อื่นๆ

บริจาคโลหิต ไม่ยากอย่างที่คิด

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
บริจาคโลหิต ไม่ยากอย่างที่คิด

ฉันชอบการบริจาคโลหิตมาก เพราะได้ช่วยคนโดยไม่ต้องลงเงินหรือแรงมากมายนัก

การบริจาคโลหิตนั้น สำคัญคือใช้แค่ความใจกล้า เพราะบางคนกลัวเข็มมากเลยตัดสินใจไม่มา แต่เนื่องจากประเทศไทยมีผู้ป่วยค่อนข้างมาก โลหิตเลยไม่พออยู่เสมอ และยิ่งตอนนี้มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้คนหวาดกลัวว่าการบริจาคโลหิตจะให้ติดเชื้อหรือไม่ นอกจากนี้คนยังไม่ค่อยออกจากบ้านไปในที่แออัด และการบริจาคโลหิตบางครั้งทำให้รู้สึกอ่อนเพลียไปบ้าง แต่บางคนก็วิตกกังวล กลัวว่าตัวเองจะป่วยได้ง่าย

ทั้งที่จริงแล้วการบริจาคโลหิตทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ดี บางทีสูงถึง 650 แคลอรี่เลยก็ว่าได้ และร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานจากการผลิตฮีโมโกลบินใหม่ สุขภาพแข็งแรงขึ้นด้วยทางศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย ได้ให้ความที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงประชาสัมพันธ์เมื่อโลหิตคงคลังเริ่มลดน้อยลง โดยเฉพาะช่วงที่มีผู้ป่วยเยอะ ๆ โลหิตจะเป็นสิ่งจำเป็นอันดับต้น ๆ แต่ด้วยข้อจำกัดที่บริจาคแล้ว ต้องเว้นไป 3 เดือนเพื่อให้โลหิตปรับความเข้มข้นก่อน แล้วจึงมาใหม่ได้

Advertisement

Advertisement

กรอกใบข้อมูลก่อนอันดับแรกฉันบริจาคโลหิตครั้งล่าสุดเมื่อตุลาคม 2562 และพอครบกำหนด 3 เดือนก็ป่วยและยังติดภารกิจหลายอย่าง จึงเพิ่งว่างมาครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 18 ในเดือนเมษายน 2563 การบริจาคโลหิตนั้นมีเกณฑ์ที่จะคัดกรองผู้บริจาคหลายประการ เช่น น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 45 กก. ไม่เคยมีประวัติโรคร้ายแรงต่าง ๆ ความดันไม่ต่ำ เป็นต้น ซึ่งก็จะมีขั้นตอนการคัดกรองไปเรื่อย ๆ อันแรกเมื่อไปถึงช่วงนี้ต้องใส่หน้ากากมาเสมอ วัดอุณหภูมิ และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์

หลังจากนั้นเดินตรงไปที่ช่องกรอกประวัติอันดับแรก ถ้ามีบัตรบริจาคโลหิตก็นำไปด้วย เพราะต้องกรอกเลขผู้บริจาคเพื่อเก็บข้อมูล หลังจากกรอกเสร็จก็วัดความดันก่อนนะ จะมีเจ้าหน้าคอยช่วยดูทุกจุด ถ้าใครความดันผิดปกติบางครั้งอาจเกิดจากการตื่นเต้น การเดินมาจากที่ไกล ๆ เจ้าหน้าที่จะให้นั่งพักสักครู่แล้วมาวัดใหม่ ความดันก็จะกลับมาเป็นปกติ อย่าเพิ่งถอดใจกลับบ้านไปล่ะ ฮ่า ๆ เมื่อผ่านการวัดความดันแล้วก็ไปเข้าแถวตามช่องที่มีเจ้าหน้าที่นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ เพื่อปริ๊นท์สติกเกอร์สำหรับแปะหลอดโลหิตต่าง ๆ จากนั้นค่อยกดบัตรคิวรอพบแพทย์ ตรงนี้กินเวลาค่อนข้างนาน ไปดื่มน้ำรอกันดีกว่า

