YES, PLASTIC! THINGS TO RETHINK - เมื่อพลาสติกต้องคิดใหม่ ชวนไปอัปเดตเรื่องพลาสติก!

ขณะกำลังเลื่อนหน้าฟีดอยู่ดีๆ ก็บังเอิญไปเจอสิ่งน่าสนใจเข้า 'YES, PLASTIC! THINGS TO RETHINK เมื่อพลาสติกต้องคิดใหม่' แค่ชื่องานก็ดึงดูดความสนใจได้แล้ว จากนั้นจึงไม่รอช้า เช็กวันเวลา สถานที่ แล้วก็นัดเพื่อน!
นิทรรศการ 'YES, PLASTIC! THINGS TO RETHINK เมื่อพลาสติกต้องคิดใหม่' จัดขึ้นที่ TCDC ขอนแก่น ชั้น 1 ห้องแกลเลอรี ซึ่ง TCDC ย่อมาจาก Thailand Creative & Design Center หรือศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ นิทรรศการจัดไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.30 - 18.00 น. ปิดทุกวันจันทร์ เข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
'YES, PLASTIC! THINGS TO RETHINK เมื่อพลาสติกต้องคิดใหม่' คืออะไร? ไปสำรวจกัน!
เริ่มจากการลงชื่อบริเวณทางเข้าและตรวจวัดอุณหภูมิ
เดินเข้าไปภายในอาคาร แล้วหยิบแผ่นพับประชาสัมพันธ์ ซึ่งเนื้อหาภายในมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอธิบายประกอบกัน
Advertisement
Advertisement
เข้าไปในงานกันเลย!
เมื่อเข้ามาในงานแล้ว จะเห็นป้ายผ้าสีเหลืองขนาดใหญ่กับคำถามชวนคิด 'เราทำอะไรไปแล้วบ้าง เพื่อให้อยู่กับพลาสติกได้อย่างสร้างสรรค์ WHAT HAVE WE DONE SO FAR TO LIVE HEALTHILY WITH PLASTICS?'
ถัดมาอีกนิด จะเห็นโรดแมปสู่เมืองไทย ลดปัญหาขยะพลาสติก พ.ศ. 2461 - 2573 (THAILAND'S ROADMAP ON PLASTIC WASTE MANAGEMENT, 2018 - 2030) โดยเป้าหมายสำคัญคือ การนำผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พลาสติก เข้าสู่ระบบการนำกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ร้อยละ 100 ภายใน พ.ศ. 2573
บรรยากาศภายในงาน
วัสดุที่คงทนถาวรสู่ของที่ควรจะอยู่ยืนยาว (FROM DURABLE MATERIALS TO ENDURING OBJECTS)
เดินตรงมาเรื่อยๆ จะพบกับหุ่นจำลองสีขาวหนึ่งเดียวของงาน ซึ่งหุ่นจำลองนี้ทำมาจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลผสมตัวประสาน และวัตถุจัดแสดงอื่นๆก็ล้วนทำมาจากพลาสติกทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นผ้าม่านและเชือกรัด เก้าอี้ เสา-บัว หรือแม้กระทั่งป้ายให้ความรู้ สามารถรับชมวิดีโอเบื้องหลังการทำหุ่นจำลองจากพลาสติกรีไซเคิลนี้ได้ บริเวณป้ายให้ความรู้ด้านขวามือ
Advertisement
Advertisement
บรรยากาศภายในงาน
พลาสติกจะหายไปได้อย่างไร? (DO PLASTICS EVER GO AWAY?)
