อื่นๆ

เช็งเม้ง..ในปีที่เราไม่ได้พบกัน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เช็งเม้ง..ในปีที่เราไม่ได้พบกัน

เช็งเม้ง..ในปีที่เราไม่ได้พบกัน

ในประเทศไทยมีชาวไทยเชื้อสายจีนอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้มีประเพณีจีนหลายอย่างได้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ เสมือนเป็นประเพณีของไทยไปด้วย เช่น ตรุษจีน การไหว้พระจันทร์ เป็นต้น

หนึ่งในประเพณีดั้งเดิมของชาวจีนที่ถือเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติ ของลูกหลานในทุกครอบครัว คือ ประเพณีเช็งเม้ง หรือ การกราบไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ โดยลูกหลานจะเดินทางกลับมารวมตัวกัน และไปทำพิธีไหว้ที่สุสาน หรือที่เรียกกันว่า "ฮวงซุ้ย"

คำว่า “เช็งเม้ง” มาจากภาษาจีนกลางว่า ชิงหมิง (qing ming) แปลว่าช่วงเวลาที่อากาศสดชื่น ท้องฟ้าแจ่มใส  โดยในแต่ละปี จะมีช่วงของเทศกาลใกล้เคียงกัน ส่วนในปี พ.ศ. 2563 นี้ จะเริ่มไหว้ในวันฮุงชุง (20-21 มีนาคม) ถึงวันเช็งเม้ง (4-6 เมษายน) ซึ่งจะเป็นช่วงฤดูร้อนที่ท้องฟ้าแจ่มใสตรงตามชื่อเทศกาล

Advertisement

Advertisement

อุปกรณ์และข้าวของต่างๆในการไหว้บรรพบุรุษจะประกอบไปด้วย อาหารคาว เช่น ไก่ต้ม หมูสามชั้น ผัดหมี่ซั้ว, อาหารหวาน เช่น ขนมถ้วยฟู ขนมเต่า  ผลไม้ต่าง ๆ เช่น กล้วย องุ่น แอปเปิ้ล  กระดาษเงินกระดาษทอง ธูปเทียน (เทียนแดงแบบจีน) ของตกแต่งฮวงซุ้ย เช่น ธงประดับ กระดาษสี

และช่วงเวลาที่ต้องไปถึงฮวงซุ้ยคือ ช่วงเช้า ไม่เกินเที่ยง ซึ่งผู้ที่ไปทำพิธี จะต้องไปไหว้ศาลแป๊ะกง ซึ่งถือว่าเป็นผู้ดูแลสถานที่ก่อน หลังจากนั้น ต้องไปทำความสะอาดฮวงซุ้ย ถอนหญ้า ปลูกหญ้าใหม่หรือปลูกต้นไม้ให้สวยงาม และตกแต่งด้วยอุปกรณ์ต่างๆ และหลังจากไหว้เสร็จแล้ว (เวลาเท่ากับหมดธูปหนึ่งดอก) ลูกหลานจะต้องร่วมกันรับประทานอาหารที่นำมาไหว้ที่หน้าหลุมศพด้วยส่วนหนึ่ง และที่เหลือจึงนำกลับไปรับประทานต่อที่บ้านได้

ในส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุสานขนาดใหญ่ที่สุดคือ สุสายสาธารณะที่ข้างวัดพนัญเชิง บริเวณตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Advertisement

Advertisement

เช็งเม้ง3

โดยปกติทุกปี ในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง สุสานแห่งนี้ จะเต็มไปด้วยผู้คนที่พากันมาไหว้บรรพบุรุษ มีเสียงประทัดดังเปรี้ยงปร้างทั้งวัน กลิ่นควันธูป และกลิ่นควันจากการเผากงเต็กลอยคลุ้งไปทั่ว แต่ละปี จะมีคนแข่งกันประดิษฐ์กงเต็กรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย เช่น ทำเป็นรูปโทรศัพท์มือถือ ไอโฟน แท็บเล็ต เสื้อผ้ารูปแบบใหม่ ๆ เป็นต้น

ในขณะที่บนฮวงซุ้ยแต่ละแห่ง จะเต็มไปด้วยสีสันของกระดาษและธงประดับหลากสี บางหลุมมีหญ้าปลูกคลุมไว้เขียวชะอุ่ม ซึ่งถือกันว่า จะช่วยทำให้ตระกูลนั้น ๆ มีแต่ความร่มเย็น

เช็งเม้ง4

แต่ในปีนี้ ประเทศไทยต้องประสบกับภาวะการระบาดอย่างหนักของไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ไม่เพียงแต่ในประเทศ ทำให้การรวมตัวเพื่อทำพิธีหรือเทศกาลต่าง ๆ ถูกยกเลิกเพื่อป้องกันการระบาด และติดเชื้อ

เช็งเม้ง1สิ่งที่พบคือ สุสารหรือฮวงซุ้ยแต่ละที่เงียบกริบ ร้างไร้ผู้คน  ไม่มีการประดับตกแต่งใด ๆ ที่บ่งบอกถึงการมากราบเคารพบรรพบุรุษของลูกหลาน สภาพอากาศยิ่งร้อนร้าย เหมือนซ้ำเติมความเงียบเหงาให้ยิ่งทวีคูณ

Advertisement

Advertisement

เช็งเม้ง2

แต่เชื่อว่า หลังจากสภาวะวิกฤตผ่านพ้น หมดช่วงเวลาที่ทุกคนต้องเก็บตัวอยู่ในบ้าน ลูกหลานไทยเชื้อสายจีนทุกคน คงจะพร้อมใจกันกลับไปประกอบพิธีกรรมนี้อีกอย่างแน่นอน ฮวงซุ้ยแต่ละแห่งจะกลับมามีสีสัน เสียงประทัดจะกลับมาดังก้องไปทั่ว พร้อม ๆ กับการได้กลับมาพบกันอย่างอบอุ่นของญาติพี่น้องในทุกครอบครัว

เราจะได้กลับมาพบกันในวัน "เช็งเม้ง" ที่อากาศสดชื่น และท้องฟ้าแจ่มใสอีกครั้ง

"ไท่กั๋ว..เจียโหยว - ประเทศไทย สู้..สู้"

เรื่องและภาพประกอบ โดย Kepler-22b

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์