อื่นๆ

เพลงดีเพลงดัง แต่(เทป)ฟังไม่ได้

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เพลงดีเพลงดัง แต่(เทป)ฟังไม่ได้

ย้อนกลับไปอีกสักคราครั้ง เมื่อประมาณสักยี่สิบที่แล้ว..



ช่วงเวลาที่การรับฟังเพลงผ่านอุปกรณ์ดิจิทัล ยังไม่แพร่หลายเท่าทุกวันนี้



มีการฟังเพลงด้วยวัสดุประเภทหนึ่งที่อ่านข้อมูลผ่านแถบแม่เหล็ก



เรียกว่า.. เทปคาสเซ็ท

ศิลปิน ไม่ว่าจะฉายเดี่ยว เป็นคู่ดูโอ้ หรือจะเป็นวง จนไปถึงเป็นหมู่คณะ กว่าจะได้ออกอัลบั้ม หรือที่เรียกว่าออกเทปได้นั้น อาจไม่ได้เป็นเรื่องที่ง่ายดายนัก..



เมื่อเทียบกับปัจจุบันแล้ว ช่องทางการทำเพลง หรือนำเสนอผลงานด้วยตัวเองเป็นเรื่องอันแสนง่าย
เพราะปัจจุบันมีช่องทางการเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ



หากแม้นว่าหมาอาจเมิน แต่ถ้ามีแมวมองเห็นสักเพียงหนึ่งคน อาจได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลง เพื่อออกซิงเกิ้ล หรือเพลงแนะนำออกมาก่อน



หากซิงเกิ้ลได้รับการตอบรับที่ดีแล้ว ค่อยปล่อยเพลงอื่นๆ อีกตามภายหลัง

Advertisement

Advertisement



ผิดกับยุคเทปคาสเซ็ท ที่ศิลปิน หรือนักร้องนั้น ต้องมีเพลงให้เต็มอัลบั้ม..



การจะเปิดเพลงจากเทปคาสเซ็ทฟังนั้น ก็จะต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ นั่นก็คือเครื่องเล่นเทป

Cassette Player

เครื่องเล่นเทปในยุคนั้นก็มีหลากหลายพอประมาณ ทั้งแบบตั้งอยู่กับที่ และแบบพกพาได้ หรือที่เราเรียกกันว่าซาวด์อะเบาท์..



วิธีการฟังเพลงผ่านเทปคาสเซ็ทนั้น โดยแต่ก่อนที่นิยมคือ การฟังให้หมดเป็นหน้าๆ ไป



ที่เรียกว่าเป็นหน้า ก็เพราะตลับเทปคาสเซ็ทจะมีอยู่สองด้าน ที่เรียกว่าหน้า A และหน้า B



แต่ละหน้าก็จะมีเพลงบรรจุไว้ ซึ่งก็อาจจะมีจำนวนเพลงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความสั้น หรือยาวในแต่ละเพลง..



การใช้ปากกาลูกลื่น หรือดินสอ สอดเข้าไปในช่องวงกลม ช่องใดช่องหนึ่งของตลับเทป แล้วควงหมุนแกว่งตลับเทป เพื่อจะกรอตลับเทปกลับมาฟังเพลงในช่วงกลางของตลับเทป นับเป็นทักษะประเภทหนึ่ง ที่คนฟังเพลงในยุคนั้นต้องมีติดตัว..

Advertisement

Advertisement



หรืออาจใช้ปากกาเขียนแถบลงบนตลับเทป เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ให้ทราบว่าเพลงที่โปรดปราน และต้องการฟังซ้ำบ่อยๆ อยู่ช่วงไหน..

ปัญหาของการฟังเพลงผ่านตลับเทปคาสเซ็ท ที่เมื่อฟังบ่อยๆ นั่นก็คืออาการที่เรียกว่า "เทปยืด"..

Tape

อาการเทปยืดดังกล่าว อาจทุเลาเบาลงได้ จากคำแนะนำของกูรูผู้ฟังเพลงว่า ให้นำตลับเทปไปแช่เอาไว้ในตู้เย็นสักพักใหญ่ๆ



หากหยิบตลับเทปที่แช่เย็นไว้แล้ว กลับออกมาฟังอีกครั้ง แล้วอาการเทปยืดนั้นยังไม่ดีขึ้นเท่าไหร่ ก็แสดงว่าอาการของตลับเทปนั้น อาจจะเริ่มหมดอายุขัยของมันแล้ว..



และถ้าหากยังฝืนทนเปิดฟังต่อไป อาจจะเกิดอาการโคม่า จนถึงขั้นเครื่องเล่นกินเทป คือเมื่อนำเทปออกมา จะเห็นสายเทปออกมาจากตลับด้วย



บริษัทผู้ผลิตเทปเริ่มทยอยปิดการผลิตลงในช่วงประมาณปี ค.ศ. 2000 ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบดิจิทัลเริ่มเข้ามามีบทบาทในการฟังเพลงมากขึ้น

Advertisement

Advertisement



จวบจนกระทั่งอุปกรณ์ และวัสดุในการฟังเพลงก็เปลี่ยนมาเป็นแผ่นซีดีแทน



เสียดายก็ตรงที่มีตลับเทปของศิลปินหลายท่านที่ฟังไม่ได้ เพราะอายุขัยของตลับเทปที่หมดไป



โดยไม่เกี่ยวอันใด กับอายุขัยของศิลปินที่หมดลง..

ตลับเทปเพลง

ภาพ 1, 2 และ 3 จาก Pixabay.com


คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์