อื่นๆ

เปรียบเทียบค่าโดยสารรถไฟฟ้า ไทย vs ต่างประเทศ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เปรียบเทียบค่าโดยสารรถไฟฟ้า ไทย vs ต่างประเทศ

การเดินทางด้วยรถไฟฟ้า เป็นหนึ่งในตัวเลือกของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทยที่มีคนใช้งานในแต่ละเป็นจำนวนมาก เพราะ เป็นการเดินทางที่สะดวก ประหยัดเวลา ผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง ที่สำคัญไม่ต้องเจอกับปัญหารถติด ซึ่งในปัจจุบันมีมีขบวนรถวิ่งในกรุงเทพและปริมณฑล แต่ปัญหาของการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า คือ อัตราค่าโดยสารที่แสนแพง ไม่สอดคล้องกับค่าจ้างขั้นต่ำ ทำให้หลายคนบอกว่าค่ารถไฟฟ้าประเทศไทยแพงที่สุดในโลก

รถไฟฟ้าภาพจาก nuttanart

เราดูราคาค่าโดยสารของขนส่งมวลชนอื่นๆ กันครับ

-รถเมล์ เริ่มต้นที่ 8 บาท สูงสุด 25 บาท

-รถไฟ เริ่มต้นที่ 2 บาท

-เรือด่วนเจ้าพระยา เริ่มต้นที่ 13 บาท สูงสุด 32 บาท

-เรือคลองแสนแสบ เริ่มต้นที่ 9 บาท สูงสุด 19 บาท

(ข้อมูลอัปเดตเมื่อ 25 มีนาคม 2563)

รถเมล์ภาพจาก igorovsyannykov

ในส่วนของรถไฟฟ้า เริ่มต้นที่ 19 บาท สูงสุด 59 บาท ในขณะที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในกรุงเทพ อยู่ที่ 37.5บาท/ชั่วโมง เท่ากับ 93.75 % ของค่าแรงขั้นต่ำต่อชั่วโมง ถ้าในหนึ่งวันเดินด้วยรถไฟฟ้า ไป-กลับ โดยคิดค่าโดยสารสูงสุด เป็นเงิน 108 บาท ค่าแรงขั้นต่ำ 325 บาท เท่ากับว่าค่าโดยสารในแต่ละวันที่ต้องจ่าย ประมาณ 30% ของรายได้ ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก

Advertisement

Advertisement

เราดูค่าโดยสารรถไฟฟ้าของต่างประเทศกันบ้างครับ

-สิงคโปร์ ราคาค่าโดยสารอยู่ที่ 23-48 บาท

-ไต้หวัน ราคาค่าโดยสารอยู่ที่ 20 - 65 บาท โดยค่าแรงขั้นต่ำ 140 บาท/ชั่วโมง เท่ากับ 30% ของค่าแรงขั้นต่ำต่อชั่วโมง

-ญี่ปุ่น ราคาค่าโดยสารอยู่ที่ 50 - 92 บาท โดยค่าแรงขั้นต่ำ 280 บาท/ชั่วโมง เท่ากับ 25% ของค่าแรงขั้นต่ำต่อชั่วโมง

-จีน ราคาค่าโดยสารอยู่ที่ 15 – 45 บาท โดยค่าแรงขั้นต่ำ 85 บาท/ชั่วโมง เท่ากับ 35% ของค่าแรงขั้นต่ำต่อชั่วโมง

-อังกฤษ ราคาค่าโดยสารอยู่ที่ 119 – 253 บาท โดยค่าแรงขั้นต่ำ 331 บาท/ชั่วโมง

-ฝรั่งเศส ค่าแรงขั้นต่ำ 370 บาท /ชั่วโมง ใช้ค่าโดยสารแบบเหมาจ่าย 71 บาท

(ข้อมูลอัปเดตเมื่อ 25 มีนาคม 2563)

รถไฟฟ้า การเดินทางภาพจาก victorsnk

สาเหตุของค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่แสนแพง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ รัฐให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งการลงทุนในระบบขนส่งสาธารณะจะมีต้นทุนสูงและใช้เวลาคืนทุนนาน ทำให้มีความจำเป็นต้องเก็บค่าโดยสารให้สอดคล้องกับต้นทุนและสามารถคืนทุนได้ ซึ่งเราต้องดูกันต่อไปว่าในอนาคตเมื่อเอกชนหมดสัญญาสัมปทานแล้ว อัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าจะสอดคล้องกับค่าครองชีพหรือไม่

Advertisement

Advertisement

ในส่วนของผู้ที่ต้องเดินทางด้วยด้วยรถไฟฟ้าเป็นประจำ การใช้แบบรายเที่ยว หรือ บัตรแรบบิท Rabbit จะคุ้มกว่า การใช้บัตรแบบเที่ยวเดียว ซึ่งข้อดี ของบัตร rabbit ไม่ต้องต่อแถวเพื่อแลกเหรียญ ใช้แทนเงินสด ชำระสินค้าและบริการทางร้านค้าต่างๆได้ ไม่เสียค่าธรรมเนียมรายปี  และยังสามารถใช้ร่วมกับระบบขนส่งมวลอื่นที่มีรองรับได้  สามารถสะสมแต้มเพื่อนำไปแลกเป็นดีลคูปองลดราคาต่างๆ รวมไปถึงสามารถแลกกลับมาเป็นเงินภายในบัตรได้อีกเช่นกัน ข้อเสีย ถ้าบัตรหมดอายุ แล้วยอดเงินในบัตรยังใช้ไม่หมดยังคงใช้เที่ยวโดยสารเดินทางได้ แต่ไม่สามารถเติมเงินได้ บัตรมีอายุ 7 ปีนับจากวันที่ออกบัตร

บัตรแรบบิทภาพจาก rabbit

ภาพหน้าปก Freepik

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์