ไลฟ์แฮ็ก

วงจรป้องกันการลัดวงจร (SHORT CIRCUIT PROTECTION)

668
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
วงจรป้องกันการลัดวงจร (SHORT CIRCUIT PROTECTION)

เมื่อป้อนไฟเข้าวงจรใด ๆ ล้วนอาจมีความเสี่ยงทำให้เกิดการลัดวงจรเกิดขึ้น เมื่อเราใช้เป็นระยะเวลานาน , อุณหภูมิ , ความชื้น ก็จะทำให้อุปกรณ์บางอย่างในวงจรเสื่อม หรือ เสีย ได้เช่นกัน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการลัดวงจรได้

ในบทความนี้จะสาธิตการป้องกันการลัดของวงจรโดยใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่ตัว โดยต้นทุนที่ใช้การประกอบเป็นราคาที่จับต้องได้และเอาไว้เป็นวงจรสาธิตให้กับเพื่อนๆ พี่ๆ น้อง ๆ หรือ ผู้ที่สนใจในด้านช่าง อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ก็ได้เช่นกัน ซึ่งโดยตัวอย่างที่แสดงนี้จะสาธิตการใช้แรงดันไฟฟ้า 12VDC กับ Motor ขนาด 12 VDC โดยมีวงจรป้องกันคั่นกลางระหว่าง แหล่งจ่ายไฟ กับ Motor

วงจรทดลอง 12VDCภาพโดยนักเขียน

1.ขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์

1.1 Relay 12 VDC จำนวน 1 ตัว

Relay 12 VDCภาพโดยนักเขียน

1.2 LED สีแดง และ สีเขียว จำนวนอย่างละ 1 ดวง (สังเกตุขั้วไฟ LED ขายาวเป็นขั้วบวก + , ขาสั้นเป็นขั้วลบ - )

Advertisement

Advertisement

LED แดง+เขียวภาพโดยนักเขียน

1.3 Resistor หรือ ตัวต้านทาน 1 K จำนวน 1 ตัว (ไม่มีขั้วสามารถต่อขั้วไหนก็ได้)

Resistor ค่า 1 K จำนวน 1 ตัวภาพโดยนักเขียน

1.4 Switch จำนวน 1 ตัว

Switch จำนวน 1 ตัวภาพโดยนักเขียน

1.5 แบตเตอร์รี่ 12 VDC พร้อม สายไฟเดินวงจร (ความยาวตามเหมาะสม)

แบตเอร์รี่ 12 VDCภาพโดยนักเขียน

1.6 Motor หรือ มอเตอร์ขนาด 12 VDC

มอเตอร์ภาพโดยนักเขียน

2. รูปแบบการต่อวงจรป้องกันการลัดวงจร (SHORT CIRCUIT PROTECTION)

การประกอบวงจรภาพโดยนักเขียน

3. ขั้นตอนการทดลอง

3.1 ป้อนไฟเข้าวงจร (ป้อนไฟครั้งแรกติดสีแดง เนื่องจากสถานะของ Relay อยู่ในสถานะ NC คือ Normal Close เรียกว่าปกติปิด จึงทำให้ครบวงจรไฟโชว์สีแดง มอเตอร์ไม่หมุน)

ป้อนไปครั้งแรกติดสีแดงภาพโดยนักเขียน

3.2 กด Switch 1 ครั้ง มอเตอร์หมุน ไฟสีเขียวติด

วงจรทำงาน+เขียวภาพโดยนักเขียน

3.3 เมื่อทำการจำลองการช๊อตโดยนำสายสีแดงกับสายสีดำแตะกันจะขึ้นไฟสีแดง (ปลอกสายไฟเพื่อจำลองการช๊อตสังเกตุใกล้ๆ มอเตอร์)

Advertisement

Advertisement

วงจรจำลองการช๊อตจะขึ้นไปสีแดง (ถ้าช๊อต)ภาพโดยนักเขียน

3.4 ถ้ากด Switch 1 ครั้ง หลังการช๊อต หลอดไฟก็จะขึ้นสีเขียว มอเตอร์หมุนตามปกติ ตามหัวข้อ 3.2

3.5 ถ้าปลดแหล่งจ่ายไฟแล้วป้อนไฟใหม่ ตามหัวข้อ 3.1

สุดท้ายนี้ เมื่อได้เห็นการทดลองนี้แล้ว วงจรป้องกันการลัดวงจร ก็มีคุณสมบัติเพื่อป้องกันไม่ให้แหล่งจ่ายไฟ มีปัญหาในที่นี้ใช้แบตเตอร์รี่ 12 VDC ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้แบตเตอร์นี่มีปัญหาได้ แต่ถ้าเปลี่ยนมาเป็น Switching 12 DC ก็จะป้องกัน ไม่ให้วงจร ที่อยู่ภายใน Switching เสียหายได้เช่นกัน

หมายเหตุ ถ้ามอเตอร์มีปัญหา จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ

1. ถ้า motor เกิดการลัดวงจร เช่น ขามอเตอร์แตะกันเลยหรือเมื่อเทียบเท่ากับ 0 โอห์ม หมายถึง วงจรนี้ก็ตัดการทำงาน เช่นกัน

2. ถ้า motor หยุดหมุนแต่เรายังป้อนไฟอยู่จับ motor แล้วร้อน แสดงว่ามอเตอร์ภายในมีปัญหา แบบนี้ วงจรป้องกันการลัดวงจรไม่ทำงานนะครับเนื่องจาก มีค่าความต้านทานไม่เท่ากับ 0 โอห์ม

Advertisement

Advertisement

สรุป วงจรนี้จะตัดการทำงานได้ ต้องมีค่าความต้านทานเท่ากับ 0 โอห์มนั้นเอง (วงจรนี้สามารถทำเป็นโครงงานก็ได้นะครับ)

**สามารถดู VDO ได้นะครับจะได้รู้ว่าวงจรทำงานได้จริงๆ และจะได้เห็นภาพในการทำงานของวงจรนี้เข้าใจมากขึ้นโดย copy  Link จากด้านล่างได้เลยนะครับ**

https://youtu.be/c4nBnzUhl_E

ถ้าข้อมูลผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะครับ

ขอบคุณสำหรับการรับชมนะครับ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์