อื่นๆ

ครั้งหนึ่งของลูกผู้ชาย..ภายใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์

495
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ครั้งหนึ่งของลูกผู้ชาย..ภายใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์

เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.)

ที่นี้วุ่นวายหนอ ที่นี้ขัดข้องหนอ” “ที่นี้ไม่วุ่นวายหนอ  ที่นี้ไม่ขัดข้องหนอ” สวัสดีครับท่านผู้อ่านทั้งหลาย วันนี้ผู้เขียนมีเรื่องดีดีจะมานำเสนอเช่นเคยครับ ท่านผู้อ่านคงจะงง ๆ เล็กน้อยถึงพอประมาณว่าอะไรวุ่นวาย ขัดข้องอะไร อะไรไม่วุ่นวาย อะไรไม่ขัดข้อง สรุปแล้วมันเกี่ยวกันยังไง...อย่างเพิ่งงงครับ ประโยคนี้เป็นประโยคที่ “ยสกุลบุตร” (อ่านว่า ยะ-สะ-กุน-ละ-บุด)ในสมัยพุทธกาลได้เกิดความเบื่อหน่ายทางโลกจึงหนีออกมาเดินเล่น และก็บ่นพึมพำกับตนเองว่า “ที่นี้วุ่นวายหนอ ที่นี้ขัดข้องหนอ

เตรียมปลงผมประกอบพิธีทำขวัญนาค (เครดิตภาพจากผู้เขียน)บังเอิญที่ไม่ใช่บังเอิญขณะบริเวณนั้นพระศาสดา(พระพุทธเจ้า) เสด็จจงกรมอยู่ในที่แถวนั้นพอดีทรงได้ยินเสียงของยัสกุลบุตรจึงเปล่งวาจาตอบกลับออกไปว่า “ ที่นี้ไม่วุ่นวายหนอ  ที่นี้ไม่ขัดข้องหนอ” มาที่นี้เถิดเราจักแสดงธรรมแก่ท่าน พอยัสกุลบุตรได้ยินดังนั้นก็เข้าไปพบพระศาสดา และได้ฟังพระธรรมเทศนา เรื่อง “อนุปุพพิกถา” (คือ เทศนาที่ทรงแสดงตามลำดับ เพื่อชำระจิตของผู้ฟังให้ผ่องใส โดยเริ่มเรื่องทาน ศีล โทษของกามคุณ คุณของผู้ออกบวช ต่อด้วยความจริงอันประเสริฐ (อริยจสัจ 4) ...

Advertisement

Advertisement

นาคกำลังทำพิธีอุปสมบท (เครดิตภาพจากผู้เขียน)เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.)

ครับ ที่เกริ่นมาทั้งหมดตั้งนาน ถึงเวลาเฉลยแล้วว่า เรื่องอะไร.. วันนี้ผู้เขียนอยากนำเสนอเรื่องของการ “บวช” ครับ บวชพระหรือที่เราเรียกว่าการอุปสมบทนี้หละครับ การอุปสมบทในพระพุทธศาสนาแต่เดิมสมัยพุทธกาลนั้นท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่ามีอยู่ 3 อย่างด้วยกัน ได้แก่

1. แบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระศาสดาทรงเป็นผู้บวชให้ด้วยพระองค์เอง

2. ติสรณคมนูปสัมปทา คือ พระสาวกเป็นผู้บวชให้ (เพราะแต่ก่อนการเดินทางค่อนข้างยากลำบาก จะบวชแต่ละทีหากทรงอนุญาตให้บวช เฉพาะวิธีแรกอาจไม่ทันการ จึงมีพุทธานุญาตให้สาวกบวชให้ได้)

3. ญัตติจตุตถกัมมูปสัมปทา คือ พระสงฆ์ตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไปบวชให้ (ปัจจุบันใช้วิธีนี้)ประกอบพิธีอุปสมบท (เครดิตภาพจากผู้เขียน)เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.)

