อื่นๆ

เทคนิค | การเล่านิทานให้ลูกฟัง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เทคนิค | การเล่านิทานให้ลูกฟัง

หวัดดีครับท่านผู้อ่านที่ผ่านเข้ามา

นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า.......................ยัง ๆ ๆ

ผมยังไม่ได้เล่าครับ ก่อนจะเล่า ผมก็จะขอเล่า งั้นเล่าเลยนะครับ  พอดีช่วงวิกฤติโควิดนี้ ด้วยความฟุ้งซ่านกระมังครับ แต่โชคดีที่ได้อยู่กับลูกอีกนั่นล่ะ มีกิจกรรมมากมายที่ได้ทำด้วยกัน เช่น ป้อนข้าว ป้อนน้ำ รวมถึงการทำกิจกรรมอื่นๆ คือถ้าโควิดไม่มาแล้วใครทำ บอกตรง ๆ เลยครับ ภรรยา เป็นคนทำ

เอาล่ะครับ
วกเข้ามาที่นิทานกันนะ วันก่อน มีพี่คนหนึ่งได้หอบหนังสือสารพัดมาให้ซึ่งเป็นนิทานของลูกสาวแก แต่ตอนนี้โตเป็นสาวแล้วไปเรียนต่อที่อเมริกา เลยเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับพ่อบักอินดี้จึงนำมามอบให้ เป็นธรรมทานไม่พอ แถมยังเป็นปัญญาทานได้อีกด้วย ด้วยอานิสงส์ของฟรี ผมจึงขอทำหน้าที่มากกว่าการรีวิวหนังสือ ให้ฟังนะครับ

เป็นประสบการณ์แรกเลยของการเล่านิทานให้ลูกฟังที่เป็นทางการ เล่มที่หยิบขึ้นมาเล่าครั้งนี้ คือ นิทานสำหรับเด็ก ชุด วินนี่ เดอะพู หรือ เจ้าหมีพู ที่ตัวสีเหลือง เสื้อแดงนั่นล่ะครับ ผมไม่เคยเห็นเด็ก ๆ ดูการ์ตูนแต่ยังไม่เคยรู้เรื่องหมีพูซักเท่าใดนัก ซึ่งวันนี้ ก่อนเล่านิทานให้ลูกฟัง ผมต้องอ่านก่อนรอบแรก อ่านหน้าปก ทำความเข้าใจ แล้วก็พบว่า ว้าวววววววววววววววว น้ำใจหมีพู มันยิ่งใหญ่มากกว่าความเป็นหมีธรรมด๊าธรรมดาเสียอีก เล่มนี้ พลิกไปดูท้ายปกมีราคา 45 บาทครับ แต่ผมจะมาบอกเทคนิคการเล่า ครั้งแรกคาดว่าราคาน่าจะ สี่สิบห้าล้านบาทเลยนะ ลองเงี่ยหูฟังดูครับ

Advertisement

Advertisement

photo by พ่อบักอินดี้นิทานเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่เพื่อน ๆ ของเจ้าหมีพูกำลังขนของใส่รถเข็นเพื่อไปให้อีกคนหนึ่ง โดยของที่ขนมานั้น ต่างก็เป็นของที่ไม่ได้ใช้กันแล้วทั้งนั้นเลย ทุกคนมีเป้าหมายเดียวคือ เอาของ ๆ ตนไปมอบให้เพื่อน (วู้ ช่างมีใจเสียสละอะไรเช่นนี้ เหมือนหนังสือเล่มนี้เลยครับ มีคนเอามามอบให้ผมฟรี ๆ เลยนะ)

แต่เรื่องราวน่ารัก มันอยู่ตรงที่พอผ่านมาบ้านเจ้าหมีพู เพื่อน ๆ ถามว่า มีอะไรที่ไม่ใช้บ้างไหม เผื่อจะได้เอาไปบริจาคให้เพื่อน ๆ คนอื่นด้วยกัน ปรากฏว่า เจ้าหมีพูอ้ำอึ้ง เหมือนคนกักตุนหน้ากากอนามัยเลยครับ และแล้ว ความก็แตกจริง ๆ ด้วย หมีพู กักตุนไหน้ำอ้อย ยี่สิบใบ มีเพียง 10 ใบเท่านั้นที่มีน้ำผึ้งโดยให้เหตุผลว่า เอาไว้เก็บน้ำผึ้งเยอะ ๆ จะได้รู้ว่าอันไหนอร่อย สรุปว่าโลภ นั่นเอง มีเพื่อนคนหนึ่งมาบอกหมีพูอย่างอ่อนโยนว่า หากเราแบ่งไหที่ไม่ใช้แล้วให้เพื่อนคนอื่นนะ เขาอาจจะมีน้ำผึ้งมาใส่ไหและได้รับรู้รสชาติอันอร่อยเหมือนพูก็ได้ นี่ถ้ากักตุนไว้คนเดียว คนอื่นก็ไม่ได้กินสิ........

