เพลง

เเร็ป กับความสร้างสรรค์ที่ให้มากกว่าคนบันเทิงใน Show me the Money Season 2

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เเร็ป กับความสร้างสรรค์ที่ให้มากกว่าคนบันเทิงใน Show me the Money Season 2

ในปัจจุบันนั้น ‘เสียงเพลง’ ถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในชีวิตเลยก็ว่าได้โดยเสียงเพลงจะบ่งบอกและสื่อถึงอารมณ์ ความรู้สึก หรือแม้กระทั้งเป็นเพื่อนของเรายามเหงา ซึ่งเพลงจะมีหลากหลายแนว หลากหลายสไตล์ อยู่ที่ความชอบของผู้ฟัง อาทิเช่น แนว Jazz , R&B , Pop และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งหนึ่งในเพลงที่ได้รับความนิยมและกลับมาแพร่หลายอีกครั้งในปีที่ผ่านมาและในปัจจุบันคือ ‘เพลงแร็ปหรือดนตรีแร็ป’ ซึ่งวันนี้แอดจะชวนทุกคนมารู้จักกับเพลงแร็ปและเหตุใดเพลงแร็ปถึงเป็นการสื่อสารข้อมูลในเชิง Sensitive กว่าดนตรีชนืดอื่น ๆ หากพร้อมแล้วตามมาชมกันเลยค่ะ : )

ดนตรีเเร็ปมาจากไหน?

เพลงแร็ปเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ที่ New York ประเทศสหรัฐอเมริกา ในย่านบร๊องซ์ เกิดจากกลุ่มชาวแอฟริกัน-อเมริกันเนื่องจากในสมัยนั้นย่านบร๊องซ์นั้นเรียกว่ามีชนชั้นแรงงานอาศัยอยู่ค่อนข้างเยอะจึงมักจะมีการจัดปาร์ตี้ของกลุ่มวัยรุ่นชาวแอฟริกัน-อเมริกันเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย สนุกสนานกับเพื่อนเพราะไม่มีเงินเข้าผับหรือสถานบรรเทิงมากนัก และได้ถือกำเนิด ‘ดีเจ (DJ)’ ขึ้นมาซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์มาก และ ‘นักร้อง (MC)’ ที่คอยป่าวประกาศผ่านไมโครโฟนและเชิญชวนผู้คนให้มาสังสรรค์

Advertisement

Advertisement

และผู้ที่เรียกว่าเป็นจุดสร้างดนตรีแนวแร็ปเลยก็คือ ดีเจ คูล เฮิร์ก (DJ Kool Herc) หรือชื่อจริงคือ ไคลฟ์ แคมป์เบลล์ (Clive Campbell) โดยย้อนกลับไปเขาได้จัดปาร์ตี้ชื่อว่า Back to School ที่บ้านของเขาเขาทำหน้าที่เป็นดีเจและมี โค้ก ลา ร็อก (Coke La Rock) ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของเขาทำหน้าที่เป็นนักร้อง

โดยโค้ก ลา ร็อก (Coke La Rock) นั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือเขามักชอบพูดสดเล่าเรื่องสะท้อนสังคมและเรื่องราวในปัจจุบันนั้น การพูดแบบสัมผัสคำและลีลาการมิกซ์แผ่นเพลงของเขา ทำให้ต่อมาผู้คนรู้สึกชอบถูกใจและทำตามกันในที่สุด ดังนั้นจึงถือกำเนิด ‘ดนตรีแร็ป เพลงแร็ป’ เกิดขึ้นและ Rapper คนแรกของวงการนี้ก็คือ โค้ก ลา ร็อก (Coke La Rock) นั้นเอง

และเพลงแร็ปก็ทำให้ผู้คนรู้จักดนตรีแนวฮิปฮอปในสไตล์การพูดจาโอ้อวด ตรงไปตรงมา เสียดสี เรื่องสะท้อนสังคม ณ ตอนนั้น และเรื่องทางเพศ ซึ่งต่อมาสไตล์แบบนี้จึงเป็นที่ติดตาติดหูต่อมานับตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน

Advertisement

Advertisement

 เพลงแร็ปกับบริบททางสังคม

บริบททางสังคมในปัจจุบันที่มีการใช้ดนตรีเเร็ปเข้ามาสื่อสารมากยิ่งขึ้นซึ่งจริง ๆ แล้วเรามองว่าเพลงแนวแร็ปถือเป็นเพลงของ ‘ยุคสมัยใหม่’ ที่สามารถลื่นไหลง่าย