ทีนี้ว่าดูว่าการเตรียมตัวก่อนบวช จะต้องเตรียมอะไรบ้างครับ สรุปคร่าว ๆ ได้ดังนี้ครับ

Advertisement

Advertisement

1. ต้องมานุ่งขาวห่มขาวรับศีล 8 ที่วัดที่จะบวชประมาณ 3-7 วัน

2. ศึกษาวัตรปฏิบัติของการเป็นพระโดยพระอาจารย์,พระพี่เลี้ยงหรือพระอุปัชฌาย์จะเป็นผู้สอน

3. ฝึกท่องบทวันทาสีมา วันทา  พระประธาน คำขอนิสัย คำขอศีล 10 (พระเวลาจะอุปสมบทจะต้องรับศีล 10 เป็นสามเณรก่อน ณ พระวิหาร ซึ่งเมื่อเป็นสามเรณแล้วจะประกอบพิธีอุปสมบทที่พระอุโบสถ) คำขออุปสมบท คำถามอัตรยิกธรรม

4. เมื่อถึงวันบวชผู้บวชจะต้องเตรียมอุปกรณ์ในการปลงผม และที่รองรับผมเวลาปลง สำหรับความเชื่อทางภาคเหนือการปลงผมจะเริ่มต้นด้วยพ่อ แม่ ญาติผู้ใหญ่โดยจะใช้กรรไกรตัดก่อนเมื่อตัดแล้วจะเอาผมที่ตัดนั้นใส่ลงบนใบบัวที่เตรียมไว้ และขั้นตอนต่อมาจะมีพระภิกษุเป็นผู้ปลงผมให้โดยใช้มีดโกน และผมที่ปลงแล้วจะนำไปฝังไว้นะใต้ต้นกล้วย (เพราะถือว่าจะได้รับความสงบ ร่มเย็น)

Advertisement

Advertisement

อุปสมบท (เครดิตภาพจากผู้เขียน)สำหรับผู้ที่จะอุปสมบทนั้นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ คือ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ต้องไม่เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง ไม่เป็นผู้มีอวัยวะไม่ครบหรือไม่เหมาะสมกับการเป็นสมณะเพศ เช่น มือด้วน ตาบอด  ง้อยเปี้ยเสียขา อย่างนี้เป็นต้น ต้องไม่ทุพพลภาพ ไม่เป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัว ต้องได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา ไม่มีคดีติดตัว ไม่เป็นโจรร้ายแฝงตัวหรือหาประโยชน์จากพระศาสนา หากเข้าข้อใดข้อหนึ่งเหล่านี้ก็ไม่สามารถบวชได้นะครับ

อุปสมบท (เครดิตภาพจากผู้เขียน)

เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.)

ในพระวินัยยังบัญญัติไว้ว่า บุคคลที่ไม่อนุญาตให้บวชโดยเด็ดขาด ได้แก่

-บุคคลที่มีความบกพร่องทางเพศ (เป็นบัณเฑาะก์  เป็นคนมีสองเพศ (อุภโตพยัญชนก)

-เป็นผู้กระทำผิดต่อพระศาสนามาก่อนที่จะบวช

-เป็นผู้ปิตุฆาต มาตุฆาต (ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ซึ่งเป็นอนันตริยกรรมบาปหนัก

บุคคลเหล่านี้ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพานในชาตินี้ หรือเรียกว่า อภัพบุคคล)

ต่อมาบุคคลที่ห้ามอุปสมบทโดยเด็ดขาด ได้แก่ ผู้ไม่มีพระอุปัชฌาย์ ไม่อัฏฐบริขาร (เครื่องสำหรับบวช 8 อย่างได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ ประคตเอว บาตร มีโกน เข็ม ธรมกรก (กระบอกกรองน้ำ)

อปุสมบท (เครดิตภาพจากผู้เขียน)

เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.)

