ไลฟ์แฮ็ก

10 เคล็ดลับใช้สื่อโซเชียลมีเดีย อย่างมีความสุข

868
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
10 เคล็ดลับใช้สื่อโซเชียลมีเดีย อย่างมีความสุข

10 เคล็ดลับใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีความสุข

ปัจจุบันสื่อโซเชียลมีเดีย เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์ อย่างมาก โทรศัพท์มือถือกลายเป็นสิ่งจำเป็น หรืออวัยวะที่ 33 ของมนุษย์ที่ขาดไม่ได้อย่างไม่รู้ตัว โอนเงิน จ่ายเงิน ทำธุรกรรมทางการเงิน ดูภาพยนตร์ เล่นเกม พูดคุยกับเพื่อน หรือสนทนากับบุคคลที่ไม่รู้จัก ได้เพียงใช้ปลายนิ้วคลิก ทุกคนเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้ง่ายขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือ มีราคาลดลง ตัวเลขอายุของเด็ก น้อยลงที่สามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างง่าย เรียกได้ว่า ตั้งแต่ 3 ขวบ เราก็เสพสื่อจนกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันไปแล้ว

สื่อภาพโดย pixabay.com

รายชื่อสื่อโซเชียลมีเดียยอดนิยม มีดังนี้

  • Facebook
  • Line
  • Twitter
  • Youtube
  • Instragram
  • Snapchat
  • Whatsapp
  • Google+
  • Pinterest
  • LinkedIn
  • LinkedIn Pulse
  • Tumblr
  • Meetup

Advertisement

Advertisement

สื่อภาพโดย pixabay.com

เคล็ดลับการใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างมีความสุข 10 เคล็ดลับ ดังนี้

1. กำหนดระยะเวลาดูให้น้อย

สื่อโซเชียลมีเดียแย่งเวลาจากคุณ และคนอื่น ๆ รอบตัวคุณ อย่างมาก หลายครั้งที่คุณเองก็ไม่รู้ตัว พอรู้ตัวอีกที หมดเวลากับเรื่องไร้สาระ หรือหาประโยชน์ไม่ได้ไป 1 วันแล้ว วันแล้ววันเรา หรือเป็นสิ่งเสพติด ที่เราเลิกไม่ได้ การเสพสื่อแต่พอดี

2. กำหนดช่วงเวลาดูสื่อ เวลาเดิม เป็นประจำ

ความสม่ำเสมอมีความสำคัญอย่างยิ่ง การกำหนดช่วงเวลาเดิม เป็นประจำทุกวัน จะช่วยลดอาหาร ถอน จากการติดสื่อ โซเชียลมีเดียได้ เช่น ช่วยลดอาการกระวนกระวาย หงุดหงิด เป็นต้น การกำหนดเวลาที่แน่นอน ทำให้เรารู้สึกคาดเดาได้ และไม่รู้สึกเครียดจากการขาดสื่อโซเซียล

3. เลือกสื่อที่ต้องการดูที่มีประโยชน์ต่อชีวิต

สื่อภาพโดย pixabay.com

สื่อปัจจุบันมีความหลากหลาย เพราะต้องผลิตออกมาแข่งขันกันทางการตลาด การรับรู้ข้อมูลมากเกินไป จะทำให้คุณสมองของคุณถูกบรรจุไปด้วยข้อมูลขยะ ที่ไม่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต การประมวลผลของสมองก็ช้าลง เพราะมีข้อมูลที่ไร้ประโยชน์เก็บไว้มากเกินไป เลือกสื่อที่เหมาะสมกับคุณ และมีประโยชน์ และเชื่อถือได้

