อื่นๆ

5 เทคนิค สร้างคอนเทนต์ออนไลน์ไม่จำกัด

172
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
5 เทคนิค สร้างคอนเทนต์ออนไลน์ไม่จำกัด

เขียนบทความมาเยอะแล้ว เกิดอาการตัน…… ไม่มีเนื้อหาที่จะมาเขียนขอคำแนะนำหน่อยสิ เพื่อน ๆ สมาชิก

คำถามที่มาพร้อมคำแนะนำมักตั้งในโพสต์ของกลุ่มนักเขียนออนไลน์กลุ่มหนึ่งซึ่งผมอยู่ในนั้นด้วย ต้องบอกว่าการพูดคุยแลกเปลี่ยนในหมู่นักเขียนโลกออนไลน์มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก หลายคนเจอปัญหาคล้ายกันก็คือ ตัน คำว่า ตัน ผมขออธิบายคร่าว ๆ ครับ ว่าเป็นภาวะที่คิดเนื้อหาที่จะเป็นประเด็นให้เราให้นำมาสร้างสรรค์เป็นงานเขียนเผยแพร่ต่อไปได้

ภาพถ่ายโดย Free-Photosภาพถ่ายโดย Free-Photos

ผมยอมรับทันทีเลยครับ ว่าผมเป็นหนึ่งในนั้น เคยประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ประสบการณ์คือแหล่งเรียนรู้จริง ๆ ครับ ตลอดระยะเวลากว่า 4 ปี นับตั้งแต่ผมเริ่มเขียนเนื้อหาในโลกออนไลน์ค่อย ๆ ตกผลึก แม้จะยังไม่กระจ่างแต่ก็เป็นเทคนิคสำคัญที่ทำให้ผมไม่ตันอีกต่อไป ในบทความนี้ ผมจึงอยากนำ 5 เทคนิค สร้างคอนเทนต์ออนไลน์ไม่จำกัด มาแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ นักเขียนเพื่อนำไปปรับใช้กับการมองงานของตนเองครับ ด้วยมี 5 ข้อ ดังนี้

Advertisement

Advertisement

1. ติดตามข่าวสาร ต้องยอมรับว่าโลกออนไลน์มีความรวดเร็วในการส่งข้อมูลเป็นอย่างมาก คนเป็นนักเขียนต้องติดตามและเรียบเรียงอยู่เสมอว่ามีอะไรเกิดขึ้นในสังคมบ้าง ผมขอแนะนำช่องทางที่นักเขียนติดตามได้ก็คือ Twitter จะทำให้เราจับประเด็นที่เกิดการพูดคุยในสังคมมาบอกเล่าได้ แต่การเขียนเนื้อหาไม่ใช่ลอกจากทวิตเตอร์นะครับ  ต้องนำมาเรียบเรียงเป็นข้อมูลจากเอกสารที่น่าเชื่อถือแล้วเขียนออกมาเป็นภาษาง่าย ๆ

ภาพถ่ายโดย geralt ภาพถ่ายโดย geralt

2. สวมวิญญาณนักเล่าเรื่อง จะไปที่ไหนต้องหูไว ตาไว มองอะไรก็อยากเอามาเขียน เช่น มองเห็น “แก้วน้ำ” เราอาจจะคิดไปถึงประเด็นที่น่าสนใจต่อ เช่น ประวัติของแก้ว การใช้แก้วน้ำในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโลนา มองเห็นอะไรเราก็ต้องคิดว่าจะนำมาเล่าเรื่องให้เป็นลำดับอย่างไร และตั้งหัวข้อให้คนน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ต่อจากนั้นจึงใช้โทรศัพท์ถ่ายรูป แล้วคิดมุมที่จะวาดภาพหน้าปก ใช้แก้วน้ำประกอบบทความให้เหมาะสม

