อื่นๆ

แชร์ trick เกี่ยวกับการทำงานนำเสนอให้น่าสนใจ ไม่ซ้ำใคร

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
แชร์ trick เกี่ยวกับการทำงานนำเสนอให้น่าสนใจ ไม่ซ้ำใคร

สำหรับบทความนี้ เราเขียนเพื่ออยากจะเล่าและแบ่งปันประสบการณ์ ซึ่งเราก็ได้ไอเดีย ได้แนวคิดมาจากหลาย ๆ แหล่ง และการได้ทดลองทำและฝึกทำมันบ่อย ๆ ซึ่งส่วนตัวแล้วเราไม่ได้เป็นคนที่ออกแบบเก่งหรือทำงานนำเสนออกมาได้ดี แต่เราเป็นคนที่ชอบในการออกแบบงานนำเสนอมาก ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการทำสไลด์เพื่อนำเสนองาน การทำแผ่นพับ infographic และอื่น ๆ เพราะมันทำให้เราได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และสร้างสมาธิให้กับตัวเราเอง

บอกไว้ก่อนเลยว่าตัวเราเองเป็นนิสิต/นักศึกษาวิชาชีพครู ซึ่งจะต้องมีการทำ presentation และผลิตสื่อการสอนออกมาอยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานเดี่ยวหรืองานกลุ่ม หรือการได้ดูผลงานของเพื่อน อาจารย์แล้วนำมาปรับใช้ หรือการได้รับคอมเมนต์จากอาจารย์ และจากการที่เรามักจะใช้เวลาไปกับมันค่อนข้างนาน  ทำให้เราได้ trick ในการทำ presentation สำหรับตัวเองที่อยากจะมาแชร์กับทุก ๆ คนในวันนี้ ดังนี้

Advertisement

Advertisement

เนื้อหา

1. ย่อยเนื้อหาหรือคัดเฉาะส่วนที่สำคัญ : เนื้อหาบน presentation ที่ดี จะต้องไม่เกิน 8 บรรทัดต่อ 1 slide และมีขนาดตัวอักษรที่ไม่เล็กจนเกินไป ถ้าหากคุณใช้ฟอนต์ปกติทั่วไปอย่าง Angsana new หรือ TH Sarabun ก็จะต้องมีขนาดตั้งแต่ 24 pt ขึ้นไป ดังนั้นเราควรที่จะมีการย่อยเนื้อหาหรือคัดเฉพาะเนื้อหาส่วนที่สำคัญ เพื่อที่จะให้ผู้ที่ฟังเรานำเสนองานไม่รู้สึกเบื่อและจดจ่อกับการอ่าน presentation ของเรามากกว่าที่จะฟังเราพูดนำเสนอ

2. การแบ่งเนื้อหา : ต่อจากข้อที่ 1 เลย ก็คือหลังจากที่ย่อยเนื้อหาแล้วและก่อนที่จะนำข้อมูลมาทำ presentation ควรมีการวางแผนไว้ก่อนว่าในแต่ละหน้าของ presentation จะใส่ข้อมูลอะไรลงไปบ้าง เป็นการวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้าเพื่อที่จะได้เห็นภาพว่าเราควรจะจัดรูปแบบเค้าโครงแต่ละหน้าอย่างไร

3. การนำเนื้อหาบางส่วนมาแปลงให้อยู่ในรูปของ ตาราง MindMap และอื่น ๆ : การทำให้ presentation ของเราดูน่าสนใจและไม่น่าเบื่อบางครั้งเราก็ต้องมีการแปลงรูปแบบของการนำเสนอเนื้อหาบ้าง ซึ่งจะทำให้งานของเราแทนที่จะมีข้อมูลให้อ่านแบบยาว ๆ หลายบรรทัดดูแล้วตาลาย ให้กระชับและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

Advertisement

Advertisement

4. การเลือกใช้รูปภาพให้เข้ากับเนื้อหาหรือใช้รูปภาพแทนเนื้อหา : ในบางครั้งการใช้รูปภาพแทนการใส่เนื้อหาหรือการอธิบายเนื้อหาจากรูปภาพก็จะทำให้เราดูมีความเป็นมืออาชีพในการนำเสนองานและผู้ฟังก็เข้าใจและเห็นภาพของงงานที่เราต้องการนำเสนอมากขึ้น


การจัดรูปแบบของหน้า

ปัจจุบันมีแอปพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์สำหรับทำ presentation แบบสำเร็จรูปมากมายอย่างเช่น Canva Piktochart และอื่น ๆ ทำให้เราสะดวกสบายในการทำงานมากยิ่งขึ้น และทำให้งานของเราสวยงามและน่าสนใจ เราก็เป็นคนหนึ่งที่ใช้สิ่งเหล่านี้ในการช่วยเราทำเพราะมันง่ายและสะดวก เพราะมีแบบฟอร์มสำเร็จรูปให้เราได้เลือกใช้ได้เลย แรก ๆ เราก็คิดอย่างนั้น แต่พอถึงช่วงหนึ่งเรากลับรู้สึกว่าการใช้แบบฟอร์มสำเร็จรูปมันดูน่าเบื่อและไม่น่าสนใจสำหรับเราอีกต่อไป เพราะว่าไม่ได้มีแค่เราที่ใช้ คนอื่น ๆ เขาก็ใช้กัน ทำให้เกิดการใช้รูปแบบที่ซ้ำกันอยู่บ่อย ทำให้เรารู้สึกเบื่อและเลือกที่จะออกแบบงานด้วยตนเอง และอีกประการคือแบบฟอร์มสำเร็จรูปหลาย ๆ แบบที่เราชอบมันไม่เหมาะกับเนื้อหาของเรา ทำให้เราอยากที่จะออกแบบงานของตัวเองที่ไม่ซ้ำใครและผสมความเป็นตัวเองลงไปด้วย

