ไลฟ์แฮ็ก

กลยุทธ์ในการปรับตัวเมื่อเผชิญหน้ากับเหล่า Toxic People

165
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
กลยุทธ์ในการปรับตัวเมื่อเผชิญหน้ากับเหล่า Toxic People

ถือเป็นเรื่องปกติไปแล้ว หากในชีวิตประจำวันเราได้ประสบพบเจอกับ Toxic People ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือกับใครก็ตาม พฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้ก็คือพวกเขามักพูดเสียดแทงเพื่อทำให้คนอื่นรู้สึกต่ำต้อย รู้สึกแย่กับตัวเอง ไม่เคยแสดงออกถึงความเห็นใจหรือไม่เคยแสดงออกถึงความเสียใจเมื่อความเสียหายนั้นเกิดขึ้น อิจฉาริษยาผู้อื่นที่ได้ดีกว่า มีการล่อหลอกให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ หรือหากเราได้ให้ความช่วยเหลือเหล่า Toxic People แล้ว พวกเขาจะไม่ได้รู้สึกถึงสิ่งที่เราทำให้ เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของคุณอยู่แล้ว

โรเบิร์ต ซัตตัน ผู้เคยให้คำปรึกษาและเขียนหนังสือแนวจิตวิทยาในด้านการอยู่ร่วมกับ Toxic People เหล่านี้ได้ให้ความเห็นและกลยุทธ์ที่น่าสนใจผ่านประสบการณ์ที่เขาได้เคยทำงานให้คำปรึกษามาก่อน เขาได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้ครับ

Advertisement

Advertisement

freepik.com

ก่อนอื่นเราลองถามตัวเองด้วยคำถามวินิจฉัย 6 ข้อเพื่อพิจารณาดูว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้นมันรุนแรงแค่ไหน

1.เรารู้สึกว่าคนเหล่านั้นทำเหมือนว่าเรานั้นไร้ค่า ไม่มีตัวตน หรือน่ารังเกียจอยู่หรือเปล่า ?

2.ปัญหาที่เกิดขึ้นคาดว่าจะคงอยู่แบบนี้นานเป็นกิจวัตร หรือแค่เพียงชั่วคราว

3.เรากำลังเผชิญกับ Toxic People ชั่วคราวหรือ Toxic People ตัวจริงกันแน่

4.ปัญหาดังกล่าวอยู่ที่คนหรืออยู่ที่ระบบขององค์กร

5.เรามีอำนาจมากกว่าเหล่า Toxic People มากน้อยแค่ไหน

6.จริงๆแล้วเราทุกข์กับเรื่องนี้มากแค่ไหน ?

freepik.com

หลังจากที่เราประเมินสถานการณ์แล้ว และมั่นใจได้ว่าเราต้องหาทางแก้ไข กลยุทธ์ที่ใช้ในการหลีกเลี่ยงกลุ่มคนที่เป็น Toxic People ก็มีหลายทางเลือก

1.ทฤษฎีไปตามโค้งของอัลเลน หมายถึง การเว้นระยะห่างจากคนที่ทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่โอเค ถ้าหากเป็นไปได้การแยกไปนั่งโต๊ะห่างๆไปถึงชั้นอื่น อาคารอื่นได้ก็ยิ่งดี

Advertisement

Advertisement

ครั้งหนึ่งผู้เขียนเองเคยมีประสบการณ์ที่ได้แยกตัวออกไปทำงานต่างแผนกที่เคยทำงานอยู่ ก็พบว่ารู้สึกดีขึ้นมากอย่างน่าประหลาด จนผู้เขียนก็เริ่มตระหนักขึ้นแล้วว่าสังคมในที่ทำงานกับ Toxic people นั้นมีอยู่จริง

