทคนิคการตอกเพื่อไม่ให้เมล็ดหัวครกแตกอย่างละเอียดควรตอกเมล็ดในลักษณะแนวนอน อย่างเบาๆแบบตั้งใจ จากนั้นถึงเวลาชิมรสหอมมันอย่างที่รอคอยเป็นการจบหลักสูตรนอกห้องเรียน “วิชาเผาหัวครก” อย่างสมบูรณ์แบบทุกประการ

เครดิต nontawut suwan

รูปภาพประกอบโดย นนทวุฒิ สุวรรณ

ดังนั้นกล่าวสรุปได้ว่า หลักสูตรเผาหัวครกนั้นอาจมีวิธีการที่ยุ่งยากซับซ้อนหรือแปลกใหม่สำหรับคนที่ไม่เคยลองทำ รวมถึงต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะได้รับประทานในแต่ละครั้งซึ่งปัจจุบันราคาเมล็ดหัวครกมีราคาสูงขึ้นและค่อนข้างหายากกว่าในอดีต ทั้งนี้ กิจกรรมเล็กๆจัดขึ้นไม่เพียงแต่มีวัตถุประสงค์ในการชิมลิ้มรสเมล็ดหัวครกเพียงเท่านั้น แต่เป็นการนำกิจกรรมมาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้มีความใกล้ชิดและรักษาวิถีชีวิตของชนบทไม่ให้จางหายไปจากความทรงจำ

Advertisement

Advertisement

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์