อื่นๆ

กระปุกหมูออมสินโบราณ

513
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
กระปุกหมูออมสินโบราณ

หมูกระดาษออมสิน “กระปุกออมสินทามือ ตัวแทนของการประหยัดอดออม เสริมความมั่งคั่ง” กระปุกรูปหมูสีแดง ซึ่งหมูกระดาษนี้ มีอายุเกินกว่าร้อยปี ประวัติแรกเริ่มของหมูกระดาษเกิดขึ้นจากการทำเป็นที่ระลึกถึงหมูที่เคยมีอยู่มากในวัดประยูรฯ โดยมีคุณพ่อของป้าน้อย ผู้ที่เติบโตมาในชุมชนวัดประยูรฯ ได้นำความสามารถทางด้านศิลปะบวกกับความสร้างสรรค์มาประดิษฐ์หมูกระดาษตัวแรกขึ้นมา เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของหมูวัดประยูรฯ ที่เคยอยู่ในพื้นที่นี้
ในวันหนึ่งคนจีนได้สะดุดตาเจ้าหมูกระดาษสีแดง เนื่องจากหมูถือเป็นของนำโชคของชาวจีน บวกกับสีแดงที่เป็นสัญลักษณ์ของธาตุไฟ ซึ่งหมายถึงความเจริญรุ่งโรจน์ หลังจากนั้นหมูกระดาษสีแดงก็กลายเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก

ป้าน้อยหมูกระดาษ

ป้าน้อย มีชื่อว่า ธนธรณ์ ธงน้อย ทายาทรุ่นที่ 2 ของบ้านหมูกระดาษ ได้ถ่ายทอดการทำหมูกระดาษด้วยวิธีการเรียนจากการลงมือทำและฝึกการเป็นคนช่างสังเกต โดยในยุคแรกหมูกระดาษจะมีลักษณะคล้าย
หมูตัวจริงคือ จมูกยาว ตัวผอม ตาเล็กเรียว ต่อมาเหมือนป้าน้อยได้หยิบมาดัดแปลงเรื่องรูปทรงและลวดลายให้เข้ากับยุคสมัย โดยเพิ่มสัดส่วนให้หมูดูสมบูรณ์อ้วนท้วนขึ้น เพิ่มลวดลายให้มีความสดใส น่าสนใจ ลักษณะเด่นของ “หมูกระดาษจะเป็นหมูแบบปิด คือมีแค่รูหยอดเงิน แต่ไม่มีรูเอาเงินออก เพราะต้องการทำให้รู้ว่าเป็นหมูที่เก็บเงินได้ ถ้าจะเอาเงินออกต้องผ่า ในสมัยก่อนกระปุกหมูมีราคาแพง ดังนั้นคนที่ซื้อไปจะเสียดาย ส่วนใหญ่ก็จะเก็บเงินให้เต็มกระปุกก่อนแล้วค่อยผ่าออก”

Advertisement

Advertisement

กระปุกหมูกระดาษ
การปั้นหมู 1 ตัว จะต้องใช้ระยะเวลาในการทำประมาณ 5 วันกว่าจะเสร็จสิ้นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะมีความยากของการทำคือ ทุกอย่างต้องโดนแดด ถึงจะทำให้แข็งแรง และเป็นการฆ่าเชื้อไปในตัวด้วย ฉะนั้นในช่วงฤดูฝน การทำงานจะเป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากปริมาณความชื้นและจำนวนชั่วโมงของแดดที่น้อยกว่าฤดูอื่นๆ วิธีทำหมูกระดาษมีขั้นตอนดังนี้
1. นำกระดาษหนังสือพิมพ์มาฉีกเป็นชิ้นขนาดพอประมาณชุบน้ำ แล้วนำมาแปะที่ผนังด้านในของหุ่นตัวหมูครึ่งซีกจานวน 2 ซีก จากนั้นฉีกกระดาษหนังสือพิมพ์ทำกาวมาซ้อนทับกันหลายๆ ชั้น จนได้ความหนาที่พอเหมาะกับขนาดของหุ่นตัวหมู (ประมาณ 5-20 ชั้น) แล้วปล่อยให้แห้งหรือตากแดด
2. ลอกตัวหมูออกจากตัวหุ่น ทั้ง 2 ซีก แล้วนำมาประกบกันแล้วเอากระดาษห่อปกหนังสือซึ่งมีความเหนียว หรือ กระดาษห่อโรตีทากาวมาปิดทับรอบตัวหมูรวมทั้งตะเข็บรอยต่อของซีกตัวหมูทั้ง 2 ให้ดูราบเรียบ

Advertisement

Advertisement

0

เด็กระบายสี
3. ทาสีตัวหมูการจะทำตัวหมูกระดาษให้ใหญ่เล็กขึ้นอยู่กับตัวหุ่นซึ่งมีอยู่หลายขนาด

0

ขอบคุณรูปจากป้าน้อยหมูกระดาษ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์