ผู้เขียนเองได้มีโอกาสบวชสามเณรถึง 2 ครั้ง และได้มีโอกาสอุปสมบทอีก 2 ครั้ง เห็นว่าการบวชให้อะไรเรามากกว่าที่คิด แม้.....พูดไปเหมือนจะไปสมัครเป็นทหารเลย...แต่รู้หรือไม่ครับว่า เมื่อบวชแล้วดีต่อใจจริง ๆ (ภาษาวัยรุ่นซะด้วย)  สำหรับผู้เขียนเลือกมาอุปสมบท ณ วัดต้นแก้วจังหวัดลำพูน ครับเพราะวัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าที่สร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี (ปฐมกษัตรีแห่งนครหริภุญชัย) และมีความศรัทธาในวัตรปฏิบัติของท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน (ท่านพระครูไพศาลธีรคุณ) ท่านเป็นพระอาจารย์ของผู้เขียนตั้งแต่สมัยที่ยังเคยศึกษาอยู่ในจังหวัดลำพูนแห่งนี้ (ผู้เขียนเป็นคนเชียงใหม่แต่เดินทางมาศึกษาต่อ ณ จังหวัดลำพูน)

และเมื่อได้อุปสมบทแล้วก็ต้องปฏิบัติตามวัตรปฏิบัติของพระ ดังนี้ ต้องมีการทำวัตรสวดมนต์ เช้า- เย็น ออกบิณฑบาตร ศึกษาคำสอน (พระไตรปิฏก พระอาจารย์ พระพี่เลี้ยง) ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ทำประโยชน์อื่น ๆ ตามความเหมาะสมกับสมณสารูป และที่สำคัญพระอาจารย์ของผู้เขียนเองท่านจะคอยเตือนตลอดว่า "ในขณะที่เราครองเพศสมณะ ไม่ว่าจะที่แจ้งหรือที่ลับเราก็ต้องทำตัวเป็นสมณะ อย่่าทำตัวให้เปลืองข้าวสารข้าวสุกชาวบ้าน" เพราะหากทำไม่ดีแล้วจะเป็นกรรมติดตัว

อปุสมบท (เครดิตภาพจากผู้เขียน)การบวชมีอานิสงส์ดังนี้

1. ได้ขัดเกลาจิตใจตน เว้นจากการเบียดเบียน และกระทำความชั่วทั้งปวง ทั้งยังเป็นการสืบทอดอายุพระศาสนา

2. บุญที่เกิดจากการปฏิบัติย่อมแผ่ไปถึงบิดา-มารดา ญาติพี่น้องทั้งมีชีวิตอยู่ก็ดี ได้ล่วงลับไปแล้วก็ดี ทั้งผู้เป็นกัลยาณมิตรและสรรพสัตว์ เจ้ากรรมนายเวรทั้งปวง

3. มีโอกาสทำสิ่งที่เป็นกุศลได้ทุกขณะเพราะไม่ต้องกังวลกับกิจที่จะปฏิบัติเหมือนฆรวาส

4. ได้ชำระจิตเข้าใกล้พระนิพพาน
พระธวัชชัย ธีรวโร ภิกขุ (เครดิตภาพจากผู้เขียน)

เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.)

เห็นไหมหละครับว่า การบวชที่สังคมไทยเห็นเป็นเรื่องที่เหมือนจะธรรมดาแต่แท้จริงแล้วมันไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลยนะครับ จากคนธรรมดาเมื่อบวชแล้วนุ่งเหลืองห่มเหลืองแล้วปฏิบัติดี-ชอบ จะมี่แต่คนให้ความเคารพนับถือ ...ลองสักครั้งนะครับชายไทย หากมีโอกาสแล้วท่านจะรู้ว่า การบวชได้อะไรมากกว่าที่คิด เชื่อผู้เขียนเถอะครับ เพราะผ่านมาแล้ว

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์