อื่นๆ

ใช้ชีวิตในอเมริกา ยุค covid-19 ep.2

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ใช้ชีวิตในอเมริกา ยุค covid-19 ep.2

เช้านี้ไปส่งเด็กน้อยไปโรงเรียน ระบบการศึกษาที่นี่ต่างจากบ้านเรา เด็กคือศูนย์กลางไม่แบกหนังสือไปโรงเรียน  ไม่ต้องใส่ชุดนักเรียนไปโรงเรียน เน้นการทำกิจกรรม พูดคุย การเล่นคือการเรียนรู้

Kindergarten

ในแต่ละรัฐจะวางแผนการสอน และควบคุมคุณภาพการเรียนการสอนเอง ไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลาง โดยจะมีหน่วยงานการศึกษาคล้ายกระทรวงศึกษา ฯ เป็นผู้คอยกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ เอง นักเรียนอเมริกันทุกคน (สัญชาติอเมริกัน และ จ่ายภาษีให้รัฐบาล) จะได้เรียนฟรีจนจบระดับมัธยมศึกษาหรือ Grade 12 (ภาคบังคับ) ในโรงเรียนรัฐบาล (Public School) ในเมืองที่อาศัยอยู่ ต้องมีทะเบียนบ้านในเมืองนั้น ไม่ให้เด็กต้องเดินทางไกลเพื่อไปเรียน สำหรับนักเรียนต่างชาติ ที่ต้องการเรียนในระดับประถมและมัธยมศึกษา ที่อเมริกาจะสามารถสมัครเรียนได้ค่ะ แต่เฉพาะในโรงเรียนเอกชน (Private School) เท่านั้น ค่าเทอมก็แล้วแต่เกรดโรงเรียนค่ะ สำหรับการเรียนมหาวิทยาลัย ถ้าเรียนในรัฐที่อาศัย สามารถขอทุนเรียนได้ เช่น ทุนนักกีฬา ทุนความสามารถพิเศษ ทุนพรสวรรค์ แต่ถ้าอยากข้ามรัฐไปเรียนอีกรัฐหนึ่ง จะต้องเสียค่าเล่าเรียนแพงขึ้น ที่เรียกว่า “Out of State Tuition” และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น หอพัก ค่าเดินทาง ฯลฯ

Advertisement

Advertisement

เด็กอายุ 1-2 ปี พ่อแม่อาจส่งไป Little Gym เรียนกิจกรรมการเข้าสังคม การฝึกกล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ พัฒนาการของเด็ก เรียนวันละ 1-2 ชม.

เด็กอายุ 3-5 ปี จะเริ่มเข้าเตรียมอนุบาลหรืออนุบาล Kindergarten ได้แล้ว อันนี้จะมีชั่วโมงเรียนมากขึ้น 9:00น. - 15:00น. บางคนพ่อแม่ทำงานอาจขยายเวลา (จ่ายเพิ่ม) ให้เลิก 17:00น. ได้ ค่าเทอมขึ้นอยู่กับโรงเรียน ราคาเริ่มต้น 1,000-2,500 เหรียญต่อเดือน (รวมอาหารว่าง และอาหารกลางวัน) ราคาค่อนข้างสูงเลย ซึ่งอันนี้ผู้ปกครองต้องจ่ายเองนะคะ ไม่ได้เรียนฟรี

เด็กประถมที่นี่จะเริ่มเรียนตอนอายุ 5 หรือ 6 ปี ขึ้นอยู่กับเดือนที่เกิดด้วย โดยเริ่มเรียนเกรด 1 หรือเทียบเท่า ป.1 บ้านเรา

การเรียนที่อเมริกาจะ แบ่งเป็น 3 ช่วง มี 12 เกรด เรียนวิชาพื้นฐาน คือ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ  พลศึกษา

Advertisement

Advertisement

  • ช่วงที่ 1 Grade 1-6 หรือ ประถมศึกษา Elementary School
  • ช่วงที่ 2 Grade 7-9 หรือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น Junior High School
  • ช่วงที่ 3 Grade 10-12 หรือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย Senior High School

จากนั้นก็เข้าเรียนระดับอุดมศึกษา โดยสถาบันในระดับนี้มีมากกว่า 3,000 แห่งทั้งของรัฐและเอกชน แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

