ไลฟ์แฮ็ก

เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง (กับแฟนหนังสือของลุงมู)

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง (กับแฟนหนังสือของลุงมู)

ปัจจุบันกระแสการออกกำลังกายด้วยการวิ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก บุคคลที่ทรงอิทธิพลที่มีผลต่อการออกกำลังกายของคนไทยคงจะหนีไม่พ้นพี่ตูน บอดี้แสลม การวิ่งของพี่ตูนสร้างแรงบันดาลใจให้ใครหลายๆ คน ทั้งคนที่เจ็บป่วย และไม่เจ็บแต่ไม่อยากออกกำลังกายให้ออกมาวิ่งเพื่อรักษาสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งเสริมการทำความดีให้กับสังคม อย่างไรก็ตามการออกวิ่งของผมไม่ได้มาจากพี่ตูน แต่มาจากนักเขียนนิยายคนหนึ่งชื่อว่า ฮารูกิ มูรากามิ (Murakami Haruki) เหตุผลที่ผมชื่นชอบในตัวของเขานอกจากจะเป็นแฟนพันธุ์แท้นิยายแล้ว งานเขียนในเชิงสารคดีที่เขาได้ตีพิมพ์ออกมา ซึ่งเผยให้เห็นเคล็ดลับที่อยู่เบื้องหลังการเขียนนิยาย นั่นคือ “การวิ่ง” ซึ่งเขาได้เล่าเรื่องราวเหล่านั้นลงในหนังสือเรื่อง “What I Talk about When I Talk about Running” และมีการแปลเป็นภาษาไทยในชื่อว่า “เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง” โดยนพดล เวชสวัสดิ์

Advertisement

Advertisement

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มูราคามิเขียนจากความทรงจำโดยเฉพาะอย่างยิ่งความทรงจำเกี่ยวกับการวิ่งของเขา แต่ที่น่าสนใจอย่างมากคือ เขานำเสนอภาพของการวิ่งไปพร้อมกับการเขียนนิยายของเขา เช่น มูราคามิสารภาพว่า เขาเริ่มวิ่งในปีประมาณ 1982 หลังจากเขียนนิยามสุดคลาสิคที่ผู้อ่านที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ต่างยอมรับ นั่นคือ นวนิยายเรื่อง “แกะรอยแกะดาว” มูราคามิสารภาพว่าระหว่างที่เขียนหนังสือเล่มนี้ เขาสูบบุหรี่จัด 60 มวนต่อวัน นิ้วมือเหลือง น้ำหนักขึ้น พละกำลังถดถอย และจุดนั้นเขาจึงตัดสินใจวิ่ง และวิ่งตลอดมาถึงทุกวันนี้

เคล็ดลับในการวิ่งของเขา คือ แรงบันดาลใจที่เขาได้จากการอ่านหนังสือพิมพ์ที่เขียนบทความเรื่องมาราธอน ในบทความนั้นมีการสัมภาษณ์นักวิ่งว่า “มีมนต์วิเศษใดที่เสกเป่าให้ตัวเองสืบเท้าก้าววิ่งไปได้ตลอดทาง?” นักวิ่งคนหนึ่งตอบว่า “ความเจ็บปวดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้...สมมติว่าคุณออกวิ่ง คุณก็เริ่มคิดแล้วว่า โอ๊ย เจ็บปวด ฉันทนต่อไปไม่ได้อีกแล้ว ความเจ็บปวดคือความเป็นจริงที่หลบเลี่ยงไม่ได้ แต่การทานรับความเจ็บปวดนั้น ขึ้นอยู่กับนักวิ่งเอง...”

Advertisement

Advertisement

นับตั้งแต่หนังสือเล่มนี้ออกวางขายเป็นภาษาไทยในปี พ.ศ. 2552 ผมก็เริ่มวิ่งตลอดมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ผมไม่รู้หรอกว่า มูราคิมิตีความแรงบันดาลใจที่เขาได้จากการอ่านบทความเรื่องมาราธอนนั้นอย่างไร แต่ผมตีความว่า ความเจ็บปวดเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ แต่การทานรับความเจ็บปวดนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับนั่งวิ่งคนเดียว คนรอบๆ ข้างก็สามารถช่วยแบ่งเบาความเจ็บปวดนั้นได้

https://onscene-prod.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/files/styles/body_image_480w/public/inline-images/962656DF-6CB7-4A07-B8A3-16B234776C0F.jpeg?itok=4bgUNDW5

https://onscene-prod.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/files/styles/body_image_480w/public/inline-images/393A3F05-6DED-413B-A8BB-CC70A0C1E1A0.jpeg?itok=-zMDT23Z

ตัวมูราคามิเองก็มีภรรยาที่คอยแบ่งเบาความเจ็บปวดมาสามสิบปีโดยเฉพาะในตอนที่มูราคามิตัดสินใจเลิกกิจการบาร์แจ็สที่กำลังอยู่ตัวไปเขียนหนังสือ ภรรยาของเขาก็ไม่ได้ขัดขวาง เธอคอยสนับสนุนมูราคามิอยู่ข้างๆ เช่นเดียวกับก้อย รัชวินที่วิ่งมาข้างๆ กับพี่ตูน

แฟนผมเป็นคนไม่ชอบออกกำลังกายครับ ผมเลยชวนเธอไปวิ่ง ลองคิดดูสิครับว่า คนที่วิ่งมาตลอด 10 ปีจะวิ่งกับแฟนที่ไม่ค่อยชอบวิ่งอย่างไร ในตอนที่เธอวิ่ง เธอจะต้องเหนื่อย และท้อแท้อยู่อย่างแน่นอน ผมจะทิ้งเธอไปวิ่งคนเดียวตามสมรรถภาพร่างกายของผมได้ไง ผมจึงวิ่งในโซนฟ้า คือ วิ่งอย่างช้าๆ ให้หัวใจเต้นอยู่ระหว่าง 114 – 133 เคล็ดลับในการวิ่งด้วยวิธีนี้ของผมจึงเป็นการวิ่งที่ช่วยแบ่งเบาความเจ็บปวดของแฟนผมได้ คือ วิ่งไปด้วยกัน สุขภาพดีไปด้วยกัน

Advertisement

Advertisement

https://onscene-prod.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/files/styles/body_image_480w/public/inline-images/4EB78D39-9670-4042-B521-7E2741EF8724.jpeg?itok=DMDYjW38

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
วันด้า
วันด้า
อ่านบทความอื่นจาก วันด้า

อาจารย์มหาลัยที่ชอบเที่ยว

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์