Advertisement

Advertisement

ระหว่างรอพบหมอที่นี่มีบาร์สำหรับดื่มน้ำ เพราะก่อนบริจาคโลหิตต้องดื่มน้ำอย่างน้อย 3-4 แก้ว เพื่อให้โลหิตไหลเวียนง่ายและต้องรับประทานอาหารครบมื้อ ไม่กินของมัน เพราะจะทำให้โลหิตเป็นลิ่มลอยขึ้นมา อาจใช้งานไม่ได้ ที่นี่มีก๊อกน้ำดื่มเพิ่มมาหลายก๊อกเลย มาครั้งนี้ทำใหม่ใช้ระบบเซนเซอร์ ทำให้น้ำไหลขึ้นอีกด้วย เห็นความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ระหว่างรอพบแพทย์ฉันมานั่งตรงมุมข้างบาร์ดื่มน้ำพอดี ได้เห็นบรรยากาศโดยรวมคนค่อนข้างหนาแน่น Social distancing เอาไม่ค่อยอยู่

แต่ทุกคนมีหัวใจเต็มเปี่ยมมาบริจาคโลหิต รีบเสร็จรีบกลับ เมื่อพบแพทย์ก็จะมีการเจาะปลายนิ้วดูความเข้มข้นของโลหิต แจกยาเสริมธาตุเหล็ก ซักประวัติ จากนั้นก็ขึ้นไปชั้น 2 เพื่อกดบัตรคิวรอบริจาคได้ โดยสามารถเลือกบริจาคโลหิตแขนขวาหรือซ้ายก็ได้ แต่คนชอบแขนซ้ายมากที่สุด เพราะแขนขวาใช้งานมากกว่า คงกลัวจะปวด คิวแขนขวาเลยยาวมาก ปกติฉันก็เลือกแขนซ้าย แต่วันนี้มาแปลกเพราะใกล้ถึงคิวแต่ดันปวดเบา สงสัยกินน้ำเยอะไป ฮ่า ๆ เลยยอมสละเลือกแขนขวาเพราะคิวเร็วกว่าเยอะ เสร็จแล้วไม่มีเวลาหน้ามืด

Advertisement

Advertisement

จบแล้วสำหรับการบริจาคโลหิต รีบลุกจากเตียงไปเข้าห้องน้ำก่อน ฮ่า ๆ จากนั้นเดินไปที่ห้องนั่งพักมีขนมเครื่องดื่มให้รับประทานด้วย และก่อนออกคุณยายจะแจกพลาสเตอร์ที่มีกระดาษเขียนวันที่ที่คุณกลับมาบริจาคอีกครั้งได้

เลือกบริจาคแขนซ้ายหรือขวาได้

กลับบ้านกันแล้วก็อย่าลืมทานยาเสริมธาตุเหล็กเพื่อบำรุงโลหิตให้มีความเข้มข้นด้วยคนมักไม่ทานเพราะคิดว่าทำให้อ้วน จริง ๆ ถ้าไม่ทานคือโลหิตจะจางจนทำให้บริจาคโลหิตครั้งหน้าไม่ได้นะ ต้องทานก่อนนอนวันละ 1 เม็ดจนหมด ตามคำแนะนำบนซอง เห็นไหมว่าการบริจาคโลหิตไม่ใช่เรื่องยากเลย

ฝากติดตามข่าวสารต่าง ๆ จากทางเฟซบุ๊กแฟนเพจที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เพจนี้จะอินบ็อกซ์ไม่ได้นะคะ มีอะไรสงสัยให้โทรไปสอบถามหรือคอมเมนต์ใต้ภาพกิจกรรมต่าง ๆ ได้ แล้วพบกันใหม่เร็ว ๆ นี้กับการทำบุญที่ไม่ต้องใช้ทุนทรัพย์อะไร เพียงเสียสละโลหิตที่เรามี เพื่อต่อชีวิตผู้ป่วยทุกคนในประเทศไทย

บริจาคโลหิต ไม่ยากอย่างที่คิด

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์