  1. วิทยาลัยแบบ 2 ปี หรือวิทยาลัยชุมชน (JUNIOR COLLEGE หรือ COMMUNITY COLLEGE) สามารถเลือกเรียนได้ 2 หลักสูตร คือ Transfer Track เป็นหลักสูตรที่เป็นวิชาพื้นฐาน 2 ปีแรกของการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งจะต้องเรียนวิชาบังคับ 2 ปี จากนั้นสามารถโอนหน่วยกิตไปยังมหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาต่อในปีที่ 3 โดยเกรดเฉลี่ยที่นักศึกษาทำได้ในระหว่างเรียน 2 ปีจะเป็นตัวกำหนดว่า นักศึกษาจะได้รับการตอบรับเข้ามหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับยากง่ายเพียงใด Terminal / Vocational Track เป็นหลักสูตรอนุปริญญาสายวิชาชีพ หลังจากเรียนไปแล้ว 2 ปี นักศึกษาจะได้รับวุฒิอนุปริญญาตรี และโทในสาขาวิชาที่เลือก อาทิ สาขาคอมพิวเตอร์ เลขานุการ เขียนแบบ เป็นต้น
  2. วิทยาลัย (COLLEGE) เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท หากได้รับวุฒิบัตรระดับปริญญาตรี และโทจาก COLLEGE ทั้งจากของรัฐบาล และเอกชนนั้นถือว่ามีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ากับ UNIVERSITY ทุกประการ
  3. มหาวิทยาลัย (UNIVERSITY) เปิดสอนในระดับปริญญาตรี โท และเอกในสาขาต่าง ๆ บางสถาบันอาจจะยังมีสถานะเป็น COLLEGE เช่น BOSTON หรือ DORTMOUNT COLLEGE
  4. สถาบันเทคโนโลยี (INSTITUTE OF TECHNOLOGY) เปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โท และเอก ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Advertisement

Advertisement

ข้อมูลอ้างอิง : idealeducation

พ่อ แม่ ชาวอเมริกันไม่ค่อยวางแผนการเรียนอย่างพ่อแม่ชาวไทยนะคะ เด็กมีสิทธิ์คิดเลือกในสิ่งที่ต้องการได้เอง  สำหรับเด็กน้อยของเรายังอีกไกลค่ะ ตอนนี้ก็กัดฟันส่งเดือนละ 2,000 เหรียญไปก่อนละกัน ส่งมา 2 ปีละ อีก 1 ปีก็เรียนฟรีละค่ะ

Prim rose schoolส่งเด็กเข้าเรียนละก็ว่างละ ... กลางวันทำก๋วยเตี๋ยวกินคะ ... ก๋วยเตี๋ยวหมูสับต้มยำใส่คะน้า ขิง เห็ด บรอกโคลี เรียกว่ามีอะไรก็ใส่ไปให้หมด สำหรับคนอเมริกัน (ฝรั่ง) เค้าไม่นิยมกินหมู เค้าว่าเหม็นสาบ ส่วนมากกินเนื้อ กินแกะ กินไก่ ต้องเป็นอกไก่เท่านั้นนะคะ ผิดกับคนไทยที่ น่องไก่ สะโพกไก่ ตูดไก่ นี่ล้ำค่า สุดยอดความอร่อย แต่ฝรั่งบอกว่าเนื้อดำไม่กิน คนไทยบอกอกแห้งจะตายไม่กิน ฝรั่งบอกหนังไก่แหยะไม่กิน คนไทยบอกนั่นหล่ะสุดยอด นั่นหล่ะนะต่างวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ประสบการณ์ต่างกัน ก็มองต่างกัน คิดต่างกัน เป็นอันว่าค่อย ๆ ปรับตัวไป แค่ยอมรับกันเท่านี้ปัญหาก็น้อยลงไปเยอะละ

ทำก๋วยเตี๋วหมูในอเมริกา

ข้าวเย็นยังคิดไม่ออกค่ะ แต่เริ่มต้นดีด้วย...เย็นนี้มีเบียร์ดื่มคะ เบียร์ที่นี่มีมากมายหลายยี่ห้อจริง ๆ ค่อย ๆ ชอปปิงมาอาทิตย์ละยี่ห้อ ปีหนึ่งไม่รู้จะครบไหม

Cool

ยังคิดอะไรไม่ออกก็ดื่มไป เด็ดกะเพรารอไปก่อนละกัน กะเพรารุ่นนี้คือ Holy basil นะคะ (ซื้อได้ที่ตลาดเวียดนาม ซูเปอร์มาร์เก็ตเอเซีย) กะเพราไทยแบบที่บ้านเราทำกะเพราไก่สับนั่นหล่ะค่ะ ส่วนที่ฝรั่งเรียกกัน Basil หรือ Sweet Basil หรือ Thai Basil หรือ Thai Sweet Basil นั่นคือ โหระพา นะคะ ไว้จะมาเล่าให้ฟังใน ep.ถัดไปนะคะ Bye...

Holy basil

ติดตาม ep.ก่อนหน้านี้ และบทความอื่น ๆ ของนักเขียนได้ที่ : it'sme...เป็นฉันเอง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
itsmeเป็นฉันเอง
itsmeเป็นฉันเอง
อ่านบทความอื่นจาก itsmeเป็นฉันเอง

เป็นฉันเองเกิดเมื่อวันที่ 10 กค 2563 เวลา 10:29น. กรุงเทพมหานคร เนื่องจากเพิ่งถูกเทจากที่ทำงานทีมั่น

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์