อื่นๆ

อายุความ กับ ความแค้น

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
อายุความ กับ ความแค้น

เมื่อพูดถึงอายุความในทางกฎหมายperiod of prescription (Cr: by drobotdean from https://bit.ly/2SycjoF)

หมายถึง ระยะเวลาที่ผู้ร้อง (สิทธิ) ต้องใช้สิทธิในทางกฎหมาย มิฉะนั้น ผู้ร้องย่อมถูกปิดปากว่า “คดี” ขาดอายุความ เท่ากับว่าโจทย์มีโอกาสแพ้คดีสูง เนื่องด้วยกฎหมายต้องการเร่งให้กระบวนพิจารณาเร็วขึ้น หากปล่อยให้ล่วงเลยย่อมกระทบต่อวัตถุพยานเป็นแน่ หากมองในอีกมุม การนิ่งเฉยไม่เริ่มกระบวนพิจารณา น่าจะเท่ากับว่าเรายอมรับในผลเสียหายทางกฎหมาย หรือกล่าวโดยสรุป อายุความจะมีเงื่อนเวลาเป็นกรอบบังคับว่าควรต้องดำเนินคดีภายในกี่ปี กี่เดือน กี่วัน เป็นต้น มิฉะนั้นแล้ว ผู้ที่ยกประโยชน์แห่งอายุความขึ้นต่อสู้ย่อมได้ชัยชนะไป เป็นอันจบปึ้ง ปิดคดี
Angry (Cr: by Freepik from https://bit.ly/2Sycxfm)

แต่ในทางตรงกันข้าม ความแค้น/ความโกรธนั้น

แม้ดูเหมือนจะสงบลงแล้ว แต่หาได้มีเงื่อนเวลาสิ้นสุดไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้โกรธ – ผู้แค้นสามารถควบคุมอารมณ์ได้มากน้อยเพียง ถ้าควบคุมไม่ได้ก็ดังที่จะเห็นเป็นข่าวในสื่อต่าง ๆ ซ้ำร้ายล่าสุดอาจต้องเสียชีวิต ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่โคราชซึ่งผู้กระทำความผิดถูกวิสามัญ (จับตาย)

Advertisement

Advertisement

ดังนี้ผู้อ่านอาจพอมองเห็นภาพถึงความโกรธแค้นว่าส่งผลที่รุนแรงเพียงใด ด้วยเหตุนี้เพื่อให้สังคมเรามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (น่าอยู่) พึงระลึกไว้เสมอว่า “หากลองคิดเล่นๆ ไม่ควรมีอะไรทำให้เราหัวเสียได้ ถ้าเราเข้าใจและอดทนพอ”

ส่วนเรื่องคดีนั้น คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ตัดสินcriminals (Cr: by sylv1rob1 from https://bit.ly/3bvlgrx)

แต่ผมขอตั้งข้อสังเกตไว้ 2 ประการ คือ

1.คดีอาญานั้น โทษในคดีอาญาเป็นอันระงับด้วยความตายของผู้กระทำความผิด

ดังนั้น การจะไปลง(โทษ)กับครอบครัวของผู้กระทำความผิดย่อมทำไม่ได้ เพราะ คดีอาญาต้องพิจารณาการกระทำของผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิด ถ้าครอบครัวผู้กระทำความผิด ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นใด ๆ เลย โทษย่อมไม่สามารถไปบังคับใช้ถึง (ลงโทษ) ครอบครัวของผู้กระทำความผิดได้
damages (Cr: by macrovector from https://bit.ly/39wfeVP )

Advertisement

Advertisement

2. คดีแพ่ง จะตรงกันข้ามกับคดีอาญา เพราะส่วนใหญ่คดีแพ่งจะข้องแวะกับการเรียกค่าเสียหาย (หนี้เงิน)

ความตายของผู้กระทำความผิดย่อมไม่เป็นเหตุให้หนี้ (ทางแพ่ง) ต้องระงับ ความรับผิดย่อมสามารถตกติดไปตามกฎหมายมรดก กล่าวคือ ทายาทอาจต้องรับไปทั้งสิทธิและ***หน้าที่*** (เช่น ถูกเรียกร้องค่าเสียหาย) แต่ทรัพย์สินของทายาทจะไม่ถูกนำมาชดใช้ในกรณีนี้ กฎหมายให้อำนาจเจ้าหนี้บังคับกับทรัพย์สินของลูกหนี้ (ที่อยู่ในกองมรดก ... ที่จะตกเป็นของทายาท) เท่านั้น หาได้รวมถึงทรัพย์สินของทายาทไม่

ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า “ความตาย” นั้นย่อมทำให้โทษในคดีอาญาระงับ (เพราะไม่มีตัวผู้กระทำความผิดให้นำมารับโทษ) ส่วนในคดีแพ่งนั้น “ความตาย” ไม่ทำให้หนี้ทางแพ่งระงับ ดังนั้น หากคิดจะตายพึงระลึกว่าหนี้ทางแพ่งไม่ระงับ และหนี้กรรมก็ไม่ระงับ สำคัญที่สุดคือ “สติ” จะทำอะไรลงไปโปรดไตร่ตรองดูก่อน เพราะบางคนโอกาสที่จะรอดกลับมาเป็นครั้งที่ 2 น้อยมากครับ ส่วนตัวผมมองว่า การมีชีวิต คือ สิ่งที่ล้ำค่าที่สุด คุณทำดีแล้วหรือยังครับ?
Forgive

Advertisement

Advertisement

(Cr: by mykrit from https://bit.ly/2SyfY5T)

ท้ายนี้นะครับ ผมย้ำอีกครั้งว่า ความโกรธ ความเกลียด ความแค้นจะติดตัวเราเสมอ ไม่มีเงื่อนเวลาให้ดับลงไป ตราบใดที่ไฟแค้นยังครุกรุ่นอยู่ ทางแก้ คือ มีสติ และให้อภัย รวมถึงนั่งคุยกับผู้อื่นเพื่อหาที่ระบาย ... ผมเชื่อลึก ๆ ว่าทุกปัญหามันมีทางออกเสมอ (บางครั้ง) ขอแค่รอเวลา และจง#เสพข่าวแต่น้อย ๆ เรียนรู้จากข่าว และโปรดเห็นใจกับทุกฝ่าย พร้อมทั้งขอแสดงความเสียใจกับการสูญเสียของทุก ๆ กรณี  ... ผมเชื่อครับว่าคงไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุนี้หรอก แต่เมื่อเกิดแล้วเราสามารถเรียนรู้จากเหตุการณ์ได้มากน้อยเพียงใด – ผมว่านี่ต่างหากเป็นสิ่งสำคัญ

ท้ายที่สุดของที่สุด "การให้อภัย" คือ การแก้แค้นที่ดีที่สุุด

(มงต้องมาล่ะ)

อนึ่ง ขอบพระคุณภาพปก Cr: by Freepix from https://bit.ly/37Dh8T9

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์