อื่นๆ

ผ้าถุงกระโจมอก....ตีโป่งเล่นน้ำ

1.1k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ผ้าถุงกระโจมอก....ตีโป่งเล่นน้ำ

เคยได้ยินกันไหมครับ ตีโป่งเล่นน้ำ ผมกำลังลองคิดภาพตามว่าถ้าผมตีโป่งกระโดดลงเล่นน้ำในสระว่ายน้ำ ผู้คนคงตกใจ แต่ถ้าย้อนกลับไปในอดีตในช่วง 20 ปีที่แล้วคงเป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะกับผู้คนที่ใช้ชีวิตใกล้สายน้ำ ผมก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ใช้ชีวิตริมฝั่งแม่น้ำโขง ของอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ย้อนไปในยุคที่ไม่ได้มีน้ำประปาให้ใช้อย่างสะดวกสบายเหมือนในปัจจุปัน ช่วงเวลาทุกเย็น ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเด็ก จะรวมกันที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง บ้างก็ไปหาปลา บ้างก็เอาผ้าไปซัก ปลูกผักปลูกหญ้า และส่วนใหญ่คือไปอาบน้ำตอนเย็นกัน

ริมฝั่งแม่น้ำโขง บ้านนาสีดา ตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญผู้หญิงในชนบทส่วนใหญ่ก็นุ่งผ้าถุงกันอยู่แล้ว ดังนั้นชุดเล่นน้ำของพวกเขาก็เป็นผ้าถุง ไม่เกี่ยงว่าจะเป็นเด็กหรือสาวๆ จะสาวมากสาวน้อยขอให้ไม่กลัวน้ำและใส่ผ้าถุงได้เป็นพอ อุปกรณ์ใช้ก็มีแค่ผ้านุ่งหรือผ้าถุงนี่แหละครับ ส่วนวิธีการเล่นนั้น ผู้เล่นจะนุ่งผ้ากระโจมอก อย่าลืมมัดแน่นๆ นะครับ เดี๋ยวจะหลุดเอา พอลงน้ำแล้วก็พุ้ย (ตะหวัก) อากาศให้เข้าในผ้าถุงที่เรามัดอกเป็นอย่างดี เพื่อให้ผ้าโป่งพองขึ้นรอบๆ ตัวผู้เล่น แล้วให้เรารวบชายผ้าเอาขาหนีบไว้ ปล่อยตัวให้ลอยน้ำจนกว่าชายผ้านั้นจะหลุด แล้วจะทำให้ผ้าแฟบลง แล้วเราก็จะเริ่มเล่นใหม่ตามขั้นตอนที่บอกไป ประโยชน์ของการเล่นตีโป่งนี้ เป็นการฝึกพยุงตัวในน้ำสำหรับผู้ที่ยังว่ายน้ำไม่เป็น (เล่นในน้ำที่ไม่ลึกมากอยู่ในระดับที่ยืนได้) ส่วนผู้ที่ว่ายน้ำเป็นแล้วก็ใช้วิธีนี้สำหรับลอยตัวเล่นออกไปกลางแม่น้ำเพิ่มความสนุกสนาน จริงๆ ก็สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัยนะครับ ผู้ชายก็เล่นได้ ถ้ามัดผ้าถุงเป็น

Advertisement

Advertisement

วิธีมัดผ้าถุงกระโจมอกเตรียมตัวกางผ้าถุงถ้าพร้อมแล้วก็เตรียมตัว เข้าที่ ระวังเริ่มการตีโป่งเล่นน้ำได้เลยในปัจจุบันไม่ค่อยมีการตีโป่งเล่นน้ำกันแล้ว เพราะความสะดวกสบายเข้ามา มีน้ำประปาใช้ อยากว่ายน้ำก็มีสระให้ลงเล่น แต่ช่วงปิดเทอมในวันที่อากาศร้อนปีนี้ ลูกๆ ของผมอยากเล่นน้ำ ผมเลยเอาบทเรียนนี้มาสอนพวกเขา ให้ได้เรียนรู้วิถีของคนริมน้ำในอดีต ว่าเล่นน้ำกันอย่างไร เล่นแรกๆ ก็จะลำบากหน่อย อาจจะยังไม่คุ้นชิน ตีลมเข้ายังไม่ได้ แต่เด็กๆ ก็สนุกสนานกันมาก คงเพราะได้ทดลองอะไรที่แปลกใหม่ และเราก็ได้สอดแทรกความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการแทนที่ของอากาศ เรื่องแรงพยุง เข้าไปด้วย เลยดูน่าสนใจขึ้น คงไม่ใช่แค่เด็กๆ ที่สนุกสนาน ผู้ใหญ่อย่างเราก็คอยตื่นเต้นไปด้วย เพราะรู้สึก 14 อีกครั้ง ลองไปดูบรรยากาศการตีโป่งของเราได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=AthtY5PyWgI&t=17s

เครดิตภาพ
ภาพหน้าปก : ถ่ายโดยมงคลฤทธิ์ มณีเลิศ
ภาพที่ 1-5 : ถ่ายโดยมงคลฤทธิ์ มณีเลิศ
ภาพที่ 6 : ถ่ายโดยธัญญรัตน์ มณีเลิศ

Advertisement

Advertisement

ทีมงานตีโป่งริมโขง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์