2.ใกล้มาก แต่ไกลเกิน กรณีที่ต้องทำงานร่วมกับคนที่เราไม่โอเคอย่างการเข้าประชุม โรเบิร์ต ซัตตัน ก็ได้ให้คำแนะนำว่าถ้าเป็นไปได้ให้นั่งห่างจากเขาคนนั้นอย่างน้อย 2-3 ฟุต หรือในมุมห้องที่สบตาได้ยากแทน วิธีการนี้แม้จะไม่อาจแก้ปัญหา Toxic People ได้เด็ดขาด แต่อย่างน้อยการอยู่ในมุมโต๊ะที่สบตากันได้ยากกับคนที่เรารู้สึกไม่ถูกชะตาด้วย จากประสบการณ์ของผู้เขียนก็ยังให้ผลดีกับเราอยู่บ้างครับ

freepik.com

3.หลบเลี่ยงและหนีออกมา คือการพยายามหลีกเลี่ยงการพบปะเผชิญหน้ากับคนที่เรารู้สึกไม่โอเค เช่น การหาทางกลับบ้านก่อนเวลาเลิกงานเล็กน้อยเมื่อเสร็จภาระงานในส่วนของเราแล้ว หรือการออกจากที่ประชุมก่อนเวลาเล็กน้อย

Advertisement

Advertisement

ส่วนตัวในมุมมองของผู้เขียนยอมรับว่าข้อนี้จะทำได้ยาก หากวาระการประชุมนั้นเป็นเรื่องซับซ้อน การจะปลีกตัวออกจากที่ประชุมก่อนเวลาก็แทบเป็นไปไม่ได้เลย

4.วิธีควบคุมจังหวะ บางครั้งคนที่เรารู้สึกไม่โอเค เขาสะใจเวลาเห็นคุณตอบสนองด้วยความทุกข์หรือเปล่า ถ้าใช่ ลองชะลอจังหวะ รอคอยให้นานที่สุดก่อนที่จะตอบอีเมล์ รับสายโทรศัพท์ หลังจากทิ้งช่วงระยะเวลามาสักพักแล้วค่อยตอบกลับไป

ครั้งหนึ่งโรเบิร์ต ซัตตันเคยได้รับเคสปรึกษากรณีที่นักศึกษาปริญญาโทถูกอาจารย์ที่ปรึกษาโวยใส่อยู่เป็นประจำ จนกระทั่งนักศึกษาคนนี้ต้องเว้นช่วงการตอบอีเมล์ไปสักพัก ความก้าวร้าวของอาจารย์ที่ปรึกษาจึงได้ลดลง

โดยส่วนตัวผู้เขียนแล้วยังไม่เคยเจอปัญหาการส่งอีเมล์ ติดต่อทางโทรศัพท์แล้วเกิดประเด็นร้อนขึ้นมา เนื่องด้วยผู้เขียนยังอ่อนประสบการณ์ในการทำงาน แต่ทว่าวิธีการดังกล่าวนั้นก็นับว่าน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวครับ

5.ล่องหน ผู้มีอำนาจทำราวกับเราไม่มีตัวตน แต่พอเราทำพลาดก็กลับถูกต่อว่าผิด บางครั้งการที่เราทำตัวให้น่าเบื่อ พูดให้น้อย กลมกลืนไปกับบรรยากาศรอบข้างอาจพอลดทอนปัญหาที่เกิดขึ้นไปได้บ้าง

ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนมองว่าวิธีการนี้ใช้ได้ผลดีกับอีกคนหนึ่ง แต่อาจไม่เป็นผลดีกับอีกคนหนึ่งได้ ยิ่งในช่วงที่มีการประเมินผลการทำงานเป็นประจำด้วยแล้ว ก็ยิ่งมีความเสี่ยงถูกมองว่าเป็นคนที่ทำงานด้วยยากก็เป็นได้ครับ ซึ่งช่วงนั้นผู้เขียนเองก็ต้องปรับตัวรับมือทั้งเรื่องงานและเรื่องคนอยู่พักใหญ่เลยครับ

pixabay.com

6.ตัวสกัดคนพาล หาเจ้านายที่ปกป้องเราได้ หรือใครสักคนที่รับมือกับลูกค้า พนักงานที่ก้าวร้าวได้

