อื่นๆ

อุปมาชีวิตพระสารีบุตร...

1.4k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
อุปมาชีวิตพระสารีบุตร...

เครดิตภาพจาก pixabay

ธรรมะสวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทั้งหลายวันนี้ผู้เขียนมีเรื่องดี ๆ มานำเสนอ..อีกแล้วครับท่าน ก่อนอื่นถามก่อนว่าท่านรู้จักพระสารีบุตรหรือไม่ครับ ...(ติ๊ก..ตอก ๆ ) นั่นแน่..เคยได้ยินชื่ออยู่เหมือนกันใช่ไหมครับ เอ้า..มาดูกันพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าพระภิกษุทั้งปวงในด้านสติปัญญา ผู้เขียนมั่นใจว่าคนโดยส่วนมากคงจะทราบเพียงแค่นี้ แต่ผู้อ่านทราบหรือไม่ครับว่า นอกจากพระสารีบุตรเป็นผู้เลิศทางด้านสติปัญญาแล้ว ยังเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนที่สุด...วันนี้ผู้เขียนจะนำเสนอ “อุปมาชีวิตของพระสารีบุตร” มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของเรา ๆ ท่าน ๆ เพราะขนาดพระเถระซึ่งเป็นพระอรหันต์ เป็นอัครสาวกถูกยกย่องว่าเป็นผู้เลิศทางปัญญายังดำเนินชีวิตตามแนวทางนี้ แล้วพวกเราหละครับ ควรจะเอาเป็นตัวอย่างกันนะครับ

Advertisement

Advertisement

1. ท่านเปรียบเทียบว่าท่านเหมือนดิน ครับดินธรรมดา ๆ นี้หละไม่ใช่ดินวิทยาศาสตร์นะครับ (อิอิ..) คำว่าเปรียบเหมือนดินอุปมาว่าไม่ว่าใครก็ตามจะเทน้ำ เทของเสีย หรือของไม่สะอาดใด ๆ ลงไปบนดิน ดินนั้นก็ไม่ยินดียินร้ายอะไรกับสิ่งที่เกิดไม่ว่าใครจะเหยียบ จะย่ำ จะขุด หรือทำอะไรกับดินก็ตาม ดินก็ไม่เคยโต้ตอบคนที่ทำเช่นนั้นเลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่ดินสามารถทำให้พืชเจริญเติบโต เป็นตัวยึดเกาะรากให้ต้นไม้ได้ยืนหยัดมั่นคงแข็งแรง ข้อคิดที่ได้จากอุปมาข้อนี้ คือ ไม่ยินดี ยินร้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเข้ามาในชีวิตแต่จงสร้างความดี และประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่น และพร้อมที่จะให้อภัยคนอื่น

พระนอน เครดิตภาพจาก pixabay

2. ท่านเปรียบเทียบว่าท่านเหมือนน้ำ ธรรมชาติของน้ำไม่ว่าอยู่ที่ใดก็จะมีแต่ความร่มเย็น มีความชุ่มชื่นให้แก่สิ่งรอบข้าง และยังประโยชน์ให้แก่ชีวิตของคน, สัตว์ ข้อคิดที่ได้จากอุปมาข้อนี้ คือ จงทำประโยชน์ให้แก่ตัวเอง (โดยไม่เบียดเบียนบุคคลอื่น) และทำประโยชน์แก่บุคคลอื่น (ชุมชน สังคม)

Advertisement

Advertisement

3. ท่านเปรียบเทียบว่าท่านเหมือนไฟ หมายถึง ไปที่ใดที่นั้นก็มีแต่แสงสว่าง มีแต่ความอบอุ่น และยังประโยชน์ให้เกิดกับคน และสัตว์ ข้อคิดที่ได้จากการอุปมาข้อนี้ คือ ทำตัวเป็นที่รัก มีความเมตตาต่อคนรอบข้าง และทำประโยชน์แก่บุคคลอื่น

พระพุทธรูป เครดิตภาพจาก pixabay

4. ท่านเปรียบเทียบว่าท่านเหมือนลม หมายถึง ไปที่ใดที่นั้นมีแต่ความร่มเย็น รื่นรมย์ มีความสุข ข้อคิดที่ได้จากการอุปมาข้อนี้ คือ ไปที่ใดก็ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ที่นั้น ไปที่ใดที่นั้นก็มีความความสุข ความอิ่มเอิบใจ

5. ท่านเปรียบเทียวว่าท่านเหมือนโคเขาขาด ข้อนี้ผู้อ่านเคยทราบหรือไม่ครับว่าโคถ้าปกติแล้วหากถูกรังแก หรือมีภัยมันจะต้องปกป้องตัวเองหรือฝูงด้วยเขาของมันแต่หากไม่มีเขามันก็จะไม่สู้ เหมือนกับคนมือเปล่าไม่มีอาวุธ พระสารีบุตรท่านเปรียบเทียบว่า ท่านเหมือนโคเขาขาด หากใครมาทำร้าย ไม่ว่าด้วยวาจา หรือกาย ท่านก็จะไม่โกรธ ไม่โต้ตอบ ข้อคิดที่ได้จากการอุปมาข้อนี้ คือ จงทำตัวให้เป็นคนมีสติรู้จักการยั้งคิด ไม่โต้ตอบ และเมื่อมีสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาเข้ามากระทบก็สามารถนิ่งอย่างมีสติ และพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผล หาแนวทางในการแก้ปัญหาได้