Advertisement

Advertisement

3. ชะลอการโพสต์ เลื่อนเวลาออกไป

หากคุณรู้สึกแย่ หรืออยากระบายอะไรบางอย่าง เมื่อหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมา แล้วอยากโพสต์อะไรบางอย่าง ให้หยุดตัวเองเอาไว้ก่อน รอสัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ให้ถามตัวเองว่า ยังอยากจะเขียนข้อความแบบเดิม ลงไปในสื่อโซเชียลนั้นหรือเปล่าแท้จริงแล้วเราต้องการสื่อสารกับใคร หากต้องการระบายความรู้สึก ส่งข้อความส่วนไปหาเพื่อน หรือคนที่ไว้ใจได้ เล่าเรื่อง หรือระบายความในใจให้เพื่อน น่าจะเป็นการดีกว่า โพสต์ให้ทุกคนได้อ่าน ซึ่งบางคนอาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ต้องมารับรู้เรื่องแย่ ๆ ของเรา หรือบางคนก็รู้สึกดี กับเรื่องแย่ ๆ ของคุณ แต่ถ้ามั่นใจแล้วว่าต้องการโพสต์จริง และไม่สร้างผลกระทบให้ตนเองและผู้อื่น ก็โพสต์ข้อความนั้น และรับผิดชอบต่อสิ่งที่คุณทำด้วยทุกครั้ง

Advertisement

Advertisement

4. โพสต์ในแง่ดี และเป็นประโยชน์

จะมีสักกี่คนที่อยากรู้ว่า คุณทำอะไร กินอะไร สวยขึ้นแค่ไหน มีความสุขกับชีวิตไหม คนส่วนใหญ่สนใจเพียงว่า จะได้รับประโยชน์อะไรจากคุณ อย่างน้อยคุณเป็นแรงบันดาลใจ ให้กำลังใจ และทำให้ชีวิตของคนที่พบเจอคุณดีขึ้น ดีกว่าการโพสต์ไร้สาระ ที่หาประโยชน์ไม่ได้ ก่อนโพสต์ถามตัวเอง 2 คำถามว่า 1. สิ่งที่กำลังจะโพสต์เป็นประโยชน์ต่อตัวคุณหรือไม่ 2. สิ่งที่กำลังจะโพสต์มีประโยชน์ต่อคนอื่นหรือไม่ ถ้าคำตอบคือ ใช่ ก็โพสต์เลย แต่ถ้ามันไม่มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ก็หยุดไว้ก่อน อย่าโพสต์เลย

5. อย่าโพสต์เรื่องแย่ เพียงเพราะรู้สึกแย่ หากคุณรู้สึกแย่

เรื่องแย่ ๆ สามารถเกิดขึ้นได้ กับทุกคน ไม่เลือกว่าจนหรือรวย สวยหรือขี้เหร่ แต่การโพสต์เรื่องแย่ เพียงเพราะคุณรู้สึกแย่ ไม่ใช่เรื่องดีเท่าไหร่นัก เพราะนอกจากทำให้ภาพลักษณ์ของคุณดูไม่ดี ยังทำให้ผู้อื่นที่รับรู้ รู้สึกแย่ไปด้วย หรืออาจจะมีบางคนที่รู้สึกดีกับเรื่องแย่ของคุณ เพราะเขาพวกนั้น รู้สึกสมน้ำหน้าคุณอยู่ การเปลี่ยนเรื่องแย่ในชีวิต ให้เป็นบทเรียน มุมมอง เรื่องนี้ให้บทเรียนอะไรกับชีวิตของคุณ และแชร์แนวทางที่คุณหาทางออกให้กับชีวิต เมื่อเจอเรื่องแย่นั้น เรื่องราวของคุณจะน่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นอย่างมาก แม้จะเจอเรื่องแย่ แต่ชีวิตคุณไม่ได้แย่ วิธีนี้เป็นการนำเสนอตัวเองอย่างมีชั้นเชิงอีกด้วย

6. กด LIKE แต่พองาม

บางคนอยากแสดงตัวตนให้คนอื่นรู้  "เฮ้ ฉันอยู่ตรงนี้ ฉันมีตัวตน ฉันจะกด LIKE เธอทุกรูปเลย" การกด LIKEคนอื่นจำนวนมาก จนผิดปกติ ก็สื่อได้ว่า คุณต้องการ การมีตัวตน ต้องการความสนใจ ต้องการเป็นที่รัก และได้รับการยอมรับจากผู้อื่น หรือในบางครั้งกด LIKE คนอื่น เพียงเพื่ออยากได้ LIKE กลับมาบ้าง เหมือนเป็นการแลกกัน ควรกด LIKE แต่พองาน เฉพาะสิ่งที่คุณชื่นชอบมาก ๆ บางครั้งคุณกด LIKE ทั้งที่คุณไม่ได้ชอบข้อความนั้น คุณกดเพื่อบอกให้เจ้าของข้อความรู้ว่า คุณอ่านมันแล้ว เท่านั้นเอง หรืออาจมีนัยอื่นแอบแฝง ที่กด LIKE ไม่ได้ชอบข้อความ แต่ชอบคนที่โพสต์ข้อความนี้

