อื่นๆ

คำพ่อหลวงสอนครู

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
คำพ่อหลวงสอนครู

https://static.trueplookpanya.com/cmsblog/2818/58818/banner_file.jpgที่มา : trueplookpanya

มีโรงเรียนไหนบ้างไม่แข่งขัน?

นี่คือคำถามที่ชวนให้คิด และสงสัยเป็นอย่างยิ่ง

กล้าเดินมาหยุดที่ภาพหนึ่งภาพ จากภาพจำนวนร้อยภาพในนิทรรศการการศึกษา เขายืนพินิจพิจารณาภาพโปสเตอร์ดังกล่าว อยู่นานสองนาน นานพอที่ครูคนอื่นจะเดินหายไปหมด เหลือเพียงกล้ากับความคิดของเขาเท่านั้น ถ้าจะว่าไปแล้วภาพดังกล่าวก็คล้ายกับภาพธรรมดาทั่วไป แต่สิ่งที่ทำให้ภาพนี้พิเศษกว่าภาพไหน ๆ ก็เห็นจะเป็น รูปพ่อหลวง และ คำพูดของพระองค์

สมัยเด็ก กล้ามีความทรงจำเกี่ยวกับพ่อหลวงอยู่มากมาย แต่สิ่งหนึ่งกล้าจำได้แม่น ก็เห็นจะเป็นสิ่งที่ครูเคยเล่าสมัยอยู่ ป.1 ความเป็นป.1 ทำให้กล้าสงสัยกับทุกสิ่งทุกอย่าง โดยปราศจากเงื่อนไขที่จะโต้แย้งหักล้าง แต่สิ่งที่กล้าเลือกทำคือ การเปิดใจ และเรียนรู้แม้ไม่เข้าใจ

"เด็ก ๆ รู้ไหมว่า"

Advertisement

Advertisement

"เวลาในหลวงทรงออกไปเยี่ยมราษฎร"

"ท่านทรงพกติดตัวไปบ้าง"

เด็ก ๆ ต่างพากันตอบอย่างเจื้อยแจ่ว แต่ก็หามีคำตอบใดเข้าใกล้ความธรรมดาที่ถูกต้อง แม้สักคำตอบเดียวก็ไม่มี ความธรรมดาที่ใครต่อใครก็คาดไม่ถึงว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีพร้อมทุกอย่าง กลับเลือกและพอใจใน 'ความธรรมดา' และ 'ความพอเพียง'

"ตั้งใจฟังนะเด็ก ๆ"

"อย่างแรกที่ในหลวงท่านพกติดตัวเสมอคือดินสอ"

"และปี ๆ หนึ่งท่านจะใช้ดินสอเพียงแค่สิบสองแท่งเท่านั้น"

"โดยใช้เดือนละแท่ง...."

"อย่างที่สองคือ แผนที่"

"พระองค์ทรงมีแผนที่ขนาดใหญ่ที่ทำขึ้นมาเอง"

"ใช้เพื่อบอกทางบอกทิศในการที่จะพาตัวเอง"

"ไปบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ชาวประชา"

"และอย่างที่สามคือ กล้องถ่ายรูป"

"เพราะพระองค์ทรงรักการถ่ายภาพ"

"และฝีมือการถ่ายภาพของพระองค์"

"ก็ถือว่าเป็นพระปรีชาสามารถไม่แพ้ด้านอื่น"

Advertisement

Advertisement

https://pixabay.com/photos/hut-lake-water-water-reflection-3374201/

ที่มา : pixabay

จริง ๆ ยังมีอย่างอื่นอีกเกี่ยวกับความพอเพียงของในหลวง เพียงแต่กล้าจำไม่ได้แล้ว ระหว่างที่นั่งรถเพื่อกลับบ้านพักครู กล้ายังหยิบรูปภาพดังกล่าวขึ้นมาดูซ้ำอีก กล้าไม่สงสัยในคำพูดที่ว่า ให้ครูรักเด็ก และเด็กรักครู เพราะความรักยิ่งให้ยิ่งได้รับ ถ้าครูให้ก่อน ศิษย์ก็ให้กลับมาไม่ต่างกัน แต่ประโยคที่ว่า ให้เด็กมีน้ำใจต่อเพื่อน ไม่ให้แข่งขันกัน แต่ให้แข่งขันกับตัวเอง กล้าไม่แน่ใจนัก เพราะในยุคสมัยนี้ สังคมรอบตัว เริ่มต้นจากที่บ้าน ต่างพยายามยัดให้เด็กเขาลู่ของการแข่งขันตั้งแต่อนุบาล พยายามเปรียบเทียบลูกบ้านฉันบ้านเธอ ตั้งแต่เด็กยังไม่รู้ความ แล้วแบบนี้จะหาน้ำใสใจจริงจากที่ไหน

