ไลฟ์แฮ็ก

แนะ 3 ขั้นตอน ทำ “ตู้ปันสุข” อย่างไรไม่ให้เป็น “ตู้ปันทุกข์”

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
แนะ 3 ขั้นตอน ทำ “ตู้ปันสุข” อย่างไรไม่ให้เป็น “ตู้ปันทุกข์”

กระแสการตั้งตู้ปันสุข ปันอิ่มหรือปันบุญ แม้ในระยะแรกจะเหมือนเป็นการทำเลียนแบบตู้แจกของในต่างประเทศ พร้อมกับการตั้งข้อสงสัยว่า หากทำจริงในประเทศไทยผลจะเป็นบวกหรือลบ จนเมื่อมีการทดสอบทำจริงในเขตกรุงเทพฯ และผลออกมาปรากฏกว่า เป็นบวก ได้รับการตอบรับจากคนที่ร่วมเอาของไปแบ่งปันอย่างดี และคนที่มารับของก็เอาไปแต่เพียงแต่พอกินและพอเพียง จึงได้มีการประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้มีการตั้งตู้กระจายไปทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนตามชุมชนต่าง ๆ จนปัจจุบันน่าจะมีเกือบ 10,000 ตู้ได้ เพราะเพียงแค่ในตัวเมืองเชียงใหม่เองก็มีเกือบ 200 ตู้แล้วตู้ตั้ง

การขยายตัวของการตั้งตู้อย่างรวดเร็วจนแทบไม่น่าเชื่อ เกิดจากเหตุปัจจัยทางสังคมและความเชื่อรวมกัน ส่วนหนึ่งมาจากฐานคิดและจิตสำนึกสามัญในความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันที่ยากลำบากในดำรงชีวิตช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อต่อคำสอนในเรื่อง ความรักและการให้ ซึ่งทั้ง 2 ส่วนความคิดดังกล่าว ได้ม้วนเกลียวบิดรัดกันมั่นแน่นจนเกิดปรากฎการณ์ดีงามและน่าเอาอย่าง จนมีการแชร์และส่งต่อจนเกิดความสุขกระจายไปทั่วประเทศ

Advertisement

Advertisement

แต่สิ่งที่ไม่อยากให้เกิดก็เกิดขึ้นจนได้ เมื่อมีดราม่าเหตุการณ์คนมาเอาของที่ตู้จนเกินพอดี ทั้งขน หิ้ว แบกใส่รถจักรยานยนต์และรถยนต์ บางแห่งถึงกับมีแก๊งขับรถไปเอาของตามตู้ที่ตั้งอยู่ในจุดต่าง ๆ อย่างเป็นระบบด้วยซ้ำไป ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนจากตู้ปันสุขเริ่มจะกลายเป็นตู้สร้างทุกข์เข้าไปทุกที มีการถกเถียงกันในโลกออนไลน์อย่างบ้าระห่ำ เกิดดราม่าในสื่อออนไลน์ถึงความท้อแท้และไม่อยากจะเอาของไปแบ่งปัน ทั้งที่มองกันแบบแฟร์ ๆ เรื่องดราม่ามีน้อยกว่าเรื่องน่าสรรเสริญมากนัก เหมือนเม็ดกรวดในบ่ออัญมณีนั่นแหละ เมื่อสื่อและคนส่วนหนึ่งให้ความสนใจก้อนกรวดมากจนเกินเหตุ จึงมองไม่เห็นอัญมณีมีค่าที่ดาษดื่นทั่วทั้งบ่อเด็กมาเติม

ผมเองก็มีส่วนในการนำของไปใส่ตู้ปันสุขและมักจะแนะนำเพื่อน ๆ หรือน้อง ๆ ที่ไปด้วยกันเสมอว่า ทำบุญหรือทำดีให้ทำเหมือนกับว่า เราเอาเมล็ดพืชฝังไว้ใต้ดิน หน้าที่เราหมดแล้ว ผักนั้นจะงอกหรือตาย มีอีกหลายเหตุปัจจัยที่จะมาหนุนเสริมหรือบั่นทอน บางอย่างเราก็ควบคุมได้ บางอย่างก็ต้องปล่อยไปตามวิถีธรรมชาติ

