อื่นๆ

ห้องเรียนแห่งความสุข : วิทยาลัยดุสิตธานี

138
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ห้องเรียนแห่งความสุข : วิทยาลัยดุสิตธานี

สถาบันการศึกษา เมื่อกล่าวถึงกันแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เป็นแหล่งบ่มเพาะคนให้มีความรู้ มีคุณธรรมที่พร้อมจะเบ่งบานในการใช้ศักยภาพทางด้านแรงงานในอนาคต

มีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นอย่างมากมายในช่วงเวลาในช่วงเวลา 20 ปีให้หลังนี้ ทว่า สิบปีที่ผ่านมาต่างทยอยกันปิดตัวลงขึ้นเรื่อย ๆ  ด้วยเหตุผลหลายประการ

เรา และสังคมของเราในอดีตต่างมุ่งหวังว่า คนที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ ต้องมาจากการฝึกทักษะวิชาชีพ เพื่อเป็นคนเก่งงานในอนาคตและเป็นกำลังพลของบ้านเมือง ซึ่งนั่นคือ การมีโอกาสใช้ชีวิตครั้งหนึ่งในมหาวิทยาลัย

แน่นอน!

มหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาส่วนใหญ่ก็คงกำลังเตรียมตัวและปรับตัวเองในยุคที่เรียกว่า ดิสรัปชั่น

ผู้เขียน

วันนี้ผมมีโอกาสได้ไปบรรยายในรายวิชา ศาสตร์แห่งความสุขและความสำเร็จ ของวิทยาลัยดุสิตธานี ย่านศรีนครินทร์ ซึ่งนับว่าน่าทึ่งที่วิชาเช่นนี้เป็นสิ่งที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มทักษะการมองโลกแห่งการเรียนในห้องเรียนให้มีบรรยากาศของการแลดูชีวิต ควบคู่กันกับการตั้งเป้าหมายที่ชีวิตต้องการจะสำเร็จ โดยมีแบบจำเพาะของตัวใครตัวมัน ในห้องเรียนร่วมสามสิบคน ผมลองถามเป้าหมายของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่กำลังจะเปิดประตูโลกทำงาน แต่ทว่าประตูการศึกษาของพวกเขาจะต้องถูกเปิดออกตลอดเวลา เพื่อรองรับความสุขจากการแบ่งปันในครั้งนี้แน่ ๆ

Advertisement

Advertisement

ผมเตรียมทักษะและแนวทางส่งความสุขมาใช้เสริมพลังห้องเรียนของพวกเขาด้วยกิจกรรม วงล้อชีวิต 8 มิติ ซึ่งมีทั้งด้านความรัก การงาน การเงิน ความสัมพันธ์ สุขภาพ ครอบครัวบรรยากาศสังคม เป็นต้น เพื่อประเมินตนเอง แล้วตรวจเช็คความสมดุลในแต่ละด้าน ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวเป็นแนวคิดของบริษัทวิสาหกิจส่งความสุข จำกัด ของโค้ชจิมมี่ พจนารถ ซีบังเกิด หรือสถาบันจิมมี่โค้ชอคาเดมี่

บรรยากาศห้องเรียน

บทเรียนการบรรยายวันนี้ ผมพบความจริงประการหนึ่งว่า เป็นความจริงของมนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหน ๆ ก็ต่างมีช่องว่างเผื่อไว้ให้มนุษย์ทุกคนมีความสุข มิใช่ลำพังแต่เพื่อเป็นสุขของกันและกันต่างหากและหนึ่งในทางเลือกนั้น คือการเลือกวิชาที่คิดว่าตนเองจะเป็นสุขเป็นสุขเถิดกับมัน

วงล้อแห่งชีวิตในวงล้อการประเมินตนเองดังกล่าว นักศึกษาได้ให้ความหมายที่หลากหลายอันเป็นเสียงสะท้อนว่า ตัวเองพร่องความสุขด้านใดไปบ้างและจะทำอย่างไรให้มันเอ่อล้นออกมาเหมือนกับดอกหญ้าเอกไม้ที่ได้น้ำพร้อมแย้มบาน เป็นต้นว่า บางคนสุขภาพไม่ดี อาจจะปรับตัวเองใหม่เพื่อดูแลตนเองมากขึ้นกว่านี้ในเวลาเร็ววัน หรือคบค้าสมาคมกับบุคคลผู้เป็น Health literacy

Advertisement

Advertisement

เสียงสะท้อนส่วนผู้มีภาวะสุขล้นเกินก็อาจจะวางแผนเพื่อจะสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป

สุขใน มิติ ความรักแต่ก็อย่างว่าละนะ ผู้เขียนอาจอินไปหน่อยในฐานะเป็นผู้ให้ กับบทบาทที่อยากบอกในบริบทของพี่เล่าสู่น้องฟัง และคงไม่อาจจะดีไซด์ให้ห้องเรียนเป็นเสมือนโลกแห่งความฝันว่าเข้ามาแล้วจะต้องสุข แต่อย่างน้อย ๆ วิชาเลือก ชื่อ ศาสตร์แห่งความสุข ก็ยังมีพื้นที่ให้คนสนใจเรื่องเดียวกันมีโอกาสได้คุยกัน และออกความเห็น รับฟัง และแน่นอนว่า ความสุขมันแบ่งปันกันได้แบบไม่ต้องลงทุน

ผมเดาเอาว่า ความสุขนี่กระมัง คือ สิ่งที่ทุกคนปรารถนาแต่ทว่าไม่มีจังหวะที่จะฉกฉวยมัน ยิ่งเราแข่งขันกันมากเท่าใด การแบ่งปันก็มีแต่จะหายไป ๆ จากสังคม

ขอบคุณนะ ที่ทำให้ได้มาพบกันบนห้องเรียนรายวิชาที่ทุกคนปรารถนาความสุขร่วมกัน

ที่นี่ วิทยาลัยดุสิตธานีครับ

ภาพถ่ายทุกภาพ : โดยผู้เขียน

เล่าเรื่องโดย อาจารย์ชาตรี ลุนดำ :พ่อบักอินดี้

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์