ไลฟ์แฮ็ก

แนะวิธีเช็คอาการโนโมโฟเบีย

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
แนะวิธีเช็คอาการโนโมโฟเบีย

ภาพปก https://bit.ly/38FdObi

แนะวิธีเช็คอาการโนโมโฟเบีย

การติดโทรศัพท์อย่างรุนแรงเป็นสิ่งที่น่าห่วง เพราะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาหลายด้าน นอกเหนือไปจากปัญหาในเรื่องการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน และอาการนี้ได้กลายเป็นโรคสำหรับคนยุคใหม่ ที่เรียกว่า “โนโมโฟเบีย” (Nomophobia) ซึ่ง มาจากคำว่า no mobile phone phobia ซึ่งอาการของโรคนี้จะทำให้วิตกกังวล กระสับกระส่ายเมื่อไม่มีโทรศัพท์มือถืออยู่ในมือ เกรงว่าจะขาดการติดต่อ หรือรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ  จากโทรศัพท์มือถือ

https://bit.ly/3c0keUG

ขอบคุณภาพ freepik https://bit.ly/3c0keUG

โรคที่มีสาเหตุมาจาก โมโนโฟเบีย

นอกจากความวิตกกังวล เมื่อต้องห่างจากโทรศัพท์มือถือแล้ว โรคนี้ยังทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาอีกมากโดยเฉพาะ โรคภัยไข้เจ็บที่ต้องรักษากันเป็นระยะเวลานานได้แก่

  • ปัญหาสายตา เช่นจอประสาทตาเสื่อม หรือวุ้นในตาเสื่อม ซึ่งมาจากการทีใช้สายตาจ้องจอโทรศัพท์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • ปวดเมื่อยบ่า คอ ไหล่ จากการก้มดูโทรศัพท์ ต้องเกร็งกล้ามเนื้อคอ,บ่า ไหล่เป็นเวลานาน ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
  • นิ้วล็อก เป็นปัญหาต่อเนื่องมาจากการใช้นิ้วมือจิ้มหรือสไลด์หน้าจอโทรศัพท์มาก ๆ  รวมถึงจะมีปัญหาที่กล้ามเนื้อข้อมือ หรือเอ็นข้อมือที่อาจอักเสบได้ด้วย

Advertisement

Advertisement

https://bit.ly/2P8u3G5ขอบคุณภาพ freepik https://bit.ly/2P8u3G5

สัญญาณบ่งบอกว่ามีอาการโนโมโฟเบียหรือไม่

สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกว่ากำลังมีอาการโนโมโฟเบีย  ลองตรวจสอบตัวเองดูว่ามีอาการหรือพฤติกรรมดังต่อไปนี้หรือไม่

  1. ต้องคอยเช็คข้อมูล คอยดูโทรศัพท์ตลอดเวลาเหมือนกับคนหมกมุ่น ใส่ใจสิ่งรอบตัวน้อยลง ต้องหยิบโทรศัพท์มาคอยดูอยู่เรื่อยๆ แม้จะไม่มีเรื่องด่วนให้ต้องคอยติดตามข้อมูลก็ตาม
  2. หยิบมือถือเป็นสิ่งแรกหลังจากตื่นนอนและวางโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งสุดท้ายก่อนเข้านอน
  3. ต้องมีโทรศัพท์ติดตัว ในขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ  อาทิ การเข้าห้องน้ำ, รับประทานอาหาร หรือแม้แต่ช่วงที่ออกกำลังกาย
  4. ไม่เคยปิดโทรศัพท์
  5. หากวางโทรศัพท์ไว้ผิดที่ผิดทาง จะกระวนกระวายมากและไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น
  6. ใช้เวลากับผู้คนในโลกออนไลน์มากกว่าคนรอบข้าง

https://bit.ly/3261ZIQขอบคุณภาพ freepik https://bit.ly/3261ZIQ

Advertisement

Advertisement

หากเช็คแล้วว่ากำลังมีปัญหาโนโมโฟเบียเกิดขึ้นกับตนเองต้องรีบแก้ไข  โดยอาจใช้เทคนิควิธีการนี้ไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาโนโมโฟเบีย เช่น การตั้งกฎกติกาให้กับตนเองว่าจะไม่หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูในช่วง 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมงแล้วค่อย ๆ ขยับเวลาให้นานขึ้น หรืออาจหากิจกรรม อื่น ๆ มาทดแทน รวมถึงไม่พกโทรศัพท์เข้าไปในห้องนอน เป็นต้น  และควรต้องเร่งรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันทีก่อนสุขภาพจะทรุดโทรมลง

https://bit.ly/3295PAK

ขอบคุณภาพ freepik https://bit.ly/3295PAK

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์