ไลฟ์แฮ็ก

กระติบข้าว ก่องข้าว และวิถีชีวิตชาวอีสาน

702
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
กระติบข้าว ก่องข้าว และวิถีชีวิตชาวอีสาน

วีถีชีวิตของคนอีสาน เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และกลมกลืนกับธรรมชาติ การประดิษฐ์เครื่องใช้ไม้สอยของชาวบ้าน จึงมีความเรียบง่าย ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ พร้อมกันนั้นยังมีความสวยงาม เป็นศิลปะที่สวยงามด้วยการใช้ไม้ไผ่ขัดลาย จนเกิดเป็นลวดลายที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ในบทความนี้ผู้เขียนจะมาบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับกระติบข้าว ก่องข้าว ข้าวของชาวอีสาน ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตทั้งในด้านของวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อที่ปรากฏผ่านลวดลายของกระติบข้าว ก่องข้าว ครับผม

ภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรีภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรี

กระติบข้าว และก่องข้าวมีความแตกต่างกันครับ ผมขออธิบายอย่างนี้ว่า กระติบข้าว หมายถึง ภาชนะใส่ข้าวเหนียวที่สานด้วยเส้นตอกในลายสอง ลายสาม หรือลายอื่น ๆ โดยมีเส้นยืนในการขัดต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีเส้นนอน เมื่อรูปกระติบสานจนครบความยาวของเส้นตอกแล้วจะพับทั้งสองด้านเข้าด้วยกัน เย็บปิดช่องว่างด้านบนด้วยลายตาแหลว

Advertisement

Advertisement

ภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรีภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรี

ส่วน ก่องข้าว หมายถึง ภาชนะใส่ข้าวเหนียวที่สานคล้ายกับตะกร้า โดยจะดอกเส้นยืน และเส้นนอน ช่างส่วนมากจะสานด้วยลายขัด ลายสาม ลายคุบ หรือบางทีจะใช้ลายสาม ลายสองในการขัดตัวกระติบขึ้นไปให้เป็นทรงยาว จากนั้นจะสานฝากระติบให้เป็นจอมบางทีก็ใส่ไม้แกะสลักประดับให้สวยงาม ส่วนก้นของตัวก่องข้าวจะใส่ตีนให้มีทรงสูง แล้วสานด้วยหวายเป็นลายไพหางสิงห์ เพื่อยึดระหว่างตัวกระติบข้าวและตีนกระติบข้าวให้อยู่ติดกัน

ภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรีภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรี

สำหรับก่องข้าว และกระติบข้าว ถูกออกแบบให้เหมาะต่อการพกพา โดยใช้สายสะพาย โดยอาจจะเป็นฝ้าย หรือเป็นด้าย เพราะจะช่วยให้เวลาสะพายเดินทางไกลแล้วจะไม่เจ็บบ่า ไม้ไผ่ที่นิยมนำมาทำกระติบข้าว จะเป็นไม้รวก หรือไม้ไผ่ใหญ่ ที่มีปล้องยาวเป็นพิเศษ เพื่อให้ตัวกระติบมีความยาวเวลาพับครึ่งแล้วจะได้ระยะที่พอดี ส่วน ก่องข้าว ชาวอีสานนิยมใช้ไม้ไผ่ใหญ่ในการสานเป็นตัวก่อง เพราะติวไม้ไผ่ใหญ่มีความคงทน และเหมาะสมต่อการเก็บรักษาความร้อนของข้าว

Advertisement

Advertisement

ภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรีภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรี

ปัจจุบันแหล่งผลิตกระติบข้าว ที่ขึ้นชื่อว่าใหญ่ที่สุดในประเทศอยู่ที่บ้านนาสะไมย์ ตำบลนาสะไมย์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ชุมชนหนองขอน อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี และบ้านแมด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี นอกจากชาวบ้านจะสร้างอาชีพได้แล้ว ยังเป็นศูนย์สาธิตหัตถกรรมของชาวอีสานให้เด็ก และเยาวชนได้เรียนรู้อีกด้วย

ภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรีภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรี

สุดท้ายนี้ ถือได้ว่ากระติบข้าว เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวอีสานอีกด้วย บรรยากาศของท้องทุ่ง การอิงอาศัยอยู่กับธรรมชาติ เป็นภาพที่หาได้ยากในยุคทุนนิยมเช่นปัจจุบัน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์