Advertisement

Advertisement

Canva.comขอบคุณรูปภาพจาก https://mobile.thaiware.com/app-free/2259.html

Piktochartขอบคุณรูปภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Piktochart

ซึ่งเราไม่ได้บอกว่าการใช้แบบฟอร์มสำเร็จรูปมันไม่ดี หรือไม่ควรใช้ เพราะบางครั้งเราก็ยังใช้ในงานที่มีความเร่งรีบหรือไม่ได้มีเวลาในการทำมากนัก แต่เราแค่อยากจะมาแชร์วิธีการให้กับหลาย ๆ คนที่คิดหรือรู้สึกเหมือนกับเรา ไม่อยากที่จะทำงานซ้ำกับใคร อยากมีงานที่เป็นงานของเราเอง แสดงความเป็นตัวของเราเอง โดยเรามีวิธีการของตัวเราเอง ดังนี้

  • เริ่มแรกหลาย ๆ คนคงยังนึกภาพไม่ออกว่าเราควรจะจัดหน้าแบบไหนดี ให้ทุกคนลองหาหา inspiration จากแหล่งต่าง ๆ ทั้งตัวเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นที่เราได้กล่าวมา หรือเว็บไซต์อื่น ๆ อย่าง pinterest powerpointhub หรือนำแบบฟอร์มที่เราใช้ประจำมาเป็นต้นแบบของงานเราก่อน คือ ให้ทุกคนปรับจากง่าย ๆ ก่อน คือแทนที่เราจะนำแบบฟอร์มสำเร็จรูปมาใช้โดยตรงเลย แต่เป็นการให้เรานำแบบฟอร์มนั้นมาเป็นตัวแบบให้กับงานของเรา นำส่วนที่เราชอบ เราคิดว่ามันเหมาะกับเนื้อหาตรงนั้นมาใช้ อาจเริ่มจากใช้แค่ 1 แบบฟอร์มมาเป็นตัวอย่างก่อน แล้วค่อย ๆ นำแบบฟอร์มอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน หรือสามารถปรับให้เข้ากับได้มาเสริม เมื่อเราได้ลองทำแบบนี้บ่อย ๆ มันจะค่อย ๆ ทำให้เราสามารถออกแบบงานของเราได้เอง มีความเป็นตัวของเราเอง โดยไม่จำเป็นต้องนั่งดูตัวอย่างจากแบบฟอร์มสำเร็จรูปที่มีอยู่
  • การเลือกฟอนต์ นอกจากที่เราจะมีแบบฟอร์มหรือเค้าโครงที่สวยงามแล้ว การเลือกฟอนต์ให้เข้ากับงานออกแบบของเราก็สำคัญ ในหลาย ๆ ครั้งเราออกแบบเค้าโครงมาอย่างดี แต่กลับใช้ฟอนต์ที่ไม่เข้ากับงานของเรา หรือฟอนต์ที่เราใช้เมื่อนำไปนำเสนอแล้วกลับอ่านไม่ออก ฟอนต์เลื่อน ตัวอักษรติดกันเกินไป ดังนั้นในการทำงานก็ไม่ควรมองข้ามจุดตรงนี้ไป แต่ถ้าหาฟอนต์ไม่ได้จริง ๆ ฟอนต์ธรรมดา ๆ อย่าง Angsana new หรือ TH Sarabun หรือฟอนต์ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีในการทำงานนำเสนอของเรา
  • การใช้สี การเลือกใช้สีนอกจากจะทำให้งานของเราดูน่าสนใจแล้ว การเลือกใช้สีก็ควรคำนึงถึงผู้ที่ฟังเรานำเสนองานด้วยว่าเป็นใคร เพราะสีสันที่ดูแสบตาไปก็ไม่เหมาะกับคนในบางกลุ่ม ดังนั้นควรเลือกใช้สีที่ดูแล้วสบายตา อย่างสี pastel tone หรือถ้าหากใครไม่รู้ว่าจะใช้สีอะไรดี ใช้สีอะไรที่จะทำให้งานเราออกมาสวย เราขอแนะนำ coolors.co ที่จะช่วยในการเลือกใช้สีในงานออกแบบของเราให้ดูสวยงามมากขึ้น

coolors.coขอบคุณรูปภาพจาก https://help.coolors.co/hc/en-us/articles/360010581980-Generate-a-palette


สำหรับการมาแชร์ประสบการณ์การทำ presentation ของตัวเราเองในวันนี้ คงจะทำให้ใครหลาย ๆ คนได้แนวคิดหรือได้รับความรู้จากเราไป และหวังว่าทุก ๆ คนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองได้ ขอบคุณทุก ๆ คนที่แวะเข้ามาอ่านครับ ^^

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์