ไลฟ์แฮ็ก

8 ตัวอย่าง การข่มเหงรังแกในการทำงาน

3.5k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
8 ตัวอย่าง การข่มเหงรังแกในการทำงาน

การข่มเหงรังแกในการทำงาน (Power Harassment ) หมายถึง การกลั่นแกล้ง การทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนรำคาญใจ ไม่สบายใจ โดยใช้อำนาจหรือตำแหน่งหน้าที่ในการงานเป็นเครื่องมือ ทำให้ผู้ถูกกระทำมีความลำบากกายหรือลำบากใจ

ตัวอย่างของ Power Harassment เช่น

1. มอบหมายงานที่ไม่สามารถทำได้ หรือ นอกขอบเขตของงานที่ทำ เพื่อกลั่นแกล้งให้ลูกน้องทำงานผิดพลาด

2. กดดันการทำงานของลูกน้องทำให้ลูกน้องเกิดความเครียดในการทำงาน

3. เมินเฉยผลงานของลูกน้อง หรือดุด่าว่ากล่าวอย่างรุนแรง เมื่อลูกน้องทำงานผิดพลาด

4. การสอบถามเรื่องส่วนตัวของลูกน้องจนเกินความจำเป็น

5. ข่มขู่ หากไม่ทำงานตามที่สั่งแล้วจะถูกลดตำแหน่ง หรือลดผลประโยชน์

6. บังคับลูกน้องให้ไปเที่ยว ดื่มเหล้าหลังเลิกงาน

7. การที่หัวหน้าเอาความผิดของลูกน้องไปพูดให้คนอื่นฟังลับหลัง

Advertisement

Advertisement

8. เอาความเรื่องส่วนตัวของลูกน้องไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกจนเกิดความอับอาย

้h3

ขอบคุณภาพ จาก freepik

จากประสบการณ์จากเพื่อนร่วมงานท่านหนึ่ง ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายอาญามาตรา ๓๙๗ ให้คลอบคลุมถึงกรณีการข่มเหงรังแกนี้ แต่ก็ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ เมื่อไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน จะรับก็แค่เพียงการแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน ถ้าจะร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีจนถึงที่สุด ต้องมีขั้นตอนอีกมาก ทำให้ผู้ถูกข่มเหง รังแกจากหัวหน้างาน ไม่สามารถต่อกรกับหัวหน้างานได้

ส่วนกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายได้บังคับให้นายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการร้องทุกข์ไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่ในทางปฏิบัติจริง หากลูกจ้างใช้สิทธิร้องทุกข์ขึ้นมา แต่ฝ่ายนายจ้างมีโครงสร้างหรือการจัดการไม่เข็มแข็งพอที่จะตัดสินความอย่างยุติธรรมแล้ว ก็อาจให้ความช่วยเหลือฝ่ายหัวหน้างาน เพราะให้ความสำคัญหัวหน้างานมากกว่าลูกน้อง ผลสุดท้าย หัวหน้าถูกลงเป็นการลงโทษสถานเบา ส่วนมากเป็นการว่ากล่าวตักเตือน และสุดท้ายลูกจ้างทนไม่ไหวต้องออกจากงานในที่สุด

Advertisement

Advertisement

เพื่อป้องกันและให้การเรียกร้องมีผลสำเร็จ การแสวงหาพยานหลักฐานจึงเป็นเรื่องสำคัญ ก่อนอื่นพิจารณาก่อนว่า ท่านมีพยานหลักฐานเพียงพอหรือไม่ และ ท่านจะหาพยานหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวหาหัวหน้างานที่ข่มเหงรังแกท่านได้อย่างไร

ปัจจุบัน กฎหมายให้การยอมรับรับฟังเป็นพยานหลักฐานอิเล็คทรอนิคก์ในชั้นศาลได้ด้วย ดังนั้น ไม่ว่าคลิปเสียง คลิปวิดีโอ ภาพถ่าย email หรือข้อมูลแชททางโปรแกรม line , WeChat ,  What app  ต่างสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้ทั้งสิ้น จำต้องรอเวลาที่เหมาะสมจนกว่าหัวหน้างานกระทำการข่มเหง รังแก แล้วฉวยโอกาสนี้เก็บรวบรวมพยานหลักฐานจากการกระทำดังกล่าวให้ได้ เมื่อมีพยานหลักฐานพร้อม ไม่ว่าเลือกใช้สิทธิตามแนวทางใด ก็จะสามารถลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องปกป้องสิทธิ์ได้ต่อไป

ha4

ขอบคุณภาพ จาก freepik

เกร็ดความรู้

Advertisement

Advertisement

กฎหมายอาญามาตรา ๓๙๗ ซึ่งบัญญัติว่า

“ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม

หรือกระทำการให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัล

หรือเป็นการทำในลักษณะส่อไปในทางล่วงเกินทางเพศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน

หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นการกระทำโดยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำ

อันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท”

่ีjustice

ขอบคุณภาพจาก pixabay

ขอบคุณรูป cover : pixabay

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์