ไลฟ์แฮ็ก

วิธีการชมอย่างมีศิลป์ (Art of Praise)

974
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
วิธีการชมอย่างมีศิลป์ (Art of Praise)

วิธีการชมอย่างมีศิลป์ (Art of Praise)

พฤติกรรมมนุษย์เป็นสิ่งที่คาดเดาได้ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม และต้องการอยู่ร่วมกัน จึงต้องเข้าใจและยอมรับพฤติกรรมที่แตกต่างกัน สิ่งสำคัญที่มนุษย์ต้องการคือการยอมรับจากผู้อื่น และมีพฤติกรรมส่วนใหญ่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้อื่น แม้บางครั้งจะไม่รู้ตัวก็ตาม

หากต้องการปรับพฤติกรรมของผู้อื่นอย่างได้ผล ต้องใส่ใจและเพ่งความสนใจไปที่พฤติกรรมที่ดี และมองข้ามพฤติกรรมที่แย่ นั่นหมายถึงการลงโทษหรือการตำหนิไม่ช่วยให้คนอยากเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น อยากให้ลูกน้องที่มาทำงานสายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การด่า หรือกล่าวโทษ ไม่ได้ทำให้ลูกน้องมาทำงานเร็วขึ้น หากคุณพูดว่า

คุณทำงานมาดีโดยตลอด แต่พักหลังคุณมาสาย มีอะไรให้ฉันช่วยคุณได้บ้างไหม

การกล่าวชมและใช้คำถามปลายเปิดจะช่วยให้หาทางออกร่วมกันได้ การชมจะทำให้เกิดพฤติกรรมที่ดีซ้ำ และการชมเป็นการปรับพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ถูกชมรู้สึกดี และทำพฤติกรรมดีๆ นั้นซ้ำ ทำให้รู้สึกได้รับการยอมรับ ดังนั้นการชมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

Advertisement

Advertisement

วิธีการชมอย่างมีศิลป์ มีดังต่อไปนี้

1.ชมอย่างเฉพาะเจาะจง

พูดภาพโดย pixabay.com

การชมอย่างเฉพาะเจาะจงคือการชมที่โฟกัสไปที่พฤติกรรมอย่างเฉพาะเจาะจง ไม่พูดแบบกว้าง เช่น เก่งจัง เยี่ยมมาก สวยมาก การชมแบบนี้จะไม่ได้ผลดีนัก เพราะผู้ถูกชมไม่ทราบว่าชมส่วนไหน เมื่อครั้งถัดไปต้องการถูกให้ชมอีกครั้ง ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร จึงไม่เกิดการกระทำนั้นขึ้นมาได้อีกครั้ง ส่วนการชมอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น คุณทำรายงานวันนี้ดีมาก , ต่างหูคุณสวยมาก , ผมชอบรอยยิ้มของคุณ เป็นต้น เมื่อชมอย่างเฉพาะเจาะจงในพฤติกรรมที่ทำ ผู้ถูกชมจะรู้ว่าควรทำอะไรซ้ำถ้าต้องการถูกชมในครั้งถัดไป ผู้ถูกชมมีแนวโน้มทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ เพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ หรือรู้สึกดี

2.ชมในสิ่งที่ผู้อื่นไม่มั่นใจ

สนทนาภาพโดย pixabay.com

การชมในสิ่งที่ผู้อื่นก็รู้อยู่แล้วว่าทำได้ดี อาจทำให้ผู้ถูกชมไม่ชอบ รู้สึกเบื่อหน่าย หรือรู้สึกถูกประจบสอพลอ เช่น คนที่มั่นใจว่าสวยมาก ๆ มักไม่ค่อยชอบให้คนอื่นชมว่า สวย เพราะมีคนชมบ่อยแล้ว และไม่ได้รู้สึกดีใจหรือตื่นเต้น เพราะชินแล้ว รู้ตัวและมั่นใจในเรื่องนั้นแล้ว

Advertisement

Advertisement

ควรชมในสิ่งที่ผู้อื่นไม่มั่นใจ คนส่วนใหญ่จะรู้สึกดี เมื่อถูกชมในเรื่องที่ตัวเองไม่มั่นใจและคนส่วนใหญ่มักไม่มั่นใจในตนเองเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่แล้ว การชมในสิ่งที่ผู้อื่นไม่มั่นใจ เป็นการช่วยสร้างความมั่นใจ และทำให้ก้าวข้ามความกลัว ช่วยให้ผู้ถูกชมประสบความสำเร็จในเรื่องนั้น ๆ ได้ เช่น จากสถิติที่ผ่านมาคุณทำได้ดีแล้ว ถ้าพยายามอีกนิด ผมเชื่อว่าคุณทำได้แน่นอน คุณเชี่ยวชาญเรื่องนี้อยู่แล้ว คุณทำได้ เป็นต้น