กล้าก็พยายามยิ้มรับว่า ข้อดีของการแข่งขันก็ยังมีอยู่มาก ถ้ามันไม่ได้เป็นการกดคนอื่นเพื่อให้ตนสูงขึ้น ถ้าการแข่งขันเป็นการแข่งขันที่แข่งกับตัวเอง เพื่อให้ตัวเองเป็นคนที่ดีและเก่งขึ้นไปแบบของตนเอง ยังมีอีกหลายอย่างหลายสิ่งในคำพูด ที่พระองค์ทรงสอนและให้นำไปปฏิบัติ อยู่เหนือขอบเขตความเข้าใจของกล้าในเวลานี้ กล้าเพียงเก็บความสงสัยใส่ลิ้นชักเอาไว้ แล้วเอนหลังหลับตาลงเพื่อพักสายตาและพักหัวใจ ความเหนื่อยล้าทำให้กล้าหลับฝัน กล้ามีความฝันเพ้อ ๆ ฟุ้ง ๆ ว่า ถ้าเขามีโอกาสสร้างโรงเรียนของตนเอง เขาจะทำโรงเรียนให้ปลอดการแข่งขัน เขาจะทำโรงเรียนให้เป็นโรงเรียน เขาจะพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่ดีทั้งตัวและหัวใจ เขาจะทำให้เด็กรักตัวเองและรักผู้อื่นไปพร้อม ๆ กัน

Advertisement

Advertisement

"ตื่น ๆ ๆ ถึงแล้ว" เสียงคนขับตะโกนบอกผู้โดยสารทุกคนให้ลงจากรถ กล้าจึงตื่นจากฝัน และกลับมาอยู่ในโลกของความจริง ฝันหวาน ฝันเพ้อ ฝันกลางวันของกล้าจึงกลายเป็นแค่ฝันต่อไป ภายใต้ความฝันนานาประการของกล้า ไม่มีใครรู้เลยว่า มันจะไปถึงจุดสิ้นสุดตรงไหน มันอาจแค่ความฝัน หรือสักวันอาจกลายเป็นความจริงมีเพียงกล้าเท่านั้นที่รู้ดี

https://pixabay.com/photos/hands-words-meaning-fingers-423794/

ที่มา : pixabay

เคยรู้สึกเหมือนกันไหมว่า บางครั้งการให้คะแนน การวัด การประเมินผล จากการสอบทุกประเภททุกรูปแบบ เราทำให้เด็กต้องเป็นนักสู้เพื่อเอาชนะผู้อื่น เราทำให้เด็กต้องสู้ ทั้ง ๆ ที่ทางไปเส้นชัยมีมากกว่าหนึ่งทาง เราทำให้เด็กบางคนรู้สึกว่าตัวเองไม่ฉลาด ทั้ง ๆ ที่ความฉลาดมีหลายด้านหลายประเภท เราทำให้เด็กเห็นแก่ตัว ทั้ง ๆ ที่ควรมีน้ำใจ เราทำให้เด็กสูญเสียความเป็นเด็กก่อนวัยอันควร

ถ้าครูรักเด็ก และเด็กรักครูเราทั้งคู่ก็คงน่าจะพอมีทาง ทำให้สิ่งต่าง ๆ ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ได้

เริ่มต้นเล็ก ๆ เริ่มต้นได้เลย

เริ่มต้นเล็ก ๆ เริ่มต้นได้เร็ว

เริ่มต้นวันนี้ พรุ่งนี้ดีกว่าเดิม

เริ่มต้นเปลี่ยนตัวเองก่อนง่ายที่สุด

ภาพปก : pixabay

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์