Advertisement

Advertisement

ดังนั้น ในการทำดี​สักอย่าง ถ้าเราวางใจไม่ครบวงจรหรือขั้นตอนของการทำดี ก็จะทำให้เกิดความทุกข์ ท้อแท้แล้วก็ไม่อยากจะทำต่อ ทั้ง ๆ ที่การทำดีนั้นมีความดีงามในตัวเองอยู่แล้ว เพราะทำแล้วความดีเกิดขึ้นทันที แต่เมื่อไปมองผลลัพธ์และคาดหวังบางอย่างหลังจากนั้นซึ่งโดยความจริงมันอยู่นอกเหนือการควบคุม จึงอาจทำให้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เหมือนคำสอนในพุทธศาสนาที่แนะนำเทคนิคการทำดีหรือทำบุญแบบยั่งยืนว่า เวลาจะทำควรต้องทำให้ครบ 3 ขั้นตอน คือ 1.ก่อนให้มีจิตใจดีคิดจะให้ 2.ระหว่างให้ก็ชื่นชมยินดี และ 3.เมื่อให้ไปแล้วก็ดีใจไม่ได้คิดหวงแหนอยากได้หรือคาดหวังอะไรรูปหมู่

สิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมคนทำดีขณะนี้ในกรณีตู้ปันสุข​ กำลังสะท้อนว่า กระบวนการเรียนรู้และการเข้าใจเรื่องการให้ทานหรือการทำดีนั้นยังไม่ครบวงจรบุญและปัญญา จึงทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นในจิตใจผู้ให้ ทำให้เกิดดราม่าในวงการทำดีและอาจส่งผลต่อให้เกิดอาการลบ ๆ คือ​ ไม่อยากที่จะทำดีทำบุญทำทานต่อ ดังนั้น ผู้ให้หรือผู้ทำดี อาจต้องกลับมาทบทวนความเข้าใจตัวเองเสียใหม่ว่า จริง ๆ แล้ว ตนเองมีความเข้าใจในคำว่าบุญและการให้แค่ไหน เพราะเรื่องราวที่เกิดมาจากผู้ให้เริ่มก่อนมิใช่หรือ เมื่อเหตุเกิดที่ไหนก็ต้องดับที่นั่น

Advertisement

Advertisement

อย่างไรก็ตาม เมื่อกระแสดราม่าตู้ปันสุขจางลง จะมีนวัตกรรมการทำดีออกมาอีกเยอะแน่นอน สำหรับคนที่มองเห็นจุดบกพร่องและลงมือปรับแก้ ส่วนผู้รับหรือผู้เอานั้น การให้ความรู้ผ่านป้ายตัวหนังสือที่หน้าตู้ยังเป็นเรื่องที่ต้องทำต่อไป ที่สำคัญ ผู้รับก็เป็นเพียงแค่ปัจจัยภายนอก เมื่อแก้เหตุภายในได้แล้ว​ “ตู้ปันสุข” ก็จะกลายเป็น “ตู้สร้างสุข”และ “ไม่สร้างทุกข์” อีกต่อไป

ข้อควรทราบ คำสอนพระพุทธศาสนา ได้แจกแจงการทำบุญหรือการทำดีไว้ถึง 10 วิธี  เรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ 10” ประกอบด้วย

1. ทานมัย คือ การให้ การสละหรือการเผื่อแผ่แบ่งปัน

2. สีลมัย  คือ ข้อกำหนดการปฏิบัติทางกายและวาจา เช่น ศีล 5 ศีล 8

3. ภาวนามัย คือ ที่มุ่งพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตใจสงบ เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง

4. อปจายนมัย คือ การอ่อนน้อมถ่อมตน

5. ไวยาวัจจมัย คือ การช่วยขวนขวายทำในกิจที่ชอบหรือการให้ความช่วยเหลือแก่สังคมรอบข้าง

6. ปัตติทานมัย คือ การให้ผู้อื่นมาร่วมทำบุญกับเรา เปิดโอกาสให้คนอื่นได้มาร่วมทำบุญด้วยเสมอ

7. ปัตตานุโมทนามัย คือ การอนุโมทนาส่วนบุญ ยอมรับในการทำความดีหรือทำบุญของผู้อื่น

8. ธรรมสวนมัย คือ การฟังธรรม ทำให้เราได้ฟังเรื่องที่ดี มีประโยชน์ทั้งต่อสติปัญญา

9. ธรรมเทศนามัย คือ การแสดงธรรมหรือการให้ธรรมะหรือข้อคิดที่ดี ๆ แก่ผู้อื่น

10. ทิฏฐุชุกรรม คือ การทำความเห็นให้ถูกต้อง ไม่ถือทิฐิ เอาแต่ความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่

ขอบคุณภาพประกอบบทความทั้งหมดจากเวบเพจ โก้ ภาสกร

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
แสนธรรมาวตาร
แสนธรรมาวตาร
อ่านบทความอื่นจาก แสนธรรมาวตาร

เรียนรู้ทดลองการใช้ชีวิตผ่านประสบการณ์จริง​และแบ่งปันเรื่องราวดีๆมีสาระ​สนใจศาสตร์ทุกแขนงที่จุดประกา

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์