7. อยากได้ LIKE แต่พอดี

ยอด LIKE เป็นแรงเสริมที่ทำให้ บุคคลอยากได้ซ้ำอีก มากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเหมือนรางวัล ทำให้ระบบ "reword system" ทำงาน ซึ่งเป็นกลไกของสมองรูปแบบหนึ่ง จะส่งผลให้มีความสุข เมื่อได้สิ่งกระตุ้น และเกิดความต้องการได้รับสิ่งนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ยอด LIKE จึงเป็นตัวกระตุ้นหนึ่งที่ทำให้คุณรู้สึกอยากได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก คุณสามารถเสพติดยอด LIKE เหมือนยาเสพติด ถ้าคุณไม่มีสติ หรือถอนตัวออกมา บางคนยอมลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ลงเพียงเพราะว่าต้องการยอด LIKE จำนวนมาก ๆ ซึ่งเข้าใจผิดว่าหากได้รับจำนวนมาก หมายถึง การได้รับการยอมรับจากคนจำนวน กลายเป็นคนดัง หรือไอดอล เช่น ยอมเปลื้องผ้าแลก LIKE ยอมทำเรื่องน่าอับอาย การโชว์สัดส่วน โชว์ความสวย เพราะพวกเขาเหล่านี้ไม่มั่นใจในตนเอง ไม่มั่นใจว่าตัวเองดีพอหรือยัง ไม่มั่นใจว่าตัวเองเป็นที่รัก เป็นที่ต้องการหรือเปล่า จึงต้องการให้คนอื่นมายืนยันในสิ่งที่ตัวเองเป็น โดยการกด LIKE และวนเวียนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนหาความสุขที่แท้จริงไม่เจอ คุณต้องเชื่อมันในตัวเอง ยอมรับตัวเอง อย่าลดคุณค่าของตนเองเพียงเพราะรู้สึกดีจากการได้จำนวนตัวเลข LIKE จำนวนมาก

8. เห็นคุณค่าของตัวเอง

สวยภาพโดย pixabay.com

เมื่อคุณเห็นคุณค่าในตัวเอง คุณจะไม่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับใคร จนทำให้คุณไม่มีความสุข เพราะสื่อโซเชียลเป็นเพียงการตัดต่อ ส่วนที่ดีที่สุดของชีวิตแต่ละคนให้คุณได้เห็น จนบางทีรู้สึกอิจฉา แต่อย่าลืมว่า นั่นไม่ใช่ทั้งหมด ของชีวิตเขา ความเป็นจริงชีวิตคนเรามีทั้งสุข และทุกข์ปนกันไป แต่ไม่มีใครบอกคุณทั้งหมดเท่านั้นเอง การเปรียบเทียบนอกจากทำให้คุณไม่มีความสุขแล้ว คุณยังต้องการอะไรมากมาย เพื่อให้มีเท่ากับคนอื่น ดีให้เท่ากับคนอื่น ทั้งที่ความสุขของคุณ กับความสุขของคุณอื่น ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน คุณคิดไปเองว่าถ้าคุณทำเหมือนคนอื่น คุณจะมีความสุขเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริง คุณกลับพบว่า คุณไม่ได้มีความสุขเลย ความสุขของแต่ละคนแตกต่างกัน การวิ่งไล่ตามความสุขของคนอื่น ทำให้คุณไม่มีความสุข จงภูมิใจในตนเอง และเห็นคุณค่าในตัวเอง มีความสุขในแบบของคุณเอง

9. ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ที่อยู่ตรงหน้า มากกว่าคนในโซเชียล

สื่อภาพโดย pixabay.com

ต้องยอมรับว่า ปัจจุบัน "สังคมก้มหน้า" มีมากขึ้นทุกวัน และเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มคน เราสามารถพบเห็นภาพนี้ได้ทั่วไป แม่ที่พาลูกไปรับประทานอาหาร นอกบ้านถือโทรศัพท์ตอบไลน์ลูกค้าตลอดเวลา จนไม่มีเวลาสบตาลูก สามีที่งานยุ่งคุยประชุมกับเพื่อนร่วมงานจนไม่มีเวลาจับมือกับภรรยา กลุ่มเพื่อนบนรถไฟฟ้าที่มาด้วยกัน ต่างคนต่างจ้องจอของใครของมัน คนที่แปลกหน้าตามห้างสรรพสินค้า ต่างดูโทรศัพท์มือถือ เห็นภาพเหล่านี้จนชินตา แต่ก็ไม่มีใครเปลี่ยน เพราะทุกคนให้เหตุผลว่า "จำเป็น" มนุษย์สื่อสาร จ้องตา จับมือ และมีปฏิสัมพันธ์กันน้อยลง เทคโนโลยีกำลังกลืนกินพวกเราให้กลายเป็นเสมือนเครื่องจักรเข้าไปทุกวัน ใส่ใจคนตรงหน้าคุณ จับมือภรรยามากขึ้น พูดคุย สบตามากขึ้น จ้องตาลูกให้มากกว่าจ้องจอ เพราะความสัมพันธ์ในชีวิตจริงจะดีกว่าโลกเสมือนอย่างแน่นอน

สื่อภาพโดย pixabay.com

10. หาเวลาทบทวนตัวเอง อยู่กับตัวเอง โดยไม่เข้าสื่อโซเชียล

กำหนดเวลา 1วันต่อสัปดาห์ ที่คุณจะสัญญา กับตัวเองว่า จะไม่สนใจสื่อโซเชียลใด ๆ อาจกำหนดเป็นวันอาทิตย์ "วันลืมโทรศัพท์" คุณจะไม่ถือมัน ไม่มองมัน และไม่มีมันอยู่ในชีวิต 1 วัน และถามตัวเองว่า อยากใช้ชีวิตในการทำอะไร ถ้าชีวิตนี้ไม่มีโลกออนไลน์แล้ว หากิจกรรมที่ชอบ ทำร่วมกับเพื่อน แฟน คนรัก ญาติ บุคคลในครอบครัว ใช้เวลานี้ ทบทวนตัวเอง และสนุกกับชีวิตในโลกจริง อย่างเต็มที่ เพราะชีวิตคุณคือของจริง ไม่ใช่สิ่งสมมุติเหมือนในโลกออนไลน์

ครอบครัวภาพโดย pixabay.com

หวังว่าทั้ง 10 เคล็ดลับนี้ จะช่วยให้คุณมีความสุขมากขึ้นในชีวิต การใช้สื่อโซเชียลอย่างถูกต้อง เหมาะสม และพอดีกับชีวิตของคุณ นอกจากทำให้สุขภาพจิตดี คุณจะไม่เสียเวลาชีวิตไปกับเรื่องไร้ประโยชน์ สื่อโซเชียลมีเดียมีคุณค่ามากมาย ถ้าหากเราใช้อยากถูกวิธี ในขณะเดียวกันมันก็สามารถทำลายเราได้ ซึ่งเปรียบเสมือน "มีด" คุณเลือกได้ว่า จะนำไปหั่นอาหาร รับประทานอย่างมีความสุข หรือนำไปทิ่มแทงตัวเอง คุณเลือกเองได้ เพราะเวลาในชีวิตมีอย่างจำกัด จงมีความสุขในแบบที่คุณเป็น

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
goodeewa
goodeewa
อ่านบทความอื่นจาก goodeewa

จบปริญญาโท คณะแพทยศาสตร์ สาขาสุขภาพจิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจเกี่ยวกับสุขภาพจิต แม่และเด็ก และจิ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์