อื่นๆ

โนราห์ มโหรีปี่กลอง ทำนองเพลงตะลุงแดนใต้

376
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
โนราห์ มโหรีปี่กลอง ทำนองเพลงตะลุงแดนใต้

โนราห์เธอมาหนีจากบ้าน ลืมถิ่นฐาน ลืมการงานเพื่อนฝูงสาวเอ๊ย ลืมกำพืดเดี๋ยวจะยืดไม่ออก สาวบ้านนอก อย่าไปทำหัวสูงแหละนุ้ย คนบางกอก นั้นชอบหลอกชอบหลอน กลับเมืองคอน อย่าลืมกลอนหนังลุง ลืมพ่อขุนศรัทธา ที่ท่าแคเมืองลุง ทั้งครูต้นคนดีศรีมาลา คนบางกอก นั้นชอบหลอกชอบหลอน กลับเมืองคอน แล้วอย่าลืมธาราสาวเอ๊ย

บางส่วนจากเนื้อเพลง อย่าลืมโนราห์ ของเอกชัย ศรีวิชัย ที่มีจังหวะอันสนุกสนาน ฟังแล้วอาจจะอยากลุกขึ้นโยกย้ายส่ายเต้น และชวนเคลิ้มไปกับภาษาไทยสำเนียงภาคใต้ และเนื้อหาที่กล่าวถึงหญิงงาม โปรดอย่าลืมโนราห์ ละครการละเล่นพื้นเมืองที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน และเป็นศิลปะ วัฒนธรรมอันโดดเด่นชิ้นหนึ่งของภาคใต้

norah01 โนราที่นครศรีธรรมราชในสมัยรัชกาลที่ 5

ในสมัยสุโขทัย ประมาณปี พ.ศ. 1820 มีการนำเอาเรื่อง พระสุธน-มโนราห์ มาแสดงเป็นละครชาตรี ซึ่งถือว่าเป็นละครที่มีอายุเก่าแก่ จะมีลักษณะคล้ายกับละครเร่ของอินเดียว่า ยาตรี ที่แปลว่าเดินทางท่องเที่ยว สันนิษฐานกันว่าละครชาตรีได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย โดยเฉพาะท่วงท่าการร่ายรำที่ละม้ายคล้ายคลึง เชื่อกันว่าเกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองพัทลุง โดยสมัยนั้นจะเรียกชื่อละครนี้ในแผ่นดินขวานทองว่า โนราห์ชาตรี เพราะการพูดของชาวใต้ที่เร็ว และมักจะพูดตัดพยางค์หน้าไป แล้วก็เริ่มเรียกกันสั้น ๆ ว่า โนราห์ ที่เปลี่ยนจากตัวละครในเรื่อง มาเป็นชื่อเรียกศิลปะพื้นเมืองของภาคใต้

Advertisement

Advertisement

norah04การแสดงโนราห์ จะมีทั้งการร่ายรำ บทร้องประกอบดนตรี บทเจรจา รวมถึงการแสดงของเนื้อเรื่อง ที่เหมือนลิเก แต่โนราห์มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนไม่เหมือนลิเก ในเรื่องของท่ารำและการออกเสียงร้อง มีการบันทึกประวัติศาสตร์ว่า โนราห์ชาตรี เข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์โดยเริ่มจากครั้งแรกในปี พ.ศ. 2323  สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จยกทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช และได้พาขึ้นมากรุงธนบุรีพร้อมกับคณะละคร ครั้งที่สองในงานฉลองพระแก้วมรกตปีเดียวกัน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ให้ละครของนครศรีธรรมราชแสดงประชันกับละครหลวงผู้หญิง และครั้งที่สาม ในสมัยรัชกาลที่สาม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ได้ลงไปปราบเหตุร้ายทางหัวเมืองภาคใต้ และขณะเดินทางกลับ ก็มีชาวใต้อพยพขึ้นมายังเมืองหลวงด้วย ซึ่งในกลุ่มผู้อพยพก็มีพวกที่มีความสามารถด้านการแสดงละครโนราห์ชาตรีด้วย

Advertisement

Advertisement

norah06ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีผู้คิดนำเอาละครชาตรีกับละครนอกมาผสมผสานกัน โดยใช้ฉากแบบละครนอก เครื่องดนตรีประกอบเป็นแบบผสมผสานที่ใช้เครื่องดนตรีของละครชาตรี ผสมกับวงปี่พาทย์ของละครนอก เริ่มการแสดงโดยการรำซัดชาตรีแล้วลงโรง จับเรื่องด้วยเพลงวาแบบละครนอก ทำให้เกิดการแสดงแบบนี้เป็นที่นิยม โดยปัจจุบันสามารถเห็นได้ตามการแสดงโชว์แก้บนในสถานที่ต่าง ๆ

norah03แม้จะได้เห็นข่าวการบ่นถึงการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมจากคนเก่าคนแก่ แต่แท้จริงแล้วกลับยังเห็นได้ว่าศิลปะเหล่านี้ยังมีการสืบทอดต่อกันตลอด โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัย สาขาวิชาเกี่ยวกับนาฏศิลป์ ที่ยังเห็นการฝึกซ้อมรำแบบนี้อยู่ตลอด อีกนัยหนึ่ง โนราห์ยังเปรียบเสมือนบันทึกทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่งที่บอกเล่าถึงวิถีชีวิต ความผูกพันธ์และความเป็นอยู่ของชาวใต้ ผ่านเส้นทางของศิลปะชิ้นนี้ อีกทั้งยังมีการนำเสนอศิลปะโนราห์ผ่านสื่อต่าง ๆ รวมถึงภาพยนตร์ เพื่อให้ผู้คนได้รู้จักและเข้าถึง แต่ถึงแม้ว่าภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับโนราห์ จะไม่ประสบความสำเร็จเท่าภาพยนตร์อื่น ๆ แต่ก็ถือเป็นนิมิตรหมายอย่างหนึ่งที่ทำให้คนเราได้รู้ว่ายังมีศิลปะไทย จากทิศอื่น ๆ ฝังตัวอยู่ในแผ่นดินสยามประเทศแห่งนี้ ดังที่เพลง อย่าลืมโนราห์ ของเอกชัย ศรีวิชัยกล่าวไว้ท่อนหนึ่งว่า

Advertisement

Advertisement

มโหรีปี่กลอง เป็นเสียงทำนองเพลงตะลุง     โนราห์ชาวใต้ กึกก้องทั่วไปจนถึงเมืองกรุง

และเชื่อว่าโนราห์ จะเป็นการแสดงถึงจิตวิญญาณให้คนรุ่นต่อไป ได้ศึกษาและนำเสนอถึงความสวยงามในศิลปะละครนี้

norah05

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์