3.ใช้ประโยคคำถามแทนประโยคบอกเล่า

พูดคุยภาพโดย pixabay.com

การชมเป็นประโยคบอกเล่า เป็นการชื่นชมแบบตรงไปตรงมา บางครั้งอาจทำให้ผู้ที่ถูกชมรู้สึกด้อยกว่า หากลองเปลี่ยนการชมเป็นประโยคคำถาม อาจทำให้ผู้ที่ถูกชมรู้สึกดี ใช้วิธีการนี้กับผู้ที่อาวุโสกว่า ตำแหน่งสูงกว่า หัวหน้าหรือเป็นคนที่ไม่สนิท คนชมจะรู้สึกไม่ถูกรุกล้ำพื้นที่ส่วนตัว หรืออึดอัดเมื่อถูกชม เช่น คุณแต่งหน้าด้วยเครื่องสำอางอะไรคะสวยจัง คุณวาดภาพนี้ขึ้นมาได้ยังไงดูมีจินตนาการและงดงามมาก คุณช่วยบอกหน่อยได้มั้ยทำอย่างไรจึงประสบความสำเร็จแบบคุณมันน่าทึ่งมาก เป็นต้น

Advertisement

Advertisement

4.ใช้ภาษากายในการชื่นชม

พูดภาพโดย pixabay.com

นอกจากการใช้คำพูด ภาษากายก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องสอดคล้องกับคำพูดที่พูดออกมา ถ้าคุณรู้สึกดี สีหน้าและแววตาของคุณต้องบ่งบอกอย่างที่พูดออกไปด้วย การชมเด็กเล็กควรสัมผัสร่างกาย เช่น กอด หอม ลูบหัว เป็นต้น แต่การชมลูกวัยรุ่นไม่ควรแตะต้องเนื้อตัว เพราะวัยรุ่นต้องการให้พ่อแม่เห็นเขาเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่ง ชมเขาในฐานะผู้ใหญ่ เพราะหากใช้วิธีการชมแบบเดียวกับที่ชมเด็ก วัยรุ่นจะรู้สึกถึงการไม่ให้เกียรติ สิ่งนี้พ่อแม่ควรระวัง ในการชมลูกวัยรุ่น

5.ชมโดยไม่หวังประโยชน์อื่นแอบแฝง

พูดภาพโดย pixabay.com

ชมอย่างจริงใจ ไม่มีสิ่งใดเคลือบแฝง ชมเพื่อต้องการให้ผู้ถูกชมรู้สึกดี และมีพฤติกรรมที่ดีซ้ำ ซึ่งส่งผลดีต่อตัวของเขาเอง ไม่ควรมีเจตนาอื่นแอบแฝง เพราะผู้ถูกชมจะรู้สึกไม่ไว้วางใจ ระแวง และทำลายความสัมพันธ์ที่ดีได้

การชมอย่างมีศิลป์ นอกเหนือจาก 5 วิธีข้างต้นแล้ว การชมต้องรู้จักจังหวะในการชม ควรชมในเวลาที่เหมาะสม การใช้สายตา การมอง ตำแหน่งที่ควรมอง การสัมผัส รู้จักวัยหรืออายุของผู้ที่เราชม สถานะ ตำแหน่ง ระยะห่างทางความสัมพันธ์ และความไว้วางใจ เพราะหากชมไม่รู้กาละเทศะ ไม่ถูกคน ไม่ถูกจังหวะ และไม่มีศิลป์ในการชม อาจทำให้ผู้ถูกชมรู้สึกอึดอัด เบื่อหน่ายคำชม และไม่เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พฤติกรรมดีไม่เกิดซ้ำ หรือเลวร้ายที่สุด อาจคิดว่าผู้พูดประจบสอพลอเพื่อหวังผลบางอย่าง แทนที่จะเกิดผลดีกลับเป็นผลเสีย

การชมอย่างมีศิลป์จะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างผู้พูดและผู้ถูกชม และทำให้ผู้ถูกชมอยากทำสิ่งนั่นซ้ำอีกเพราะรู้สึกได้รับการยอมรับ ชมด้วยใจจริงจะส่งผลดีอย่างแน่นอน


ภาพปกโดย pixabay.com

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์