เมื่อเลี้ยวซ้ายบริเวณโค้งมา ก็จะพบกับมุมที่จะพาไปทำความรู้จักกับเวลาที่ใช้ย่อยสลายของพลาสติกแต่ละประเภท ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 2 - 3 นาที ไปจนถึงมากกว่า 500 ปี โอกาสของไบโอพลาสติก และสัญลักษณ์ของพลาสติกทั้ง 7 ประเภท
และสิ่งที่น่ารู้จัก 3 อย่าง ต่อไปนี้ คือ (เรียงจากซ้ายไปขวา)
1.พลาสติกละลายน้ำได้ (Water-soluble plastic) ถุงพลาสติกชีวภาพที่มีวัตถุดิบจากมันสำปะหลัง สามารถย่อยสลายในน้ำร้อนอุณหภูมิสูงกว่า 80 องศา ภายในระยะเวลา 3 นาที
Advertisement
Advertisement
2.พลาสติกย่อยสลายในดิน (Plastic degraded in landfills) แก้วพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ 100% ภายใน 180 วัน
3.เอนไซม์ย่อยสลายพลาสติก (Plastic-digesting enzyme) จากหนอนผีเสื้อกลางคืนหรือหนอนผึ้ง (กัลเลเลีย เมลโลเนลลา)
บรรยากาศภายในงาน
พลาสติกแข็งแรงได้ขนาดไหน? (HOW STRONG CAN PLSTICS BE MADE?)
ถัดมาอีกมุม จะเห็นวัสดุที่ดูแข็งแรงหลายชนิดวางเรียงกัน จัดแสดงให้เห็นว่า หากนำเอาพลาสติกไปผสมกับวัสดุอื่นๆ จะสามารถเสริมความแข็งแรงของวัสดุนั้นๆได้ เช่น วัสดุอากาศยานน้ำหนักเบา (Lightweight materials for aircrafts) โดยใช้พลาสติกในลักษณะคอมโพสิตเป็นองค์ประกอบในเครื่องบินโดยสารมากกว่าร้อยละ 50 อิฐบล็อกจากพลาสติกใช้แล้วของประเทศไทย (From plastic waste to building blocks) พลาสติกที่ทนทานกว่าคอนกรีต (Stronger-than-concrete plastic) ถนนทางเลือกใหม่จากพลาสติก (Plasticroad, alternative "path" way from plastic) โดยใช้พลาสติกรีไซเคิลผสมกับยางมะตอยเพื่อเสริมความแข็งแรง และยังมีแบบจำลองถนนพลาสติกแบบโมดูลาร์ (Plastic modular road) โดยทำจากขยะพลาสติกรีไซเคิลจากท้องทะเล เป็นต้น
พลาสติกทดแทนอะไรได้บ้าง? (WHAT CAN PLASTICS REPLACE?)
บริเวณด้านหน้าภาพขนาดใหญ่(รวมถึงภาพนี้) จัดแสดงงานออกแบบ โดยใช้วัสดุสังเคราะห์จากพลาสติก สะท้อนให้เห็นว่าพลาสติกสามารถใช้ทดแทนวัสดุจากธรรมชาติที่มีอย่างจำกัดได้ และยังมีอีกหนึ่งข้อดีคือ มีความยืดหยุ่น
จากวัสดุสังเคราะห์สู่งานออกแบบมูลค่าสูง (From synthetic material to high-value designs)
1.ปากกามงต์บลอง รุ่น Precious resin ผสมวัสดุเรซิ่นเพื่อให้มีผิวสัมผัสละเอียดและใสแวววาว
2.เก้าอี้ Louis Ghost Chair ใช้นวัตกรรมการฉีดพลาสติกในแม่พิมพ์ชิ้นเดียว ทำให้เก้าอี้ไร้รอยต่อ
3.กระเป๋าเป้สะพายหลังจาก Prada ซึ่งเป็นครั้งแรกที่วัสดุไนลอนถูกนำมาใช้กับงานแฟชั่น ในปีพ.ศ. 2527
4.กระเป๋า Zigzag จาก Melissa ใช้เทคนิคการถักเส้นพลาสติกในรูปแบบไขว้ไปมาเหมือนสายยางฉีดน้ำที่พันกันบนหญ้าในสวน
5.ถุงใส่รองเท้า ออกแบบลักษณะผิวสัมผัสคล้ายกระดาษ แต่มีความทนทาน
6.SCHOOL OF ATHENS ภาพพิมพ์บนผ้าทอเส้นใยพลาสติก (ภาพฉากหลัง)
(ในภาพคือ พรมทอมือ และผ้าพันคอเส้นใยทำจากขยะขวดพลาสติกจากท้องทะเล)
เข้าถึงความรู้สึกของวัสดุธรรมชาติ (Achieving the feel of natural materials)
1.ต้นไม้พลาสติก ให้ความรู้สึกเข้าถึงธรรมชาติและดูแลง่าย
2.หนังเทียมที่ถูกทำสีและพิมพ์ลายใกล้เคียงกับผิวสัมผัสของหนังลูกวัว
3.หินเทียมจากพลาสติกนิยมถูกใช้ในงานตกแต่งภายใน เช่น ท็อปครัว ปูพื้น หรือผนังห้อง
4.เบกคิไลต์(Bekelite) พลาสติกที่ถูกนำมาเป็นเครื่องประดับในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
5.แก้วน้ำพลาสติกใสน้ำหนักเบาทำจากโพลีคาร์บอเนต คุณสมบัติพิเศษคือ มีความโปร่งใส ทนทานต่อการตกกระแทกและรอยขีดข่วน
6.จุกคอร์กไวน์ ปัจจุบันทำมาจากพลาสติกเลียนแบบ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
พลาสติกมีชีวิตได้หรือไม่? (CAN LIVING PLASTICS BECOME REAL?)