และเป็นเสมือนฐานะกระบอกเสียง ช่องทางในการออกความคิดเห็นในหลาย ๆ เรื่อง ๆ อีกทั้งเพลงสไตล์แร็ปเข้าไปอยู่ในใจของผู้ฟังได้ง่าย อาทิ ข้างต้นในเรื่องของแหล่งกำเนิดของเพลงแร็ปซึ่งเกิดจากกลุ่มคนผิวสีซึ่ง ณ ตอนนั้นเป็นกลุ่มชนชั้นแรงงาน ได้ผลิตเพลงแร็ปเพื่อเป็นแหล่งของความสนุกสนานอีกทั้งยังเป็นเครื่องสื่อสารไปยังกลุ่มคนที่มีอิทธิพลว่า พวกเขาคือใคร วิถีชีวิตเป็นอย่างไร ทัศนคติการมองโลก และการได้รับการปฏิบัติในฐานะพลเมืองที่แตกต่าง เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเพลงแร็ปกับบริบททางสังคมนั้นเปรียบเสมือนของคู่กันมาโดยตลอด

และในตลอดหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยของเราก็เป็นเช่นนั้น เพราะได้มีการนำ ‘เพลงแร็ป’ มาร้องเพื่อการบอกเล่า สื่อสารหรือเป็นกระบอกเสียงในเรื่องราวของบริบททางสังคมเป็นจำนวนมาก

Advertisement

Advertisement

 ดนตรีแร็ปกับความ Sensitive

ในปัจจุบัน ‘ดนตรีหรือเพลงแร็ป’ ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารข้อมูลที่มีความเปราะบางหรือ Sensitive มากกว่าดนตรีประเภทอื่นเนื่องจากอย่างที่กล่าวไปข้างต้นค่ะว่า เพลงแร็ปนั้นมีสไตล์การร้องที่มีความตรงไปตรงมาและมักจะใช้เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ณ ตอนนั้น ๆ มาแต่งเพลงเพื่อสะท้อนอะไรหลาย ๆ อย่างซึ่งเป็นเสมือนการบอกเล่าเรื่องราวและเป็นกระบอกเสียงแบบมีนัยะของผู้คนในสังคมได้อย่างเป็นอิสระเสรี

หากจะยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ‘เรื่องทางเพศ’ ที่จะมีเพลงแร็ปสำหรับเหล่า LGBTQ 🏳️‍🌈 ที่มักจะร้องในรูปแบบของการนำเสนอของความหลากหลายทางเพศ การที่สังคมไม่ยอมรับ ความไม่เท่าเทียมและปิดท้ายคือสิ่งที่พวกเขากำลังจะสื่อออกมาว่าพวกเขาก็คือมนุษย์คนหนึ่ง เป็นต้น ซึ่งในเพลงแร็ปจะมีอีกหลากหลายประเด็นที่มักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือของการตีแผ่เรื่องราวสะท้อนทั้งด้านเชิงบวกและเชิงลบ สิ่งเหล่านี้มันทำให้ touch ใจคนฟังได้อย่างง่าย

และอย่างคำกล่าที่ว่าเหรียญมักจะมีสองด้าน ซึ่งคำนี้ก็อาจจะใช้กับเพลงสไตล์แร็ปได้เช่นกัน เพราะในปัจจุบันจะมีการผลิตเพลงแร็ปที่เน้นพูดในเรื่องของ sex สิ่งเสพติด อบายมุข แอลกอฮอล์ ซึ่งแน่นอนค่ะว่าประเด็นเหล่านี้มักจะเข้าถึงและ touch ใจผู้ฟังได้มากเช่นกัน แต่ในบางเพลงมักจะเสนอในแง่ที่ส่งเสริม ซึ่งก็ถือว่าไม่ควรเสพเพราะจะส่งเสริมทัศนคติในด้านลบได้

1

ก็จบลงไปแล้วนะคะสำหรับ “เเร็ป กับความสร้างสรรค์ที่ให้มากกว่าคนบันเทิงใน Show me the Money Season 2” จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันเพลงแร็ปนั้นก้าวขึ้นมามีบทบาทมากขึ้น จะเห็นได้จากการมีหลาย ๆ เพลงได้นำดนตรีหรือท่อนแร็ปเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในเพลงหรือที่เห็นได้ชัดเลยคือ ‘รายการ Battle แนวเพลงแร็ป’ ที่ถูกผลิตขึ้นหลากหลายรายการ และหนึ่งในนั้นที่เรียกว่าหือหาและสร้าง Rapper ชื่อดังหลายคน นั้นคือรายการ ‘Show me the money’ ซึ่งตอนนี้มีถึง Season2 แล้วค่ะ เพื่อน ๆ สามารถติดตามการแข่งขันสุดมันส์นี้ได้ที่ช่องทรูไอดีและแถมยังสามารถรับชมภาพยนตร์โดยผ่านทาง https://trueid.onelink.me/14Ip/f4653172 อีกด้วย สำหรับวันนี้แอดขอตัวลาก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 🙂

  • เครดิตภาพหน้าปก

@smtmthailand

  • เครดิตภาพประกอบบทความ

ดนตรีแร็ปมาจากไหน?

เพลงแร็ปกับบริบททางสังคม

ดนตรีแร็ปกับความ Sensitive  (1) (2)

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์