อื่นๆ

เทคนิคการสมัครงานให้ถูกเรียกสัมภาษณ์

245
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เทคนิคการสมัครงานให้ถูกเรียกสัมภาษณ์

บทความนี้ผู้เขียนตั้งใจทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการสมัครงานให้กับน้อง ๆ นักษาศึกษาที่พึ่งเรียนจบซึ่งกำลังหางานทำ รวมถึงบุคคลทั่วไปที่กำลังหางานอยู่ในขณะนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าทุกคนคงผ่านการสมัครงานมาแล้วหลายที่ แต่กลับต้องผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่า บางคนสมัครงานผ่านทางอีเมลล์ แต่ไม่มีการตอบกลับรอหลายวันก็ไม่มีวี่แวว หรือบางคนไปกรอกใบสมัครถึงที่ แต่ทางบริษัทกลับให้เหตุผลว่า “เดี๋ยวทางเราจะติดต่อกลับอีกที” ดิฉันเองก็เคยเป็นหนึ่งในนั้นมาก่อน แต่พอดิฉันได้รู้จักเทคนิคการสมัครงานผ่านประสบการณ์ที่เจอมา ดิฉันจึงรวบรวมเทคนิคต่าง ๆ แล้วลองทำตามจึงทำให้ดิฉันสมัครงานได้อย่างง่ายดาย ทำให้ไม่ต้องรอเรียกสัมภาษณ์นาน ๆ อีกต่อไป ทุกคนคงอยากรู้แล้วว่าเทคนิคที่ว่ามีอะไรบ้าง อย่ารอช้าเราไปเรียนรู้เทคนิคการสมัครงานกันเลยค่ะ

Advertisement

Advertisement

1. สำรวจตัวเอง

เราต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า ชอบทำงานอะไร  ชอบงานแบบไหน เพราะเมื่อเราได้เข้าไปทำงานแล้ว จะได้ทำงานอย่างมีความสุข ที่สำคัญถ้าเป็นงานที่เราชอบ งานที่เราถนัด เราก็จะมีข้อมูลและทักษะเกี่ยวกับงานนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี ยิ่งเป็นงานที่ตรงสาย ตรงกับสิ่งที่เรียนมายิ่งดีค่ะ เพราะโอกาสที่จะถูกจ้างงานมีสูงกว่าคนที่สมัครงานไม่ตรงสาย  เพราะอย่างน้อยเราก็มีประสบการณ์และเรียนมาโดยตรง แต่คนที่ไม่อยากทำงานตรงสายก็สมัครงานได้ไม่ยาก เพียงแค่หมั่นศึกษาหาความรู้ และหาข้อมูลในงานนั้น ๆ เพื่อจะได้นำมาใช้ในการตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง และแสดงให้เห็นว่าเรารัก และสนใจงานนี้จริง ๆ ภาพโดย pexels.com

2. ตำแหน่งงานที่สมัครต้องชัดเจน

การหางานต้องใส่ตำแหน่งที่จะสมัครให้ชัดเจน เพื่อง่ายต่อการสืบค้น ยกตัวอย่างการหางานของผู้เขียน  ผู้เขียนจบทางด้านบรรณารักษ์ ก็พิมพ์เข้าไปใน Google ว่า “หางานบรรณารักษ์ ชลบุรี 2563” ในการหางานจะต้องระบุ จังหวัดหรือพื้นที่ที่เราต้องการทำด้วย รวมถึงระบุ พ.ศ. ให้ชัดเจน เพียงเท่านี้ก็จะได้งานที่เป็นปัจจุบัน และตรงตามความต้องการแล้วค่ะ (เมื่อเจองานที่ต้องการแล้วอย่าลืมดูคุณสมบัติของผู้สมัครงานด้วยนะคะ เช่น วุฒิการศึกษา, ประสบการณ์กี่ปี และทักษะต่าง ๆ เป็นต้น)