มุมเกือบสุดท้ายนี้ จัดแสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทำให้พลาสติกกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ หรือแม้กระทั่งสัตว์ไปแล้ว
วิดีโอสารคดีการสร้างหางเทียม เพื่อช่วยชีวิตปลาโลมา จนสามารถกลับมาว่ายน้ำได้ปกติ
และมีการจัดแสดง ดังนี้
1.ขาเทียมชนิดซิลิโคน (Custom-made silicone prosthetic leg)
2.อวัยวะเทียมเสมือนจริง (Life-like artificial or external prostheses)
3.ข้อต่อพลาสติกไบโอคอมโพสิตใช้ภายในร่างกายแทนข้อต่อจากโลหะ (BioComposite interference screw)
4.วิดีโอแสดงการออกแบบแขนเทียม (Replaceable designed arm prosthetics VDO by Glaze Prosthetics)
5.วิดีโอสาธิตการสวมอวัยวะเทียมเข้ากับผู้รับบริการจริง (Transplantation of artificial human organs onto real users)
และใช่! ฉันมีไอเดีย... (AND YES! I HAVE AN IDEA...)
พบกับมุมสุดท้ายที่ชวนคุณมาแชร์ไอเดียเกี่ยวกับพลาสติก!
(ในภาพคือ แจ๊คเก็ตผ้าโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลจากขวดน้ำพลาสติก)
WHAT CAN WE DO TO "GREEN OUR CAFE"?
เป็นเกมที่พาลูกบอลไปยังจุดหมายตรงกลาง โดยใช้ด้ามจับบังคับลูกบอล หากลูกบอลตกหลุมต้องเริ่มเล่นใหม่! ซึ่งเป้าหมายคือ การป้องกันและหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดจากการคัดเลือกวัตถุดิบการออกแบบและจัดการบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการจำกัดขยะ
สุดท้ายนี้ ก่อนกลับบ้าน ร่วมเขียนความประทับใจหรือแสดงความคิดเห็นกับมุมนี้
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับการสำรวจนิทรรศการ YES, PLASTIC! THINGS TO RETHINK เมื่อพลาสติกต้องคิดใหม่ จากหลายสิ่งที่จัดแสดงในงานนิทรรศการ ทำให้มีมุมมองต่อพลาสติกตัวร้ายเปลี่ยนไปบ้างไหมคะ อยากเชิญชวนมาร่วมงาน ก่อนนิทรรศการจะจบลงในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
ขอบคุณข้อมูล
นิทรรศการ YES, PLASTIC! THINGS TO RETHINK เมื่อพลาสติกต้องคิดใหม่
ขอบคุณสถานที่
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ขอนแก่น
123 มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ย่านกังสดาล) ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002
เวลาทำการ 10.30 - 19.00 น. ปิดทุกวันจันทร์
ติดต่อ 043-009-389
Email: [email protected]
Facebook: TCDCKhonKaen (Link: https://web.facebook.com/TCDCKhonKaen)
เครดิตภาพหน้าปกและภาพถ่ายทั้งหมด: RiverJoy
พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน , ณ สัทธา อุทยานไทย ,
เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !
กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์