ไลฟ์แฮ็ก

เก็บออมแบบนี้ มีเงินเหลือแน่นอน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เก็บออมแบบนี้ มีเงินเหลือแน่นอน

ออมเงิน

เป็นหรือไม่ ที่พอเงินเดือนออกมาเท่าไรก็ใช้หมด แทบไม่มีเหลือเก็บ ถ้าขืนเป็นแบบนี้ต่อไป รับรองเลยว่า ชีวิตคุณในอนาคตต้องลำบากแน่นอน แต่ถ้าคุณลองทำตามวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้ คุณจะมีเงินเหลือเก็บไม่มากก็น้อย และท้ายที่สุด ก็จะช่วยให้คุณมีนิสัยการออมติดตัวอย่างแน่นอน

ออมเงินตามวันที่ในปฏิทิน

ดูจากตัวเลขตามวันที่ในปฏิทินได้เลย อย่างเช่น วันที่ 1 ก็เก็บเงิน 1 บาท //  วันที่ 10 เก็บเงิน 10 บาท // วันที่ 20 เก็บเงิน 20 บาท

ทำแบบนี้ในทุกๆวัน 1 เดือน ตีตัวเลขกลมๆ มี 30 วัน คุณจะมีเงินเก็บได้เดือนละ 465 บาท แล้วถ้าคูณ 1 ปี คุณจะมีเงินเก็บ ปีละ 5,580 บาท

แต่ถ้าอยากเก็บออมให้ได้มากกว่านี้ ลองเปลี่ยนจาก วันที่ 1 - 30 ของแต่ละเดือน มาเป็น การออกตามจำนวนวัน ของ 1 ปี ก็ได้ โดยใน 1 ปี จะมี 365 วัน คุณก็เก็บเงินตามจำนวนวันที่ผ่านไป  เช่น วันที่ 1 ของปี ออม 1 บาท  ไล่ไปเรื่อยๆ  วันที่ 100 ของปี ก็ออม 100 บาท   ถ้าทำแบบนี้ทุกวันจนครบครบ 365 วัน คุณจะมีเงินเก็บถึง 66,795 บาท เลยทีเดียว
ปฏิทิน

Advertisement

Advertisement

เก็บเฉพาะแบงก์ 50

วิธีนี้หลายๆคนชอบนำไปใช้ เวลาที่ใช้แบงก์ใหญ่ไปซื้อของ ได้เงินทอนมา ถ้าหากว่าเจอแบงก์ 50 บาท ให้เก็บไว้แล้วนำไปหยอดใส่กระปุก บางคนซื้อของบ่อย อาจโชคดีเจอแบงก์ 50 หลายใบในหนึ่งวัน ช่วยทำให้มีเงินเก็บได้มากขึ้นด้วย

**หมายเหตุ**

วิธีการเก็บเฉพาะแบงก์ ไม่จำกัดแค่แบงก์ 50  ใครอยากเก็บแบงก์อื่นๆ เช่น แบงก์ 20 บาท ก็ได้เช่นกัน ซึ่งแบงก์ 20 อาจทำให้มีเงินเก็บมากขึ้นอีก เพราะส่วนใหญ่ เวลาได้เงินทอน แบงก์ 50 จะมีโอกาสได้น้อยกว่าแบงก์ 20 อยู่แล้ว

ธนบัตร

เก็บแบงก์ที่มีเลขท้ายตามวันเกิด หรือ เลขที่ชื่นชอบ

วิธีนี้ช่วยให้เราเป็นคนช่างสังเกตุ และกระตุ้นการเก็บออมได้มากขึ้น เวลาที่เรากดเงินจาก ATM หรือได้เงินทอนจากร้านค้า ให้เราสังเกตุตัวเลข 2 หลักสุดท้าย เช่น เกิดวันที่ 16  แล้วเจอแบงก์ที่ลงท้ายด้วยเลขนี้ ก็เก็บไปเลย ห้ามนำไปใช้ หรือถ้าใครมีตัวเลขอื่นๆ ที่ชื่นชอบ เลขมงคล เลขเฮงประจำตัว ถ้าเจอเลขเหล่านั้น ก็ให้แยกธนบัตรออกมาเพื่อใช้สำหรับเก็บออมทันทีธนบัตร

Advertisement

Advertisement

ได้เหรียญมาเท่าไร ห้ามใช้เด็ดขาด

เวลาเราไปซื้อของ ถ้าหากได้เงินทอนเป็นเหรียญ ไม่ว่า จะเหรียญ 1 บาท  5  บาท หรือ 10 บาท เราเก็บแยกเหรียญทุกประเภทใส่กระเป็นเล็กๆเอาไว้ กลับถึงบ้าน ก็นำมาใส่กระปุก จะได้มากได้น้อย ขอให้เก็บก็พอ เชื่อว่ายังไงวิธีการนี้ ก็ทำให้มีเงินเหลือเก็บ พอรวบรวมไว้เยอะๆ ค่อยนำไปฝากธนาคารก็ได้

เหรียญ

เงินเดือนออกปุ๊บ หัก 10 % ปั๊บ

วิธีการนี้ มาพร้อมกับจิตใจแน่วแน่ เข็มแข็ง  เช่น   เวลาที่เงินเดือนออกปุ๊บ ก็ให้เก็บก่อนเลย อย่างน้อยที่สุดก็ 10% ของเงินเดือน เช่น ได้เงินเดือน 20,000 บาท ก็เก็บ 2,000 บาท ทำแบบนี้ทุกเดือน ๆ ถึงสิ้นปี เราจะมีเงินเก็บ 24,000 บาท

หักเงินเดือนเก็บทันทีเปิดบัญชีเงินฝากประจำ

เริ่มต้นที่ฝากประจำเป็นเวลา 5 ปี ฝากเงินจำนวนเท่าๆ กันในบัญชีนั้นทุกๆเดือน โดยใช้ระบบการตัดยอดเงินอัตโนมัติตามจำนวน แล้วนำฝากเข้าบัญชีฝากประจำทุกเดือน วิธีการนี้มีข้อแนะนำให้หาข้อมูลดอกเบี้ยของแต่ละธนาคาร เพราะเงินฝากประจำ มีเงื่อนไข และ ดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน บางแห่งมีแบบปลอดภาษีด้วย

Advertisement

Advertisement

สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร

ตั้งเป้าหมายการออมเงิน

สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการออมเงิน คือ การเอาชนะใจตัวเอง บังคับตัวเอง สร้างวินัยในการออมเงินให้ได้ ที่สำคัญควรตั้งเป้าหมาย สำหรับการออมเงินให้ตัวเอง เช่นว่า เราต้องการออมเงินเพื่ออะไร ซื้อบ้าน ซื้อรถ ท่องเที่ยว หรือไว้ใช้หลังเกษียณ หากเรามีเป้าหมายชัดเจนสำหรับการออมเงิน แล้วนำเเป้าหมายเหล่านี้มาเตือนตัวเอง รับรองว่า สามารถเอาชนะใจตัวเองได้แน่นอน

ตั้งเป้าหมายการออม----------------------------------------------------------

บทความ และ ภาพประกอบ โดย ณิชชี่

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์