อื่นๆ

บรรเลงอาวรณ์

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
บรรเลงอาวรณ์

บรรเลงอาวรณ์

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงกับพร่างพิชญ์แล้วก็คนแถวบ้านค่ะ  ในสมัยสิบกว่าปีที่แล้วมีคุณตาท่านหนึ่งซึ่งอยู่บ้านข้าง ๆ พร่างพิชญ์ ท่านเป็นหัวหน้าวงดนตรีไทย ที่มักจะมีคนมากหนาหลายตามาขอเป็นศิษย์  ในทุก ๆ เย็นก็มักจะได้ยินเสียงดนตรีไทยบรรเลงเบา ๆ มาพร้อม ๆ กับสายลมเอื่อย ๆ มันเป็นความรู้สึกที่สุนทรีย์มาก ๆ ค่ะ

ภาพบ้าน(ภาพจาก : pixabay.com)ใย(ภาพจาก : pixabay.com)

แต่แล้วอยู่มาวันหนึ่งคุณตากล้มป่วยด้วยโรคพังผืดที่มือ จึงไปรักษาโดยการผ่าตัดตามปกติ ซึ่งก็ไม่น่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ทว่า การออกจากบ้านไปโรงพยาบาลครั้งนี้ ไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด หลังจากที่คุณตาผ่าตัดเสร็จ คุณตาก็มีภาวะติดเชื้อ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายคุณตาทรุดลงอย่างมาก  จนในที่สุดคุณตาก็ได้แต่นอนนิ่งอยู่บนเตียง  ให้อาหารผ่านสายยาง และหายใจโดยใช้เครื่องออกซิเจน ไม่นานคุณตาก็จากอย่างสงบ  หลังจากงานศพของคุณตาเสร็จสิ้น  ลูก ๆ ของคุณตาก็ได้ส่งต่อเครื่องดนตรีไทยหลายสิบชิ้นให้กับคนที่สนใจจะเล่น และขายต่อบ้างในบางชิ้น เหลือเพียงเครื่องดนตรีบางชิ้นที่ยังคงเก็บไว้เป็นที่ระลึก บ้านครูดนตรีไทยจากที่เคยมีเสียงพิณพาทย์บรรเลงกล่อมทุกเย็น ก็กลายเป็นบ้านที่เงียบสงัด

Advertisement

Advertisement

รพ.(ภาพจาก : pixabay.com)

สิ่งที่ยังคงอยู่แม้ว่าลมหายใจของคุณตาจะสิ้นไป ก็คือ  “ความเป็นครูดนตรีไทย”
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพร่างพิชญ์ เนื่องจากพร่างพิชญ์เคยให้คุณตาสอนเป่าขลุ่ย คุณตากับพร่างพิญญ์ก็นับว่าสนิทกันในระดับหนึ่ง  เวลาประมาณตีสอง พร่างพิชญ์นั่งทำการบ้านจนดึก พลันได้ยินเสียงหมาหอนอย่างโหยหวน แล้วก็ได้ยินเสียงบรรเลงดนตรีไทยประโคมมาเบา ๆ เป็นช่วงทำนองอันโศกเศร้า ณ วินาทีนั้น แม้ว่าการบ้านจะกองอยู่เต็มโต๊ะ แต่ก็ไม่อาจแข็งใจทำต่อไปได้  จึงกลับเข้าไปในห้องนอนแล้วก็สวดมนต์นอน เสียงนั้นจึงค่อย ๆ หายไป เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับพร่างพิชญ์แต่เพียงผู้เดียว ยังมีชาวบ้านอีกหลายต่อหลายคนที่มักจะได้ยินเสียงบรรเลงเพลงอันหดหู่เช่นนี้ในยามวิกาล ยามที่ไม่น่าจะมีใครเปิดเพลงหรือเล่นดนตรี

ขลุ่ย(ภาพจาก : pixabay.com)

Advertisement

Advertisement


ในมุมมองของคน การได้ยินเสียงเพลงอันแสนหดหู่อาลัยอาวรณ์นี้ คงเป็นเรื่องที่น่าหวาดกลัว  แต่เราไม่มีทางรู้เลยว่า ในมุมมองของครูดนตรีไทยที่ไม่มีลมหายใจท่านนี้ จะรู้สึกอย่างไร จะยังคงอยากให้มีผู้สืบทอดวงดนตรีของท่านหรือไม่ จะยังคงอยากบรรเลงเพลงอย่างตอนมีชีวิตอยู่เพียงใด  มีเพียงวิญญาณของครูที่ล่วงรู้

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์