อื่นๆ

ประเพณีสงกรานต์ในช่วงวิกฤตที่เชียงใหม่

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ประเพณีสงกรานต์ในช่วงวิกฤตที่เชียงใหม่

ปีนี้นับเป็นสงกรานต์ที่เงียบเหงาที่สุดเลยทีเดียว เพื่อเป็นการเฝ้าระวังโรคระบาดผู้ใหญ่บ้านจึงประกาศว่า กิจกรรมต่าง ๆ ตามประเพณีให้งดไปก่อนหรือจัดกันภายในบ้านพอ ส่วนกิจกรรมทางศาสนานั้น ให้ไปแล้วรีบกลับไม่ให้อยู่นานและงดการพูดคุยรื่นเริง วัดใกล้บ้านนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ก็ยังมีชาวบ้านไปทำบุญกันอยู่ ตามปกติของประเพณีสงกรานต์ของเชียงใหม่หรือวันปี๋ใหม่เมือง

วัดวัดที่เราไปคือ วัดแม่ย่อย เป็นวัดเล็ก ๆ วัดหนึ่ง นอกจากคนท้องถิ่นที่ตั้งรกรากมานาน ที่วัดจะมีชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ละแวกบ้านมาร่วมบุญกัน วิธีสังเกตคือ ชาวไทใหญ่เวลามาวัดจะแต่งเต็มยศใส่ผ้าซิ่นใส่เสื้อผ้าทอทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนคนเมือง (ชาวบ้านดั้งเดิม) จะแต่งตัวเรียบร้อยตามสะดวกมากกว่า โดยทางวัดมีการเตรียมเจดีย์ทรายเอาไว้ล่วงหน้าตั้งแต่วันพระที่แล้ว เมื่อผ่านเข้าประตูวัดจะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจว่าสวมหน้ากากอนามัยเรียบร้อยกันทุกคน จากนั้นจะแจกแอลกอฮอล์เจลและวัดไข้ผู้ผ่านเข้าไปในวัดค่ะ แม้คนในวัดจะบางตาเพราะไม่ให้อยู่นานต่างคนต่างไปได้ ต้องเว้นระยะห่างกัน แต่ดูจากปริมาณดอกไม้ถวายพระแล้วก็มีญาติโยมมาร่วมทำบุญไม่น้อย

Advertisement

Advertisement

ขันแก้วขันแก้ว (เรียกขันแก้วแต่ทำจากไม้) จะมีสามมุมสำหรับวางดอกไม้ถวายพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยดอกไม้บ้างก็จัดใส่กรวยใบตองหรือเด็ดดอกไม้ข้างรั้วมาถวายแบบเรียบง่ายตามแบบฉบับชาวบ้านพร้อมธูปเทียนและข้าวตอก

ตักบาตรอาหารที่นี่นอกจากพระออกบิณฑบาตร ชาวบ้านจะนำอาหารมาใส่บาตรกันแบบนี้ค่ะ

หลังไหว้พระถวายดอกไม้ วันนี้ยังมีการทำน้ำขมิ้นส้มป่อย (ประกอบด้วย น้ำอบ น้ำขมิ้น ฝักส้มป่อย ดอกคำฝอย ดอกสารภี) อันเป็นของมงคลสำหรับชาวล้านนาใส่ขันถวายพระเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาด้วย หลังใส่บาตรเสร็จชาวบ้านก็จะนำตุง (ธง) ซึ่งทำจากผ้าหรือกระดาษมาประดับเจดีย์ทรายกัน ด้วยเป็นความเชื่อว่ายามปกติเวลาเรามาวัดจะย่ำเอาดินเอาทรายของวัดติดเท้าเราออกไป จึงต้องก่อกองทรายมาคืนวัดและประดับประดากองทรายนั้นให้สวยงาม

เจดีย์ทรายในรูปจะมีทั้งตุงสิบสองราศีและตุงไส้หมู

Advertisement

Advertisement

ถ้าเป็นสงกรานต์ปกติวัดจะครึกครื้นเพราะชาวบ้านจะนำอาหาร นำขนมมงคลเฉพาะเทศกาลมาวัดและพูดคุยกัน แต่ด้วยมาตรการป้องกันจึงให้งดเว้น มีเพียงชาวบ้านบางส่วนที่ตานขันข้าว (ทานขันข้าว) เป็นการถวายสำรับอาหารให้พระเพื่อทำบุญให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ

เป็นวันสงกรานต์ที่ยังคงปฏิบัติกันตามประเพณีแม้จะเงียบเหงาอยู่บ้างเพราะต้องระวังโรคติดต่อไปด้วย

ภาพปกจาก : Pixabay

ภาพประกอบที่ 1-4 : นักเขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์