อื่นๆ

เรื่องจริงนำมาเล่าของนักผจญเพลิง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เรื่องจริงนำมาเล่าของนักผจญเพลิง

เรื่องจริงนำมาเล่าของนักผจญเพลิง

ไฟไหม้ ภาพโดยผู้เขียน ไฟไหม้, สิ่งไม่คาดคิด, อุบัติเหตุ, ความสูญเสียล้วนแล้วเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ต้องการให้เกิดขึ้นกับคนที่เรารักวันนี้ผมจะมาพาไปดูการฝึกและการเทสร่างกายให้มีความพร้อมความชำนาญรับมือกับเหตุไฟไหม้ของเหล่านักผจญเพลิงกัน

สาธิตดับไฟ ภาพโดยผู้เขียนนักผจญเพลิงหรือภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Fireman ซึ่งผู้เขียนก็ได้ผ่านจุดนี้มาจึงอยากที่รวบรวมประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้มาเล่าสู่กันฟังการฝึกซ้อมและการเทสร่างกายเตรียมความพร้อมมีหัวหน้าที่มาเป็นวิทยากรคือระดับอาจารย์มาฝึกสอนและให้ความรู้ด้านการดับเพลิงทั้งหมดด้วยกัน 2 วันวันแรกอาจารย์จะสอนเกี่ยวกับอุปกรณ์ดับเพลิงเบื้องต้นว่าใช้อย่างไรมีอะไรบ้างอาทิถังดับเพลิงเวลาจะใช้ต้องทำการดึงสลักออกก่อนแล้วปลดสายออกจากนั้นฉีดหรือกดที่หัวพร้อมกับสายหัวฉีดไปที่ต้นเพลิงหรือที่ ๆ ต้องการจะดับไฟรวมทั้งการลงภาคสนามในการดับไฟจริง อันนี้จะสอนแบบรวมกับคนอื่นที่ไม่ได้เป็นนักผจญเพลิงเพื่อให้ความรู้ด้วย

Advertisement

Advertisement

อุปกรณ์และทดสอบร่างกาย ภาพโดยผู้เขียนวันที่สองเป็นวันของนักผจญเพลิงเตรียมอุปกรณ์ที่จะต้องทดสอบร่างกายการใส่ชุดดับเพลิงที่รวดเร็วในชุดอ่อนที่เรียกว่าชุดผจญเพลิงมาตรฐานส่วนอีกชุดชื่อ FIREFYTER หรือนักดับเพลิงชอบเรียกว่าชุดหนักใช้สำหรับใส่เข้าผจญในเปลวเพลิงชุดนี้เป็นชุดกันไฟซึ่งได้มาตรฐานประกอบไปด้วยตัวชุด FIREFYTER ถังออกซิเจนน้ำหนักเบา (SCBA) หน้ากากเคลือบสารกันไฟที่ไว้สำหรับต่ออากาศจากถังออกซิเจน หมวก ฮูดกันไฟ ถุงมือกันไฟ รองเท้าบู๊ธ ใส่เข้าไปแล้วก็หนักหลายกิโลอยู่จึงเป็นที่มาของชุดหนัก ต่อจากนั้นเรามาดูด้านอุปกรณ์ดับเพลิงกันบ้างข้อต่อสามทางสำหรับปรับทางน้ำ สายยาว 2.5 นิ้ว และ 1.5 นิ้วสำหรับต่อจากตู้ดับเพลิง หรือรถดับเพลิง หัวปืนปรับแรงดันน้ำเพื่อให้ฉีดน้ำได้ตรงจุดและปรับน้ำเป็นม่านน้ำเพื่อที่ไฟจะได้ไม่เข้ามาถึงตัวผู้ดับไฟในกรณีที่มีเปลวไฟที่มีความรุนแรง พอเตรียมอุปกรณ์เสร็จก็วิ่งสปีดระยะทางถึง 400 เมตร ถ้าใครไม่เคยลองดูครับว่าสปีด 400 เมตรมันเหนื่อยแค่ไหนแล้วต่อด้วยใส่ชุดต่อสายดับเพลิงฉีดน้ำทันทีไม่มีการให้นั่งพัก

Advertisement

Advertisement

Fireman ภาพโดยผู้เขียน

พอซ้อมเสร็จคราวนี้นักผจญเพลิงหมดแรงกันเป็นแถวเนื่องจากความหนักของอุปกรณ์รวมถึงการซ้อมที่หนักหน่วงแต่ก็คุ้มค่าเนื่องด้วยเป็นการได้เตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา.

ภาพประกอบปก / Pic 1/ Pic 2/ Pic 3/ Pic 4 โดยผู้เขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์