อื่นๆ

"ข้างหลังภาพ" มีอะไร

835
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
"ข้างหลังภาพ" มีอะไร

ขอบคุณภาพจาก gotokyo.org"ข้างหลังภาพ" แต่งโดย ศรีบูรพา เป็นนวนิยายที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการใช้ภาษา ถ้อยคำในการบรรยายถึงความรู้สึกของตัวละครได้อย่างลึกซึ้ง บรรยายถึงฉาก สถานที่ต่าง ๆ ได้เห็นรายละเอียดของภาพอย่างชัดเจนเหมือนอยู่ ณ ที่แห่งนั้น และมีการวางลำดับการนำเสนอเรื่องได้อย่างน่าประทับใจ และน่าติดตาม แม้ว่านวนิยายเล่มนี้จะแต่งขึ้นนานมาแล้วก็ตาม

  • ตอนเริ่มเรื่อง

เรื่องเปิดฉากโดยการเล่าถึงสถานการณ์ที่ชายหนุ่มชื่อนพพรตอบคำถามหญิงสาวชื่อปรีดิ์ผู้เป็นภรรยาของเขาซึ่งถามเกี่ยวกับภาพวาดสีน้ำมันชื่อ “มิตาเกะ” ที่ดูแสนจะธรรมดาที่ห้อยไว้ผนังด้านหลังตรงข้ามกับโต๊ะทำงานของเขา จากนั้นผู้เขียนจึงเริ่มเล่าย้อนถึงความเป็นมาของภาพวาดสีน้ำมันแผ่นนั้น

  • ตอนดำเนินเรื่อง

หลังจากการเปิดฉากที่กล่าวถึงเหตุการณ์ปัจจุบัน จากนั้นผู้เขียนเริ่มดำเนินเรื่องย้อนกลับไป ณ ช่วงเวลาที่อยู่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่างที่เกิดขึ้น แต่การดำเนินเรื่องในอดีตนี้เป็นการเล่าตามระยะเวลา ไม่มีการตัดตอนสลับไปมากับปัจจุบันทำให้เรื่องดำเนินไปอย่างราบรื่นและน่าตื่นเต้น ร่วมกับการใช้ภาษาของผู้เขียนที่สามารถโน้มให้ผู้อ่านเคลิ้มไปกับสถานการณ์ในเรื่องจนรู้สึกว่ากลายเป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง

Advertisement

Advertisement

  • จุดวิกฤติของเรื่อง

จุดที่ถือว่าเหตุการณ์ดำเนินมาถึงขั้นสูงสุดของเรื่องคือ เหตุการณ์บนยอดเขามิตาเกะ ซึ่งตัวละครเอกทั้งสองตัวได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันตามลำพังสองต่อสอง และห้อมล้อมด้วยธรรมชาติอันเงียบสงัด ทำให้เขาทั้งสองได้มีเวลาส่วนตัวมากพอที่จะเล่าถึงชีวิตของตน โดยเฉพาะคุณหญิงกีรติที่เล่าถึงสาเหตุของการแต่งงานกับเจ้าคุณอธิการอย่างไม่เคยเล่าให้ใครฟังมาก่อน ทำให้นพพรรู้เรื่องเกี่ยวกับเธอและกล้าที่จะสารภาพความรักที่มีต่อเธอและแสดงมันออกมาผ่านการจุมพิตจากความเสน่หา

  • จุดคลี่คลายของเรื่อง

จุดคลี่คลายของเรื่องเป็นตอนที่ครบระยะเวลาการฮันนีมูนของเจ้าคุณอธิการกับคุณหญิงกีรติและทั้งสองต้องเดินทางกลับสยาม ทำให้ทั้งนพพรและคุณหญิงกีรติมีความเศร้าใจเป็นอย่างมากที่ต้องจากกันแต่เนื่องด้วยสถานภาพจึงไม่อาจแสดงออกมาได้ จึงทำได้เพียงเขียนจดหมายตอบกลับหากันเพื่อคลายความรักอันรุ่มร้อนเท่านั้น แต่ระยะเวลาและหน้าที่การงานสามารถทำให้ทุกสิ่งอย่างจบลงกลายเป็นเพียงแค่ความทรงจำที่ดี เนื่องจากนพพรมัวทุ่มเทเวลาอยู่กับการเรียน รวมกับระยะทางที่ไกลและอายุที่โตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นทำให้เขามองความรักเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นมากต่อการดำรงชีวิต งานเท่านั้นที่จำเป็นสำหรับเขา