Advertisement

Advertisement

ภาพโดยผู้เขียน3.ทำ Resume ให้น่าสนใจ

Resume เป็นหัวใจสำคัญของการสมัครงาน เพราะจะถูกพิจารณาจากข้อมูลใน Resume เป็นอันดับแรก ดังนั้นต้องทำข้อมูลให้สั้น กระชับ ชัดเจน ข้อมูลหลักที่ต้องมี คือ ประวัติส่วนตัว, ประวัติการศึกษา, ความสามารถพิเศษ, ทักษะทางภาษา, ประสบการณ์ระหว่างการศึกษา, ประสบการณ์ทำงาน, บุคคลอ้างอิง รวมไปถึงเบอร์โทร ที่อยู่ และ E-Mail ที่สามารถติดต่อได้ นอกจากนี้การตกแต่งให้มีสีสัน และการจัดเรียงให้น่าอ่านยิ่งทำให้ Resume ของคุณน่าสนใจดึงดูดให้เปิดอ่านยิ่งขึ้น ผู้เขียนแนะนำให้ทำ Resume แค่ใบเดียวก็พอนะคะ เพื่อจะได้ไม่เยอะมากจนเกินไป ส่วนข้อมูลอื่น ๆ ถ้าที่สมัครงานอยากรู้เพิ่มเติมค่อยให้ข้อมูลภายหลังได้ค่ะ

ภาพโดย ผู้เขียน4. สมัครงานผ่าน E-Mail

เมื่อทำตามข้อ 1-3 ครบแล้ว ยื่นใบสมัครงานทาง E-Mail ได้เลยค่ะ แต่!! การสมัครงานจะยื่นใบสมัครเวลาไหนก็ได้ เหมือนที่ผ่านมาไม่ได้แล้วนะคะ ถ้าทำแบบนั้นจะทำให้ถูกเรียกสัมภาษณ์ช้าค่ะ ดังนั้นต้องทำให้เป็นเวลานะคะ ผู้เขียนแนะนำว่าให้เลือกเวลาสมัครงานในช่วง ตี 1- ตี 2 ค่ะ มันอาจจะดูเป็นเวลาที่ดึกแต่เวลานี้แหละค่ะ คือเวลาที่ไม่ค่อยมีคนสมัครงาน ในส่วนของฝ่ายบุคคลที่มีหน้าที่รับสมัครงานจะต้องเปิดดู  E-Mail ในทุกเช้าอยู่แล้ว เมื่อเราส่ง E-Mail ไปในช่วง ตี1-ตี2 E-Mail  ของคุณก็จะอยู่อันดับต้น ๆ จึงทำให้คุณถูกพิจารณาเป็นคนแรก ๆ นั่นเองค่ะ

Advertisement

Advertisement

ภาพถ่ายโดย Miguel Á. Padriñán จาก Pexels5. โทรสอบถามเพื่อความแน่ใจ

เมื่อส่ง E-Mail สมัครงานไปแล้ว ถ้ายังไม่มีการติดต่อกลับมา ให้โทรสอบถามทันทีเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่า E-Mail ของคุณได้ส่งถึงปลายทางเป็นที่เรียบร้อยหรือยัง เพราะสาเหตุที่ช้าอาจเป็นเพราะว่า ฝ่ายบุคคลกำลังดำเนินการพิจารณาประวัติของคุณอยู่ หรือ E-Mail ของคุณอาจยังส่งไม่ถึงปลายทางก็ได้

ภาพถ่ายโดย Anna Shvets จาก Pexels เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคน เห็นไหมคะว่าแต่ละขั้นตอนไม่ยากเลย เทคนิคเหล่านี้ดิฉันได้ลองทำแล้ว และเห็นผลจริง จึงอยากนำมาบอกต่อ ดิฉันหวังว่าเทคนิคการสมัครงานทั้ง 5 ข้อนี้จะช่วยให้ทุกคนสมัครงานได้ง่ายขึ้น และถูกเรียกสัมภาษณ์ได้เร็วขึ้นนะคะ ลองสมัครงานไปหลาย ๆ ที่เลยค่ะ รับรองว่าจะถูกเรียกไปสัมภาษณ์งานจนเหนื่อยเลยค่ะ สุดท้ายนี้ดิฉันขอให้ทุกคนได้งานตามที่หวังไว้  ลองนำไปปรับใช้กันดูนะคะ

ภาพปกโดยผู้เขียน

ภาพประกอบที่ 1 ภาพถ่ายจากโดย Pixabay จาก Pexels

ภาพประกอบที่ 2 ภาพถ่ายโดยผู้เขียน

ภาพประกอบที่ 3 ภาพถ่ายโดยผู้เขียน

ภาพประกอบที่ 4 ภาพถ่ายจากโดย Miguel Á. Padriñán จาก Pexels

ภาพประกอบที่ 5 ภาพถ่ายโดย Anna Shvets จาก Pexels


คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์