ไลฟ์แฮ็ก

ชีวิตเด็กใต้ในถิ่นอีสาน

444
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ชีวิตเด็กใต้ในถิ่นอีสาน

ผมชื่อจูนครับ เป็นเด็กใต้ที่มาอยู่อิสาน หลายคนคงคิดว่าเป็นเด็กใต้แล้วยังไง ผมจะเล่าให้ฟัง

เคยสังเกตไหม? ต่อให้เป็นคนภาคเดียวกัน หรือแค่ต่างครอบครัวก็มีวัฒนธรรม ภาษา และวิถีชีวิตที่ต่างกันแล้ว ส่วนผมที่เป็นเด็กต่างภาคนะเหรอ!! ไม่ต้องพูดถึงเลย เดี๋ยวผมจะเล่าเรื่องสนุกๆ ปนความมึนๆ เหล่านี้ให้ฟัง

เรื่องเริ่มจากผมมาเรียนที่มหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งในภาคอิสาน โดยคนส่วนใหญ่มักจะถามว่าทำไมผมมาเรียนที่นี่ เหตุผลน่ะเหรอ ผมสอบติดไงครับ ฮา ฮา นั่นเป็นแค่เหตุผลส่วนหนึ่ง ที่จริงผมอยากออกจากบ้านมาใช้ชีวิตต่างถิ่น ผมขอแนะนำตัวแค่นี้ละกัน กลัวหลายๆ คนจะเบื่อและพาลคิดว่า”กูต้องรู้จักมึงไปทำไม”

เข้าเรื่องกันดีกว่าครับ ที่ผมจะเล่าคือประสบการณ์ที่ผมพบเจอในช่วงมหา’ลัย

เริ่มจากเรื่องแรกเลยละกัน มุมมองต่ออาหาร ผมไม่เข้าใจว่าทำไมคนที่นี่ถึงชอบหมูกระทะกันขนาดนั้น เมื่อเทียบกับที่ที่ผมเคยอยู่ ถ้าถามว่าคนที่นี่กินหมูกระทะกันบ่อยขนาดไหนน่ะเหรอ บางช่วงแทบจะกินแทนมื้อเย็นเลยก็ได้

Advertisement

Advertisement

วันนี้และวันถัดๆไป

เรื่องนี้ก็ยังคงไม่พ้นเรื่องกินครับ เหตุเกิดที่ร้านส้มตำแห่งหนึ่ง

ณ ร้านส้มตำ

ผม: ไม่เผ็ดได้ไหม

เพื่อน: ได้ๆ

10 นาทีต่อมา

ผม: เผ็ดจังวะ

เพื่อน: แค่นี้จิ๊บๆ เพื่อนกูกินพริก 20 เม็ด

ผม:… (กูจะไม่กินส้มตำกับเพื่อนมึง)โคตรรเผ็ดเลยย กินน้ำไปหลายเหยือกมาก

พ้นจากเรื่องของกินมาหน่อยครับ เรื่องนี้ทำให้ผมแอบคิดนะว่าหมาแต่ละภาคมีภาษาของมันหรือเปล่า ซึ่งในภายหลังผมก็เข้าใจ มันไม่ใช่เรื่องของภาษาหมาหรอกครับ มันเป็นเรื่องของภาษาคนนี่แหละ ที่บ้านผมเวลาเรียกหมาจะเรียกด้วยคำว่าจุ๊ๆ แต่สำหรับที่นี่จุ๊ๆ เป็นการดุ ซึ่งผมก็ได้ถามเพื่อนไปว่าเวลาเรียกหมายังเรียกยังไง เพื่อนบอกเรียก ‘หมาๆ’ หรือไม่ก็ชื่อไปเลยหมาเมิน 555+

เรื่องนี้เหมือนเป็นเรื่องที่ผมโดนล้างสมองด้วยคำๆ นึงครับ แต่ผมชอบคำนี้มากเลย มันรู้สึกสื่อถึงอารมณ์ได้ดีมากๆเลย คำนั้นคือ ‘เอ๊อะ!’ ถ้าเป็นคำเขียน บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจ feeling แต่ถ้าได้ยินเป็นสำเนียงจะรู้สึกสื่ออารมณ์ออกมามากๆ ผมใช้คำนี้บ่อยจนเพื่อนทักว่าเป็นเด็กใต้จริงหรือเปล่าทำไมชอบ “เอ๊อะ” จังอดีตกับปัจจุบัน

Advertisement

Advertisement

เรื่องต่อไปต่างจากเรื่องที่แล้วหน่อยนึงครับ ตรงที่ผมไปล้างสมองคนอื่นแทน คำว่า ‘พา’ เพื่อนๆ บอกว่าคำนี้มักใช้กับสิ่งมีชีวิต แบบจูงมา ลากมา หรืออะไรประมาณนั้นครับ ไม่ใช่การใช้กับสิ่งของ แต่ที่บ้านผมการนำอะไรสักอย่างมาด้วยใช้ ‘พา’ ทั้งหมดแหละ ถึงแม้เพื่อนๆ ที่นี่จะบ่นอย่างนั้น แต่ปัจจุบันก็ ‘พา’ มาเหมือนผม เซ่น พาหนังสือมาป่าว??

พอแค่นี้ก่อนละกัน ยังมีเรื่องวิถีชีวิต การท่องเที่ยวในถิ่นอิสานอีกเยอะ ไว้มีโอกาสจะมาเล่าให้ฟัง แต่เชื่อผมเถอะครับ บางครั้งสิ่งเล็กๆ น้อยๆ จากความต่างก็เป็นวิถีชีวิต และอะไรที่เคยคิดไว้ถ้าไม่เจอจริงๆ ก็ไม่มีทางเข้าใจมันหรอก จนกว่าคุณจะได้เจอด้วยตัวเอง

“คำบอกเล่าก็คือคำบอกเล่า แต่อาจไม่ใช่ความจริงทั้งหมด”

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์