Advertisement

Advertisement

ภาพถ่ายโดย Tumisu ภาพถ่ายโดย Tumisu

3. ปราดเปรื่องการค้นคว้า การค้นคว้าเป็นเรื่องสำคัญมากครับสำหรับนักเขียน ขาดไม่ได้เลยจริง ๆ โดยเฉพาะคนที่ ตัน บ่อย ๆ ให้รู้เป็นเบื้องต้นเลยว่าคุณยังอ่านไม่พอ การที่คุณอ่านไม่พอมีวิธีการแก้ปัญหาหลัก ๆ สองวิธี คือ 1) วิธียาก คือ อ่านหนังสือให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ในเรื่องที่เราสนใจ 2) วิธีง่าย คือ ให้คุณตั้งข้อสงสัย แล้วค้นหาในกูเกิล เลือกบทความออนไลน์มา 5 บทความ บทความวิชาการมาอีก 5 บทความ เป็นอย่างต่ำ เมื่ออ่านจบแล้วจึงค่อยลงมือพิมพ์ โดยประมวลองค์ความรู้ที่อยู่ในหัวออกมา อย่าคัดลอกจากผลงานที่เราอ่านนะครับ มีโอกาสผิดกฎหมาย และถูกบรรณาธิการปัดตกได้

ภาพถ่ายโดย Free-Photos ภาพถ่ายโดย Free-Photos

4. รู้ตัว รู้ฟัง เวลาที่พูดคุยกับเพื่อน ต้องมีสติระลึกรู้ตัวตลอดครับ ว่ากำลังคุยเรื่องอะไร เรื่องที่คุยน่าจะสร้างงานเขียนได้ไหม ถ้าหากเขียนได้ให้เราฟังเพื่อนพูดเยอะ ๆ แล้วถามมุมมองจากเพื่อน หรือคนที่เราคุยด้วย พยายามถกเถียงให้มาก เพราะประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นข้อคิดในเชิงเหตุผล และมุมมองของแต่ละคนทที่เราสามารถเก็บมาเล่าเรื่อง แสดงความคิดเห็นได้อย่างรอบด้าน หรือเข้าร่วมอบรมในประเด็นต่าง ๆ ที่สนใจเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลใหม่ ๆ เสมอ

Advertisement

Advertisement

ภาพถ่ายโดย crystal710 ภาพถ่ายโดย crystal710

5. ระลึกถึงความหลังที่ผ่านมา หรือศักยภาพความก้าวหน้าในอนาคต โดยอาจจะย้อนไปมองอดีตของตนเองว่ามีปัญหาอะไรบ้าง โรคภัยไข้เจ็บที่เคยพบ เหตุการณ์ที่เคยเจอ นำมาบอกเล่าเพื่อเป็นคติในข้อเขียน หรือมองในเชิงอนาคตโดยอาจใช้ความสนใจ ความฝันในอนาคตของตนเองมาตั้งเสียก่อน แล้วค่อยขยายเรื่องราวของคนอื่น จะทำให้เรามองเห็นแง่มอมทางเทคโนโลยีไปพร้อมกันด้วย

ภาพถ่ายโดย geraltภาพถ่ายโดย geralt

ถ้าได้ลองปฏิบัติตามคำแนะนำนี้ ผมเชื่อเหลือเกินครับว่า เราจะมองเรื่องต่าง ๆ ละเอียดมากยิ่งขึ้น มีประเด็นให้เขียนมากมายไม่รู้จบ รู้สิ้น อย่างลืมนะครับ แม้มีคนเขียนเรื่องนั้นแล้วก็ตาม แต่มุมมองทางความคิด ข้อมูลเชิงลึก ประสบการณ์แต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ยิ่งเราเขียนโลกทัศน์ก็ยิ่งกว้างขึ้น เป็นคนที่เข้าถึงข้อมูล เรียนรู้ที่จะประมวลข้อมูล ลำดับเรื่องได้ชัดเจน เพียงแค่นี้ก็จะเป็นพื้นฐานทำให้เราสร้างสรรค์เนื้อหาใหม่ ๆ ออกมาได้ไม่รู้จบครับ


ภาพถ่ายหน้าปกโดย FirmBee

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์