ไลฟ์แฮ็ก

"Edutainment" สาระและความรู้ ตามวิถีความปกติใหม่

1.7k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
"Edutainment" สาระและความรู้ ตามวิถีความปกติใหม่

Edutainment เป็นคำในภาษาอังกฤษที่เราได้ยินคุ้นหูกันมาหลายปีแล้วนะคะ ซึ่งมาจากคำว่า Education และ Entertainment (การศึกษา + ความบันเทิง = สาระบันเทิง) คือ การให้สาระความรู้โดยผ่านความบันเทิง หรือการใช้ความบันเทิงเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้

เหตุเพราะสมองของมนุษย์จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี หากได้รับการกระตุ้นอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข ลองสังเกตตัวเองนะคะว่า เวลาที่เราชมภาพยนตร์ ดูละคร หรือเกมโชว์สนุก ๆ เราจะจดจำรายละเอียดของเรื่องราวเหล่านั้นได้ สามารถเก็บประเด็นมาคุยต่อกับคนอื่นต่อไป ดังนั้น การนำความบันเทิงมาใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก จะทำให้พวกเขามีความสุข สนุกสนาน และเรียนรู้ได้ดีมากยิ่งขึ้นนะคะ

ในระบบการศึกษาของไทยได้มีการนำแนวคิด Edutainment มาประยุกต์ใช้เพื่อกระตุ้นสมองและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ผ่านกิจกรรมทั้งในและนอกชั้นเรียน เช่น การออกกำลังกาย การทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน การเล่มเกม การเล่านิทาน คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต เว็บไซต์ ซอฟแวร์ วิดีโอ แอปพลิเคชัน พอดแคสต์ ฯลฯ ในในโลกยุคใหม่เราจะพบว่า มีสื่อ เทคโนโลยี และกิจกรรมมากมายที่ส่งเสริมการเรียนดูของเด็กในยุคอัลฟ่า ซึ่งสถาบันการศึกษา โรงเรียนกวดวิชา และกลุ่มทางสังคม ต่างก็นำสิ่งเหล่านี้มาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กในช่วงเวลาที่โรงเรียนปิดเทอมยาว ๆ จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านสำคัญที่พ่อแม่สามารถจัดการเรียนการสอนให้กับลูกได้เรียนรู้ที่บ้านด้วยตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังจะเป็น New Normal ของทุกครอบครัวที่ยากจะปฏิเสธ ทังนี้ พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูต้องเข้าใจในสถานการณ์ด้านสาธารณสุข ที่ทุกครอบครัวจะต้องใช้ชีวิตแบบนี้กันไปสักพักหนึ่ง จนกว่าการระบาดของโรคจะสิ้นสุดลง หรือจนกว่าจะมีวัคซีนป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการยอมรับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งต่างไปจากโลกที่พ่อแม่เติบโตขึ้นมา ซึ่งการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ในชั้นเรียนเท่านั้น แต่การเรียนรู้ของเด็กในยุคสมัยใหม่ไม่มีที่สิ้นสุด โดยพ่อแม่สร้างมีส่วนร่วมในการสร้าง New Normal เรื่องการศึกษาของลูกได้ด้วยตนเอง

Advertisement

Advertisement

ในฐานะแม่ของลูกชายระดับปฐมวัย เราได้มีโอกาสจัดการเรียนการสอนให้แก่ลูกในช่วงปิดเมือง โดยเน้นการพัฒนาลูกตามช่วงวัย เลือกสื่อที่เหมาะกับวัยของลูก และเน้นกิจกรรมที่เล่นเพื่อการเรียนรู้ โดยเราได้นำหลักเรื่อง Edutainment มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ลูก เช่น

  • การใช้ลูกคิดหรือแท่งไม้ที่มีสีสันสดใส สอนลูกนับเลข บวก และลบ โดยสีสันที่สดใสและเสียงกระทบกันของลูกคิด ช่วยดึงดูดความสนใจของลูกได้เป็นอย่างดี
  • การใช้แอปฯ Khan Academy Kids ซึ่งมีทั้งภาพเคลื่อนไหว สีสัน และเสียง ซึ่งส่งเสริมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ศิลปะ ภาษาอังกฤษ การอ่าน การฟัง และการจับใจความ
  • การใช้ Google Earth ในการศึกษาภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ของประเทศต่าง ๆ ในโลก
  • การเรียนภาษาอังฤษบนเว็บไซต์ Kyna English by Course Square เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ วัย 3-12 ปี
  • การดูกล่อง TrueID TV เพื่อเรียนออนไลน์ทางช่อง DLTV และดู YouTube เพื่อเรียนรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ที่มีในโลก
  • การใช้แอปฯ ด้านดาราศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องโลก และอวกาศ
  • การผจญภัย สำรวจสวนหลังบ้าน เพื่อเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมรอบตัว

Advertisement

Advertisement

นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังมีส่วนส่งเสริมการปฏิรูประบบการศึกษาของประเทศให้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วด้วย โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษาของประเทศ ได้ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ พัฒนาเนื้อหาของสื่อสร้างสรรค์ เพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กมีทั้ง On Site / On Air / Online โดยในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการเกิดขึ้นของคอนเทนท์ด้านสาระบันเทิงที่หลากหลาย ทันสมัย มีคุณภาพ และฟรี เพื่อให้ลูกของเราได้เรียนรู้กันอย่างต่อเนื่องอย่างแน่นอนค่ะ

อย่างไรก็ดี สื่อสาระบันเทิงที่มีคุณภาพ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของลูก แต่สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้น คือ เวลาคุณภาพ และพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูที่มีตัวตน ที่จะให้ความรัก และความรู้แก่ลูก ... มาทำช่วงเวลานี้ให้เป็นช่วงเวลาที่มีความหมาย ในการจัดการเรียนรู้ที่มีความสุขให้แก่ลูกกันนะคะ

Advertisement

Advertisement

  • เครดิตภาพประกอบ
  • Template ภาพปก (ฟรี) จาก Canva.com
  • ภาพที่ 1 ภาพโดยผู้เขียน
  • ภาพที่ 2 PHOTO BY VIKTOR HANACEKFREE OBJECTS STOCK PHOTOS
  • ภาพที่ 3 แอปฯ TrueID / Khan Academy Kids / Google Earth
  • ภาพที่ 4 ภาพโดยผู้เขียน
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์