Advertisement

Advertisement

  • ตอนจบเรื่อง

ฉากจบของเรื่องเป็นเหตุการณ์ที่เศร้าใจเพราะผู้เขียนบรรยายถึงภาพหญิงคนหนึ่งที่นอนอยู่บนเตียงรอความตายแต่ทั้งนี้เธอก็ยังพยายามปกปิดเรื่องนี้ผ่านการแต่งตัวที่สวยงามเพื่อรอคนที่เธอรักมาเยี่ยมและมอบภาพวาดสีน้ำมันที่เธอประทับใจให้กับชายหนุ่มที่เธอรอคอย พร้อมกับบอกความในใจที่เธอมีต่อเขาแต่ถือได้ว่าทุกอย่างมันสายไปเสียแล้ว หลังจากนั้นไม่นานหญิงคนนี้ก็ถึงแก่กรรมลงและก่อนจะสิ้นใจเธอยังต้องการสื่อสารกับคนที่เธอรักแต่ไม่มีเสียงจึงได้เขียนลงบนแผ่นกระดาษข้อความว่า

“ฉันตายโดยปราศจากคนที่รักฉัน แต่ฉันก็อิ่มใจว่า ฉันมีคนที่ฉันรัก”

ฉันตายภาพโดย : เม็ดทราย

ตัวละคร

  • นพพร เป็นตัวละครเอกของเรื่องที่ผู้เขียนใช้ให้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมดตั้งแต่เปิดฉากรวมไปถึงบรรยายเหตุการณ์ความเป็นมาของเรื่อง และยังเป็นตัวละครที่เปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ของเรื่อง เขาเป็นนักเรียนนอกที่มีฐานะค่อนข้างดี อายุราว 22 ปี เป็นคนที่มีกิริยาอ่อนน้อม พูดจาไพเราะ เป็นที่รักใคร่ของท่านเจ้าคุณอธิการบดีและ ม.ร.ว. กีรติ จนได้เป็นที่ไว้วางใจให้จัดการเรื่องการฮันนีมูนในครั้งนี้ของท่านเจ้าคุณ
  • ม.ร.ว. กีรติ เป็นตัวละครเอกของเรื่องที่เพียบพร้อมไปทุกอย่าง ทั้งฐานะ หน้าตาแต่สิ่งที่ขาดคือความรัก เนื่องมาจากหน้าตาของเธอที่สวยงามจนเจ้าคุณพ่อหวงเป็นที่สุดและไม่ยอมให้ออกไปพบปะกับผู้คนทำให้เธอนั้นอายุล่วงมา 34 ปี แต่ยังไม่ได้แต่งงานเหมือนกับน้อง ๆ เจ้าคุณพ่อจึงยกเธอให้กับเจ้าคุณอธิการบดีเพราะเห็นว่าท่านจะสามารถเลี้ยงดูเธอให้สุขสบายได้ เธอจึงได้แต่งงานกับท่านทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากความรัก และเนื่องจากการแต่งงานนั่นเองจึงทำให้เธอได้พบกับนพพร
  • เจ้าคุณอธิการบดี ตัวละครเสริมที่เป็นสามีของ ม.ร.ว. กีรติ เป็นพ่อหม้ายที่มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีคนมากมายนับหน้าถือตา ได้พบกับคุณหญิงกีรติจึงขอคุณหญิงกับเจ้าคุณพ่อเพื่อมาเป็นภรรยาของตน
  • ปรีดิ์ ตัวละครเสริมที่เป็นภรรยาของนพพร ความรักระหว่างเธอกับนพพรเริ่มต้นจากการแต่งงานและค่อย ๆ พัฒนาความสัมพันธ์กันไป

Advertisement

Advertisement

ขอบคุณภาพจาก gotokyo.org

นพพร

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์