ไลฟ์แฮ็ก

ทำปลั๊กไฟใช้งานเอง

118
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ทำปลั๊กไฟใช้งานเอง

DIY ทำปลั๊กให้ยาวขึ้น

การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งมีสายไฟจากอุปกรณ์สั้น ๆ แล้วไปเสียบที่ปลั๊กผนัง ซึ่งลำบากมากเวลาใช้งานแต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่ผู้ผลิตอาจจะออกแบบแบบนั้น ฉะนั้นเราจะไม่กล่าวถึงเราจะหาวิธีแก้ไขกันดีกว่าว่าจะทำไงดีเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานโดยการแก้ไขเบื้องต้นคือหาอุปกรณ์ใกล้ตัวเราโดยการอุปกรณ์เสริม คือ โต๊ะหรือเก้าอี้มาวางอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อรองรับไม่ให้สายไฟตึงจนเกินไป สาเหตุที่ปลั๊กผนังถูกติดตั้งไว้ที่สูงก็เพราะหนีน้ำท่วมเพื่อไม่ให้เกิดไฟช๊อต และ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กมาเล่นปลั๊กไฟไม่งั้นจะทำให้อันตรายถึงชีวิตได้ อีกทั้งเวลานำอุปกรณ์ปลั๊กพ่วงมาต่อต้องคำนึงถึงเรื่องขนาดของสายไฟด้วยว่ามีสายไฟขนาดใหญ่พอหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟไหม้ เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาใช้งานอาจจะมีการกินกระแสมากก็ได้ สมมุติว่าถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้ามีการกินกระแสไฟฟ้ามากแล้วไปต่อปลั๊กพ่วงสายไฟที่มีขนาดสายไฟที่มีเล็กมาก ๆ จะทำให้ปลั๊กพ่วงสายไฟนั้นเกิดสายไฟร้อนและอาจทำให้สายไฟไหม้ได้จนเป็นเหตุให้เพลิงไหม้ได้

Advertisement

Advertisement

- แสดงปลั๊กไฟที่นำมาประกอบ ดังรูปแสดงอุปกรณ์ที่นำมาประกอบ

ในบทความนี้จะมานำเสนอ คือการทำปลั๊กให้ยาวขึ้นโดยเพื่อใช้งานได้อย่างสะดวก อีกทั้งเราหาอุปกรณ์ที่เหลือใช้จากในบ้านเช่น สายไฟ ปลั๊กไฟตัวผู้ ปลั๊กไปตัวเมีย ถ้าไม่มีก็หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าใกล้บ้านก็ได้ ส่วนราคาปลั๊กไฟ 1 คู่ไม่น่าจะเกิน 20 บาทนะครับ และสายไฟเราก็สามารถ นำสายอ่อนหรือ สายไฟแบบแข็ง ก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกอะไร แต่ในที่นี้ผมใช้สายไฟแข็งเนื่องจากมีสายไฟที่เหลือใช้จากงานอื่นอยู่แล้วมาทำ อีกทั้งสายไฟแข็งก็ยังทนทานกว่าสายอ่อนก็เพราะ เวลาลากสายไฟไป ๆ มา ๆ จะทำให้ฉนวนของสายไฟเกิดการฉีกขาดได้แต่ชำรุดน้อยกว่าสายไฟอ่อน แต่ก็มีข้อเสียของสายแบบแข็งคือ หนัก เก็บยาก เป็นต้น

อุปกรณ์ที่นำมาประกอบดังนี้

1. ปลั๊กไฟตัวผู้ 1 ตัว ปลั๊กไฟตัวเมีย 1 ตัว

ปลั๊กตัวผู้-ตัวเมีย2. ขันน๊อตปลั๊กทั้ง 2 ออก

Advertisement

Advertisement

ขันน๊อตปลั๊กไฟทั้ง 2 ออก3. สายไฟความยาวตามความเหมาะสม

สายไฟยาวความเหมาะสม4. ปลอกสายไฟออกทั้ง 2 ด้าน

ปอกสายไฟทั้ง 2 ด้าน5. ประกอบสายเข้าไปทั้ง 2 ด้าน

ประกอบสายเข้าไปทั้ง 2 ด้าน6.ทดสอบการช๊อต

6. ทดสอบการช๊อตแบบที่ 1

ทดสอบการช๊อตที่ 16.2 ทดสอบการช๊อตแบบที่ 2

ทดสอบการช๊อตแบบที่ 26.3 ทดสอบการช๊อตแบบที่ 3

ทดสอบการช๊อตแบบ 36.4 ทดสอบการช๊อตแบบที่ 4ทดสอบการช๊อต 4

7. ทดสอบขั้วสายไฟว่าที่ประกอบใช้งานได้หรือไม่

7.1 ทดสอบการใช้งานแบบที่ 1

ทดสอบสายไฟใช้งาน 17.2 ทดสอบการใช้งานแบบที่ 2

ทดสอบสายไฟใช้งาน 28. ทดสอบใช้งานจริงทดลองใช้งานจริง

สุดท้ายนีั

การทำปลั๊กไฟใช้งานเองเราสามารถกำหนดให้ความยาวของสายไฟจะให้สั้นหรือยาวเราสามารถกำหนดได้เอง แต่ที่สำคัญต้องดูที่ขนาดของสายไฟด้วยว่าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะมาต่อกับปลั๊กไฟที่เราทำใช้งานขึ้นเองนั้นจะต้องสามารถทนกระแสไฟฟ้าได้ด้วย อีกทั้งเราก็มีความภูมิใจด้วยว่าเราทำเอง

ขอบคุณสำหรับการรับชม ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะครับ

**ภาพทั้งหมดจากนักเขียน**

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์