อื่นๆ

การฟังธรรมะ...สไตล์ผู้เขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
การฟังธรรมะ...สไตล์ผู้เขียน

เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.)

ธรรมะสวัสดีครับ ท่านนักอ่านทั้งหลาย วันนี้ผู้เขียนมีเรื่องที่เป็นสาระดี ๆ มานำเสนอ....อีกแล้วครับ ท่าน ทราบหรือไม่ครับว่า ประเภทของคนที่ฟังธรรมหรือฟังพระธรรมเทศนาเวลาพระเทศน์นี้หละครับมีกี่ประเภท แล้วคนฟังธรรมนั้นฟังแล้วได้อะไร ฟังเพื่ออะไร แล้วฟังไปทำไม เคยเห็นไหมครับโดยเฉพาะภาคเหนือเวลาพระท่านเทศน์จะเทศน์เป็นภาษาเหนือ โดยอ่านคัมภีร์ซึ่งเป็นภาษาเหนือ (ตัวอักษรล้านนาเรียกว่า “ตั๋วเมือง” จากประสบการณ์โดยส่วนมากเท่าที่ผู้เขียนเห็นเราจะรู้เรื่อง และตั้งใจฟังเฉพาะเวลาพระขึ้นต้นบทนะโม.....เท่านั้นละครับหลังจากนั้นก็ตัวใครตัวมันจะรู้ตัวอีกทีก็จะได้ยินคำว่า “เท่านี้ก่อนแล” เราก็จะยกมือพนมพร้อมกันแล้วกล่าวว่า สาธุ สาธุ สาธุ 3 รอบ เป็นอันจบหรือแม้แต่เวลาที่เราไปร่วมงานพิธีอื่น เช่น งานศพเวลาพระสวดอภิธรรม 7 คัมภีร์ ผู้เขียนถามว่า พระสวดให้ใครครับ...ขอบคุณสำหรับคำตอบที่ถาโถมเข้ามามากมาย....เฉลยครับท่านสวดให้คนเป็น ๆ อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ นี่แหละฟังไม่ใช่ให้คนตายที่นอนในโลงฟัง เพราะหากจะแปลภาษาบาลีออกมาแล้วนั้นถือว่าแต่ละบทเป็นคำสอนหลัก ๆ ในพระพุทธศาสนาทั้งนั้นเลย

Advertisement

Advertisement

ทีนี้เรามาดูกันว่าคนที่มาฟังธรรมมีกี่จำพวก ผู้เขียนได้จำแนกจำพวกของคนที่มาฟังธรรมได้เป็น 4 จำพวก ได้ดังนี้ครับ

1. ฟังแล้วหลับ หมายถึง หลับครับ หลับจริง ๆ นี่แหละยิ่งฟังยิ่งง่วง ยิ่งง่วงยิ่งสัปหงกเป็นกันจริง ๆ ครับแม้กระทั่งบางครั้งผู้เขียนก็เป็นถ้าเป็นภาษาพระท่านจะเรียกว่า พวกอัพยากฤต (อ่านว่า อับ-พะ-ยา-กิด) คือ พวกเป็นกลาง ๆ ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล (จะบาปก็ไม่บาป จะบุญก็ไม่บุญ) ฟังได้จนจบเหมือนกันแต่จะถามว่าได้อะไรตอบว่า คงได้หลายตื่น

พระอินทร์บรรเลงเพลงจากพิณสามสาย เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.)

2. ฟังแล้วได้กลับ หมายถึง มาฟังธรรมเหมือนกันประมาณว่าให้รู้ว่าได้มาร่วม ให้เจ้าภาพได้เห็นหน้าหรือให้คนอื่นได้รู้ว่าฉันก็มาเหมือนกันแบบนี้ไม่เกิดประโยชน์ครับ ถือว่าไม่ตรงตามวัตถุประสงค์หรือแนวทางในพระพุทธศาสนาแถมไม่พอเสียเวลาทำมาหากินอีกบางคนมาได้ชื่อว่ามาฟังธรรมแต่กลับมานั่งนินทาชาวบ้านอย่างนี้เขาเรียกว่าไม่ได้อะไรเลยครับ ก่อนจะฟังธรรมพระท่านมักจะสอนว่าให้ปิดหู ปิดตาปิดปาก แต่เปิดใจ ปิดหูในที่นี้ คือ การปิดรับรู้คือการรับฟังสิ่งที่เป็นอกุศลภายนอกที่จะมากระทบใจไม่ใช่ปิดหูแล้วไม่ได้ยินอะไรไม่ใช่อย่างนั้นนะครับ ปิดตา คือไม่รับเอาสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการฟังธรรมมาเป็นตัวรบกวนจิตใจ  ปิดปาก คือ หยุดพูดหยุดนินทา เปิดใจ คือ เปิดใจรับฟังอย่างตั้งใจไม่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว

Advertisement

Advertisement

เจ้าชายสิทธัตถะปลงผมออกผนวช เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.)

3. ฟังธรรมตามกิจ หมายถึง ฟังธรรมตามประเพณี ฟังไปตามธรรมเนียม เช่น ตามเทศกาลงานบุญให้ได้ชื่อว่าฟังธรรมเพื่อจะอุทิศบุญให้ญาติพี่น้องหรือฟังเพราะเป็นค่านิยมของคนในชุมชน เช่น ปีใหม่ทั้งทีต้องฟังธรรมสักเรื่อง ลักษณะนี้อานิสงส์เกิดบ้างจากความตั้งใจแต่จะให้เต็มร้อยนั่นคงเป็นไปไม่ได้

นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.)

4. ฟังแล้วได้เกิด หมายถึง เมื่อฟังธรรมแล้วได้เกิด คือ เกิดสิ่งที่ดี เปลี่ยนความคิดจากคนเคยมีความคิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) มีความเห็นผิดก็จะเปลี่ยนเป็นคนมีสัมมาทิฐิ (เห็นถูก) คือ เห็นในสิ่งที่ถูก ที่ควร เห็นสิ่งที่ถูกต้องตามครรลองครองธรรมในพระพุทธศาสนาหรือฟังแล้วก็เอาสิ่งดี ๆ ที่ฟังมาปรับปรุงพัฒนาจิตใจของตนบางคนอาจจะเป็นคนมืดบอดแต่ได้มาฟังธรรมอาจเกิดความรู้แจ้งได้ดวงตาเห็นธรรมเหมือนที่พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสไว้โดยแบ่งคนออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. บุคคลผู้มามืด ไปมืด  2. บุคคลผู้มามืด ไปสว่าง 3. บุคคลผู้มาสว่าง ไปมืด และ 4. บุคคลมา สว่าง ไปสว่าง ไปอันนี้แหละครับเป็นความจริงที่สุด

Advertisement

Advertisement

ต่อสู้กับพญามารก่อนตรัสรู้ธรรม เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.)

เห็นหรือไม่ครับบุคคล 4 จำพวกนี้ คือ ลักษณะของคนฟังธรรมในปัจจุบันแล้วผู้อ่านหละครับเลือกเป็นคนจำพวกไหนดี สำหรับวันนี้ธรรมะสวัสดีครับ…….

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์