Advertisement

Advertisement

จนแล้วจนรอดท่านผู้ชม


หมีพู ยกไหที่ไม่ได้ใช้บริจาค และยังสังสรรค์กับรสชาติน้ำผึ้งที่มีอยู่กับเพื่อน ๆ อย่างมีความสุข รสชาติแห่งการแบ่งปันมันมีความสุขจริง ๆ นะครับ

ภาพโดย พ่อบักอินดี้ผมแบ่งปันเล่านิทานให้ลูกหนึ่งขวบกับสองเดือนฟัง เขาคงจะรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง แต่ว่า ท่าทางจดจ่อกับเสียงของผู้เป็นพ่ออยู่พอควร ผมต้องทำเสียงละคนให้แตกต่างกัน ซึ่งยากมาก ๆ ครับ แต่ก็ไม่ได้เขินอายเลย และที่แน่ ๆ มันสนุกสนาน คนฟังตั้งใจ คนอ่านก็มีความสุข นี่ไม่รวมการปีนขึ้นมานั่งตักใกล้ ๆ ด้วยแล้วยิ่งสุขใหญ่ในวันที่กักตัว

แล้วอะไรคือ เทคนิคล่ะ

ภาพโดยพ่อบักอินดี้ผมเคยมีประสบการณ์ไปฟังนักเล่านิทาน เขาบอกมาและไม่น่าเชื่อว่าจะต้องได้นำมาใช้จริง ๆ ครับ มันมีเทคนิคอยู่ครับ ซึ่ง สสส. หรือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เขาให้ข้อมูล ไว้เป็นวิชาการ  ผมย่นย่อให้ฟังในแบบที่ตัวเองเข้าใจ  3 ประการ ดังนี้

Advertisement

Advertisement

1. อ่านชื่อเรื่องช้า ๆ ชัด ๆ เพื่อให้ลูกน้อยของเรา จำหนังสือเล่มนั้นให้ได้ว่า เรื่องอะไร

เห็นไหมครับว่า เรื่องที่เราเปิดก็จะต้องให้ชัดว่า เน้นอะไร แอ่นแอนแอ๊น อารมณ์ประมาณนี้ครับเพื่อสร้างภาพจำ

2. ถือหนังสือให้ลูกสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ให้อยู่ในท่ามั่นคงยิ่งดีนะครับ ต้องระมัดระวังฉีกขาดของหนังสือด้วยเหมือนกันเนอะ เพราะคนรักหนังสือ เขาก็จะรักทั้งเรื่องราวและความเป็นสินทรัพย์ของหนังสือด้วย 45 บาท ก็จริงนะแต่มีคุณค่ามากกว่านั้น

ส่วนนี้น่าจะเป็นการจัดองค์ประกอบเพื่อไม่ให้เรื่องราวสะดุดครับ ไม่ว่าจะเป็นการต้องการอยากรู้อยากเห็นซึ่งก็อาจจะเกิดอารมณ์อยากจะอ่านเองเสียด้วยตรงนี้ ต้องจัดการอารมณ์ และดูด้วยว่า ผู้ฟังสนใจมากน้อยแค่ไหน

3. อ่านออกเสียงตามจังหวะ ตามตัวหนังสือนะครับ อันนี้ย้ำ ลูก ๆ จะมองปากเราและทำท่าออกเสียง เพราะฉะนั้น ห้ามนอกประเด็น นอกเรื่องแต่งเติมเกินจริงนะจ๊ะ

ข้อนี้ทำได้ยากนะสำหรับผู้ที่มีอารมณ์มาเต็ม จริง ๆ แล้วผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ให้เราเล่านิทาน คือ อ่านตามที่หนังสือ ที่ผู้แต่งแต่งมาให้อ่าน การใส่อารมณ์อาจดูตื่นเต้นละรู้สึกได้ แต่ทั้งนี้ บางทีการทำซ้ำ ๆ อ่านซ้ำให้เขาจับมุมปากและขยิบตามเราได้ ถือว่า สำเร็จแล้ว ส่วนเรื่องอารมณ์ค่อยเพิ่มรอบหลัง ที่แน่ ๆ เรารักเรื่องใด ลูกรักเรื่องใด ไม่มีทางหรอกครับว่าจะอ่านเรื่องนั้นแล้วเก็บเลย เพราะเขาจะต้องคว้ามาให้เราเล่าให้ฟังอีกแน่ ๆ

สุดท้ายขอแถมให้นะครับ ซึ่งผมคิดว่า โอเคเลยนะการเล่าในยุค 4.0 ต้อง ถ่ายคลิประหว่างที่เราเล่า แล้วมาเปิดฟังด้วยกันทั้งสองคนจะมีความสุขมาก ๆ แล้วก็อยากทำอีก และเราจะเห็นพัฒนาการของนักเล่าหน้าใหม่ กับนักฟังหน้าใหม่ได้เรียนรู้ไปด้วยกันครับ

และที่สำคัญที่สุด
การอ่านจะทำหน้าที่ให้กล้ามเนื้อทางปัญญาของเราขยายไปพร้อมกับสัมพันธภาพดี ๆ ระหว่างเราในครอบครัวด้วยครับ
มาเล่านิทานกันเถอะนะ

ภาพถ่า่ยโดย แม่บักอินดี้

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์