ไลฟ์แฮ็ก

การบริจาคโลหิต ทำให้หันมาใส่ใจสุขภาพ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
การบริจาคโลหิต ทำให้หันมาใส่ใจสุขภาพ

การบริจาคโลหิต เป็นการทำบุญในอีกรูปแบบหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากจะช่วยชีวิตผู้ป่วยที่เกิดจาก การประสบอุบัติเหตุ เสียเลือดมาก การผ่าตัดใหญ่ และผู้ป่วยโรคเลือดต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นการช่วยเหลือผู้คนอีกกลุ่มหนึ่งให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานทางใจ ให้กลับมามีชีวิตชีวา มีความยินดี มีความหวังขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ซึ่งก็คือกลุ่มญาติ ๆ ของผู้ป่วยนั่นเองค่ะ

การบริจาคโลหิตของเรานั้นไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด เพราะเมื่อเดินเข้าไปแล้วหาได้บริจาคได้เลยอย่างที่เราตั้งใจไม่ แต่เราเองกลับถึงขั้นไม่ผ่านคุณสมบัติแรก ๆ ของผู้บริจาคเลยล่ะค่ะ

ครั้งแรกที่คิดจะบริจาคโลหิตนั้น เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิดของเราเองค่ะ ตอนนั้นมีความคิดว่าอยากจะทำบุญด้วยการบริจาคเลือด แต่...แค่ด่านแรกก็ไม่ผ่านซะแล้วค่ะการบริจาคเลือด

ภาพโดย : ผู้เขียน

คุณสมบัติเบื้องต้นคือ ผู้บริจาคโลหิตต้องมีอายุระหว่าง 17 - 70 ปี (คุณสมบัติข้อนี้เราผ่านค่ะ) มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป (แง...ข้อนี้เราสอบตกค่ะ เพราะน้ำหนักเราตอนนั้น 44.5 กิโลกรัมเองน่ะสิ!)

Advertisement

Advertisement

ถือว่าการสอบตกในคุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต ทำให้ต้องกลับมาตั้งต้นใหม่ และมีความคิดที่จะเพิ่มน้ำหนักด้วยการทานอาหารให้มากขึ้น จากนั้นก็ได้กลับมาที่ศูนย์รับบริจาคโลหิตอีกครั้งด้วยน้ำหนักตัว 50 กก. แต่ก็ไม่ได้เข้าทำการบริจาคโลหิตอีกเช่นเคยค่ะ เนื่องจากความเข้มข้นของเลือดไม่ผ่านซะงั้น ซึ่งความเข้มข้นของเลือดที่สามารถบริจาคโลหิตได้คือ ผู้หญิงค่า Hb 12.5 g/dl ขึ้นไป ส่วนผู้ชายค่า Hb 13 g/dl ขึ้นไปค่ะ ครั้งนี้เราตกด้วยค่า Hb 11.5 g/dl ซึ่งเป็นค่าความเข้มข้นปกติ ที่ไม่ถึงกับว่าโลหิตจาง แต่ก็อยู่ในระดับที่ไม่สามารถบริจาคได้ค่ะ ทางศูนย์บริจาคโลหิตจึงได้ให้ยาเสริมธาตุเหล็กกลับมารับประทาน ควบคู่กับการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่การบริจาคโลหิต

ภาพโดย : ผู้เขียน

จากข้อคุณสมบัติที่เราตกไปในครั้งนี้ ทำให้เราต้องหันมาใส่ใจสุขภาพอย่างจริงจัง ทั้งเรื่องของการกิน การนอน และการออกกำลังกาย เริ่มต้นจากการหาข้อมูลทั้งจากศูนย์รับบริจาคโลหิตเองและตามโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เกี่ยวกับการกินและเปลี่ยนนิสัยการกินอาหารทั้งหมดเลย โดยเน้นรับประทาน ตับ ไข่แดง ผักสีเขียว ผลไม้ที่มีวิตามินซี ถั่ว งาต่าง ๆ  และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่ส่วนตัวแล้วไม่ชอบรับประทานตับเลย นอกจากนี้ยังต้องควบคุมตนเองให้รับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อด้วยค่ะ

Advertisement

Advertisement

อีก 2 สิ่งที่สำคัญกับการสร้างเม็ดเลือด นั่นก็คือการพักผ่อนให้เพียงพอ และการออกกำลังกายค่ะ

- ซึ่งเราเองก็ได้ปรับเปลี่ยนเวลานอนให้เป็นเวลามากขึ้น เช่น เข้านอนในช่วงเวลา 22:00 - 23:00 น. และตื่นในช่วงเวลา 05:00 - 06:00 น. จากที่เคยนอนพักผ่อนไม่เป็นเวลา ส่วนใหญ่จะนอนดึกมาก ๆ และก็ตื่นสายทำให้มีอาการหน้ามืดหลังจากตื่นนอนบ่อย ๆ

- ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยในที่นี้เราเลือกออกกำลังกายด้วยการวิ่งค่ะ เพราะการวิ่ง เป็นการออกกำลังกายประเภทคาดิโอที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และเลือดเกิดการสูบฉีดแรงขึ้น หากวิ่งในปริมาณที่เหมาะสม การวิ่งก็ถือว่าเป็นการออกกำลังกาย ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดได้ดีอีกด้วย และที่สำคัญหัวใจแข็งแรงค่ะการบริจาคโลหิต

ภาพโดย : ผู้เขียน

การที่เราสามารถบริจาคโลหิตได้เป็นครั้งแรกนั้น เป็นความภาคภูมิใจอย่างสุดซึ้งจริง ๆ ค่ะ ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ผ่านมาแล้วเป็นเวลา 5 ปี สรุปยอดทั้งหมดคือบริจาคมาแล้ว 14 ครั้ง และการบริจาคโลหิตนั้นจะต้องเว้นช่วงให้ห่างกันทุก ๆ 3 เดือน เพื่อให้ร่างกายได้สร้างเม็ดเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทน จึงจะสามารถบริจาคได้อีกครั้งค่ะ เท่ากับว่า 1 ปีเราสามารถบริจาคโลหิตได้เต็มที่เพียง 4 ครั้ง เท่านั้นเอง

Advertisement

Advertisement

การบริจาคโลหิต ทำให้เราคิดที่จะดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ เพื่อจะได้ช่วยเหลือชีวิตผู้อื่นได้อีกหลาย ๆ ชีวิต เป็นความสุขที่เกิดจากการให้และมีผลพวงทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงอีกด้วยนะคะ

ภาพหน้าปกจาก : pixabay.com

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์