อื่นๆ

เกย์และอัจฉริยภาพ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เกย์และอัจฉริยภาพ

“เกย์” เมื่อเราได้ยินคำนี้เราคงนึกถึงภาพของเพศที่สามซึ่งถูกแบ่งแยกออกจากเพศที่คนส่วนใหญ่นิยามไว้คือเพศชายและเพศหญิง ทางผู้เขียนอาจจะไม่ได้ลงลึกถึงประเภทของเกย์ว่ามีประเภทอะไรบ้าง และการถูกแบ่งแยกนั้นต้องย้อนไปเมื่อสมัยก่อนที่เกย์ยังไม่เป็นที่ยอมรับในหมู่สังคมส่วนใหญ่เนื่องจากลักษณะพฤติกรรมของเกย์อาจจะไม่ตรงกับเพศสภาพและมีรสนิยมในเพศเดียวกัน ซึ่งถ้าถูกจับได้ว่าเป็นเกย์จะถือว่าทำผิดกฎหมายมีบทลงโทษตั้งแต่จำคุกจนถึงประหารชีวิต

ในปัจจุบันในหลายๆ ประเทศให้การยอมรับกลุ่มเกย์มากขึ้นโดยให้สิทธิ์และเสรีภาพเท่ากัน เช่นในประเทศที่ไม่ไกลจากประเทศไทยมากนักคือ ประเทศไต้หวันหรือสาธารณรัฐจีนโดยได้ผ่านกฎหมายอนุญาติให้สามารถมีการจดทะเบียนสมรสในเพศเดียวกันได้ซึ่งถือว่าเป็นประเทศแรกในเอเชีย

Pic1

แน่นอนว่าผู้เขียนได้เกริ่นถึงเกย์มาและอยากเสนอแง่คิดในอีกมุมมองหนึ่งของเกย์ โดยทั่วไปมุมมองของเกย์จะถูกมองในด้านลบมากกว่าด้านบวกและจะถูกกดความสามารถไว้ซึ่งยากที่ถูกให้แสดงออกมาทั้งจากบริบทของสังคมเอง ทั้งๆ ที่เรามองแบบกลางๆ โดยที่ไม่มีเพศ เกย์ก็คือคนหนึ่งคนที่กำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้มีความสามารถเหมือนๆ กันกับคนทั่วๆ ไป แต่เมื่อเรานำบริบทของสังคมมาตีกรอบความสามารถของเกย์ก็อาจจะถูกมองจำกัด ซึ่งในความเป็นจริงเกย์อาจจะมีอัจฉริยภาพสูงมากๆ ไม่ว่าด้านใดด้านหนึ่ง

Advertisement

Advertisement

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างชีวิตจริงของ อลัน ทัวริ่ง  (Alan Turing) ซึ่งเขาเป็น นักคณิตศาสตร์ และนักตรรกศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งอัจฉริยภาพของ อลัน ทัวริ่ง ถูกนำเสนอผ่านภาพยนต์เรื่อง The Imitation Game (ถอดรหัสลับอัจฉริยะพลิกโลก) โดยภาพยนต์เรื่องนี้ถูกเสนอชื่อเข้าชิง 5 รางวัลลูกโลกทองคำในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งเรื่องราวในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 อลัน ทัวริ่ง และกลุ่มเพื่อนได้ถูกคัดเลือกให้เข้ามาทำภาระกิจที่ยิ่งใหญ่และเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของโลก ด้วยความที่เขามีอิจฉริยภาพสูงมากซึ่งเขาสามารถแกะรหัสอินิกม่าของนาซี ซึ่งในสงครามขณะนั้นผ่ายอังกฤษและพันธมิตรกำลังพ้ายแพ้ในสงคราม โดยทางกองทัพเรือเยอรมันได้ใช้เครื่องอินิกม่าในการส่งข้อความอนุมัติการโจมตี โดยที่ อลัน ทัวริ่ง ได้รับโจทย์ทำแบบทดสอบเพื่อที่จะใช้ความสามารถประดิษฐ์เครื่องถอดรหัสอินิกม่า ด้วยความที่เป็นอัจฉริยะของเขา เขาได้ทำเครื่องถอดรหัสสำเร็จและสามารถเอาชนะสงครามจากฝ่ายเยอรมันได้สำเร็จ จนเครื่องประดิษฐ์ของเขาได้เป็นต้นแบบในการผลิตซูเปอร์คอมพิวเตอร์ และได้รับการยกย่องเป็นอย่างมาก

Advertisement

Advertisement

แต่โชคร้ายที่รสนิยมทางเพศของเขากลับเป็นสิ่งที่ทำให้เขาต้องจบชีวิตลง โดยในปี ค.ศ. 1952 เขาถูกจับ โทษฐานมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย ซึ่งเขามีทางเลือก 2 ทางกับทางการคือ

1. จำคุก

หรือ

2. ฉีดฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลาหนึ่งปีเพื่อลดความต้องการทางเพศ

และเขาได้เลือกทางที่ 2 และในสองปีถัดมาเขาได้เสียชีวิตลง ซึ่งข้าง ๆ ร่างที่ไร้วิญญาณของเขาพบแอปเปิ้ลครึ่งลูกและมีร่องรอยการทดลองทางเคมีเล็กน้อย ผู้เขียนมีความเห็นว่าเขาคงจากไปแบบทรมานทางด้านจิตใจมาก ๆ

Pic2

แต่ถ้าหาก อลัน ทัวริ่ง ได้เกิดในยุคที่ไม่มีกฎหมายกีดกัดรักร่วมเพศ ทางผู้เขียนเชื่อว่าด้วยความเป็นอัจฉริยะของเขาคงมีสิ่งประดิษฐ์อีกมากมายให้กับมวลมนุษย์ และในปั้นปลายชีวิตของเขาคงจากไปด้วยความสุขในสถานที่ที่เขาเลือก และต่อมาในปี ค.ศ. 2009 กอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรได้ทำการขอโทษอย่างเป็นทางการในนามของรัฐบาลอังกฤษที่ใช้วิธีอันไม่ถูกต้องที่รัฐบาลปฏิบัติต่อ อลัน ทัวริ่ง

Advertisement

Advertisement

Pic 3

แน่นอนว่าเราทุกคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้ควรได้รับสิทธิ์และเสรีภาพในการดำรงชีพในฐานะเป็นมนุษย์ ได้ใช้ศักยภาพของตนเต็มที่โดยปราศจากกรอบบริบทของสังคม ทางผู้เขียนเห็นว่าผลงานต่างๆ ที่ถูกกลั่นออกมาจากอัจฉริภาพแบบมีเสรีภาพเราย่อมมีผลดีมากกว่าถูกกดดันจากบริบทสังคม แต่กระนั้นเราต้องคำนึงถึงศีลธรรมเพื่อให้การดำรงชีวิตในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

** รูป อลัน ทัวริ่ง สามารถดูได้ตามลิ้ง http://www.turingarchive.org/viewer/?id=521&title=4

เครดิตรูปภาพ

รูป Cover: Jasmin Sessler จากเวปไซต์ Unsplash

รูป 1 : Mercedes Mehling จากเวปไซต์ Unsplash

รูป 2 : imgix จากเวปไซต์ Unsplash

รูป 3 : Ugur Akdemir จากเวปไซต์ Unsplash

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์