ไลฟ์แฮ็ก

โรคกลัวการผูกมัด หรือ Commitment phobia

4.1k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
โรคกลัวการผูกมัด หรือ Commitment phobia

ไม่ต้องรู้ว่าเราคบกันแบบไหน ไม่อาจหาคำคำไหนมาเพื่ออธิบาย ... แบบนี้ก็ได้เหรอ !  เคยเจอเหตุการณ์เหล่านี้ไหมคะ คุยกันทุกวันแต่สถานะไปไม่ถึงไหนสักที คุยไปคุยมาพอถามถึงความสัมพันธ์ก็เปลี่ยนเรื่องตลอด ปกติเราคุยกับใครก็คงอยากจะได้ความชัดเจนถูกไหมคะ คนเราจะคุยกันได้ทุกวันแบบไม่คิดอะไรเลยจริง ๆ  เหรอ วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับโรคกลัวการผูกมัด หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ  Commitment phobia ว่าแต่เจ้าโรคนี้มันคืออะไรมาดูกันค่ะ

โรคกลัวการผูกมัด หรือ Commitment phobia เป็นสภาวะที่กลัวการตกลงปลงใจ อธิบายง่าย ๆ คือ ไม่ชอบผูกมัดกับคนอื่น ซึ่งอาการกลัวที่เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะกับเรื่องความสัมพันธ์ที่ต้องผูกมัดใจกับใครเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงกลัวการต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญในชีวิตอีกด้วย ผู้ที่เป็นโรคนี้จะรู้สึกวิตกกังวล ไม่สบายใจ อึดอัดใจจนไม่สามารถตัดสินใจได้

Advertisement

Advertisement

รูปที่ 1สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกลัวการผูกมัดมีอยู่หลายปัจจัย เช่น

  1. โตมาในครอบครัวที่แยกทางกัน มีปัญหาในครอบครัว ทำให้เกิดการกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนั้นซ้ำขึ้นอีกกับตัวเอง
  2. เคยพบเจอกับเหตุการณ์ในอดีตเกี่ยวกับความรักที่รุนแรง กระทบกระเทือนใจจนไม่กล้าเริ่มต้นใหม่กับใคร
  3. เคยตัดสินใจผิดพลาดจนไม่กล้าตัดสินใจอีก

เหตุการณ์ต่าง ๆ นำพามาซึ่งการกลัวที่จะผูกมัดกับใคร

รูปที่ 2โรคนี้อาจทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้มีคู่ยาก จนไปถึงอาจจะเสียคนดี ๆ ออกไปจากชีวิตได้ค่ะ ซึ่งไม่ดีแน่ ๆ หากโรคนี้เกิดขึ้นกับคนที่เรากำลังคุยอยู่

เราลองมาเช็คลิสต์กันค่ะว่าคนที่เรากำลังคุย ๆ อยู่เขาเป็นโรคนี้หรือเปล่า อาการมีดังนี้ค่ะ

รูปที่ 3

  1. คาดเดาไม่ได้เลยว่าอีกฝ่ายคิดอะไร บางทีลองถามไปก็ชอบเปลี่ยนเรื่องตลอด
  2. ไม่เคยได้ยินคำว่ารักจากปากเขาเลย แม้ว่าเราจะเป็นฝ่ายบอกไปก่อนก็เหมือนหูทวนลม
  3. กลัวการสัญญา พอบอกให้สัญญาเงียบตลอด
  4. ไม่อยากให้ครอบครัวรับรู้ คือ ไม่เคยพาเราไปให้ครอบครัว หรือเพื่อนของเขารู้จักเลย
  5. พอเราเริ่มจริงจังต้องการคำตอบจากปากเขา เขาจะเริ่มตีตัวออกห่าง บางรายก็หายไปเลย อยู่ดี ๆ ก็หายไลน์ไม่ตอบ !!!!

Advertisement

Advertisement

เมื่อเพื่อน ๆ ลองสังเกตอาการคนที่เราคุยอยู่ดันมีอาการตามที่กล่าวไปด้านบนควรทำไงดี มีทางหายไหม !

จริง ๆ แล้วโรคนี้มีสิทธิ์หายได้ค่ะ หลักในการรักษาโรคในลักษณะนี้คือใช้วิธีปรับพฤติกรรม ปรับความคิด ขจัดความกลัว ความกังวลที่เคยมีอยู่ให้หายไป อาจจะลองไปเข้ารับการบำบัดเพื่อให้รู้สึกเจ็บปวดกับเรื่องในอดีตให้น้อยลงก็ช่วยให้กลับมาใช้ชีวิตในด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีขึ้น หรือทั้งนี้เราอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเขาได้นะคะถ้าเราอยากเปลี่ยนเขาจริง ๆ ลองเปิดใจพูดคุย แล้วทำความเข้าใจเขาให้มาก ๆ ค่ะ

สุดท้ายนี้เราเชื่อว่าความรักเป็นสิ่งที่สวยงามค่ะ ไม่แน่นะคะ ความรักของคุณอาจทำให้คนที่เจอปัญหานี้อยู่ถูกปลดล็อกและทำให้เขากล้ากลับมาคบกับใครสักคนก็ได้นะคะ

เครดิตภาพทั้งหมดโดย Chamaiporn Chaichalard

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์