ส่วนตัวของผู้เขียนมองว่าวิธีการนี้ได้ผลเป็นอย่างดีเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นสังคมไทยหรือสังคมต่างประเทศก็ตาม เพื่อนร่วมงานของผู้เขียนใช้วิธีนี้จนทำให้ตนได้ดำรงตำแหน่งงานต่อไปได้ แม้จะมีข้อถกเถียงถึงประสิทธิภาพในการทำงานบ้าง แต่ก็จะมีผู้ให้การสนับสนุนที่มีอำนาจพอ ให้การโต้แย้งเป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนร่วมงานของผู้เขียนครับ

7.คู่หูร่วมใจ เป็นการสร้างระบบหมุนเวียนให้รับมือกับลูกค้าที่ทำงานด้วยยาก โรเบิร์ต ซัตตัน ได้ยกตัวอย่างมาเคสหนึ่งของพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารแห่งหนึ่งที่มีลงตารางเวรเพื่อเวียนให้บริการกับลูกค้าประจำที่มีพฤติกรรมไม่น่ารักและก้าวร้าว ระบบแบบนี้ก็ถือเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้กับพนักงานทุกคน

ผู้เขียนเองมองว่าวิธีการนี้ให้ผลได้ดี เป็นรูปธรรมชัดเจน อีกทั้งยังมีความยุติธรรมในการจัดสรรออกหน้ารับมือกับลูกค้าใจร้ายได้เป็นอย่างดี ซึ่งถ้าลองนำไปปรับใช้ดูก็ไม่เสียหายแต่อย่างใดครับ

8.ช่วยกันเตือน หากผู้มีอำนาจที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว หากเพื่อร่วมงานในแผนกมีการช่วยสะกิดเตือนการมาถึงของผู้มีอำนาจคนดังกล่าว ก็จะช่วยให้วางตัวได้เหมาะสมกับผู้มีอำนาจท่านนั้น

ประสบการณ์ของผู้เขียนเองที่ใกล้เคียงก็เคยเจอเหมือนกันครับ เนื่องจากออฟฟิศของผู้เขียนมีกฎห้ามนำอาหาร ขนม เครื่องดื่ม เข้ามาทาน ดังนั้น จึงมีพนักงานบางคนฝ่าฝืนแอบนำเข้ามารับประทาน และย่อมมีเพื่อนที่ดีช่วยเตือนเพื่อน เมื่อมีผู้ใหญ่กำลังเดินผ่านเข้ามาภายในออฟฟิศ ทุกคนจึงซ่อนอาหารไว้ได้ทัน และวางตัวทำงานต่อหน้าผู้ใหญ่ได้อย่างเหมาะสมครับ

pixabay.com

และนี่ก็คือกลยุทธ์ในการปรับตัวเมื่อจำต้องเผชิญหน้ากับเหล่า Toxic People อย่างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ใครมีวิธีการที่ดีกว่าจากผู้เชี่ยวชาญที่น่าสนใจแวะมาคอมเมนต์ลงความเห็นกันได้เลยครับ แล้วกันใหม่ในบทความหน้าครับ

เครดิตภาพ

ภาพปก โดย  StartupStockPhotos โดย pixabay.com

ภาพที่ 1 โดย evening_tao จาก freepik.com

ภาพที่ 2 โดย  nakaridore จาก freepik.com

ภาพที่ 3 โดย  yanaiya จาก freepik.com

ภาพที่ 4 โดย StartupStockPhotos โดย pixabay.com

ภาพที่ 5 โดย Free-Photos โดย pixabay.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

รีวิวหนังสือ จริงๆแล้วเจ้านายต้องการอะไรจากเรา

รีวิวหนังสือ”เวลาทำงานต้องใส่จิตวิญญาณลงไปด้วย”

รีวิวหนังสือ “เดอะท็อปซีเคร็ต”

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
Watcharapon
Watcharapon
อ่านบทความอื่นจาก Watcharapon

ชื่นชอบการอ่านหนังสือเป็นอย่างมาก มันเป็นการเรียนรู้ที่ดี แม้จะเป็นการเรียนรู้แบบถ่ายเดียว และอยากใ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์