Advertisement

Advertisement

กระดิ่ง เครดิตภาพจาก pixabay

6. ท่านเปรียบเทียบว่าท่านเป็นเหมือนผ้าเช็ดเท้า เพราะผ้าเช็ดเท้านั้นไม่เคยรังเกียจว่าจะมีใครมาเหยียบ-มาเช็ด คอยรองรับความสกปรกของคนที่มาเช็ดเท้า ข้อคิดที่ได้จากอุปมาข้อนี้ จงทำตัวอ่อนน้อมถ่อมตนไม่รังเกียจคนต่างเพศ ต่างวรรณะ (แต่เดิมท่านเป็นวรรณะพราหมณ์ อีกทั้งเมื่อมาบวชแล้วได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ และได้รับการยกย่อเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา ทั้งยังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่นทางด้านสติปัญญา) แต่กลับทำตัวต่ำ (อยู่ง่าย ใช้ชีวิตง่าย) แต่ทำใจให้สูง รู้จักการอ่อนน้อยถ่อมตน มีความเมตตา และรู้จักการให้อภัยคนรอบข้าง

7. เปรียบเหมือนเด็กจัณฑาล ผู้เขียนขออธิบายนิดหนึ่งครับ ในอินเดียเขาจะมีวรรณะ อยู่ 4 วรรณะครับ คือ 1. วรรณะกษัตริย์ (เชื่อว่า เกิดจากมือของพระพรหม เป็นชนชั้นนักปกครอง นักรบ) 2. วรรณะพราหมณ์  (เชื่อว่า เกิดจากปากของพระพรหม เป็นชนชั้นที่มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดพิธีกรรมต่าง ๆ) 3. วรรณะแพศย์ (เชื่อว่า เกิดจากลำตัวของพระพรหม มีหน้าที่ทำเกษตรกรรม พ่อค้า) 4. วรรณะศูทร (เชื่อว่าเกิดจากเท้า ของพระพรหมมีหน้าที่เป็นกรรมกร) นอกจากมีวรรณะทั้ง 4 แล้ว “จัณฑาล” (เกิดจากการแต่งงานพ่อ-แม่ซึ่งต่างวรรณะกัน เช่น แม่เป็นวรรณะพราหมณ์ พ่อเป็นวรรณะศูทร ลูกจะเป็นจัณฑาล ซึ่งเป็นวรรณะที่ไม่ปรากฏชื่อในพระเวท และถูกสังคมมองว่าเป็นชนชั้นนอกวรรณะ เป็นคนที่ถูกรังเกียจและต่ำที่สุด) พระสารีบุตรท่านเปรียบเทียบว่าท่านเป็นเหมือนเด็กจัณฑาล คือ ไม่ยึดติดในฐานะ ไม่ยึดติดในชั้นวรรณะ ไม่ยึดติดในลาภสักการะทั้งปวง ข้อคิดที่ได้จากการอุปมาข้อนี้ คือ จงทำตัวไม่ยึดติดกับชื่อเสียง เงินทอง ลาภ ยศ การสรรเสริญ เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเพียงแค่สิ่งสมมติเป็นสิ่งที่สังคมอุปโลกน์ขึ้นทั้งสิ้น

พระพุทธรูปมหายาน

พระพุทธรูปโบราณ เครดิตภาพจาก https://pixabay.com/images/id-2684123/

เครดิตภาพจาก https://pixabay.com/images/id-1177201/

8. เปรียบเทียบว่าร่างกายของท่านเหมือนงูที่อึดอัดอยู่ด้วยคราบ ท่านผู้อ่านเคยเห็นหรือไม่ครับเวลางูลอกคราบมันจะอึดอัดพยายามที่จะให้หลุดออกด้วยความยากลำบาก ข้อคิดที่ได้จากการอุปมาข้อนี้ คือ จงทำตัวให้เห็นภัยในสังสารวัฏ เร่งประกอบความดีให้อวิชชา (ความเขลา) หลุดพ้นจากชีวิตโดยการเร่งประกอบความดีสร้างสมบารมี (บุญ) แก่ตนย่างเนืองนิตย์

9. เปรียบการบริหารร่างกายของท่านเหมือนภาชนะมันข้น ท่านผู้อ่านเคยสังเกตหรือไม่ครับว่าภาชนะเครื่องใช้ของเรา เช่น ถ้วย จาน เวลาใส่อาหารที่เป็นมันมีคราบของของมัน ๆ ทำนองนี้ เวลาล้างจะล้างออกอยากมากไม่ค่อยสะอาดประมาณนี้ครับ ที่พระสารีบุตรอุปมาเช่นนี้เพราะว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ครับอยู่โดยการครองสังขารให้เป็นไปตามธรรมชาติ (สังขาร ร่างกายที่มีความเสื่อม โทรม เป็นไปตามธรรมดา) แต่ใจของท่านเป็นพระอรหันต์หลุดพ้นแล้ว ข้อคิดที่ได้จากการอุปมาข้อนี้ คือ จงเร่งทำความเพียร สร้างความดีอย่างยึดติดกับรูป สังขาร เพราะทุกอย่างมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

พระสังกัจจายน์ เครดิตภาพจาก pixabay

เห็นไหมหละครับที่ผู้เขียนนำเสนออันนี้เป็นวิธีการอุปมาเปรียบเทียบ ท่านผู้อ่านลองนำไปปรับใช้ดูนะครับผู้เขียนรับรองว่าดีแน่นอน...สำหรับวันนี้ ธรรมะสวัสดีครับ...

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์