ไลฟ์แฮ็ก

เหตุผลที่เราควรเก็บของที่ไม่แน่ใจว่าจะทิ้งหรือไม่!!

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เหตุผลที่เราควรเก็บของที่ไม่แน่ใจว่าจะทิ้งหรือไม่!!

ถ้าคุณลังเลที่จะทิ้งของชิ้นใดก็ตาม ให้เก็บของชิ้นนั้นไว้ใน “กล่องเก็บของที่จะทิ้งหากไม่ได้ใช้ใน 3 เดือน” และเมื่อครบ 3 เดือนแล้วคุณไม่ได้ใช้มันจริง ๆ ก็ตัดใจโยนทิ้งไปได้เลยค่ะ

มองเผิน ๆ วิธีจัดเก็บแบบนี้ดูเป็นวิธีการที่ถูกต้องและน่าจะทำได้ไม่ยาก แต่เราไม่เห็นด้วยค่ะ ความจริงเมื่อก่อนเราเองก็เคยจัดบ้านด้วยวิธีนี้เหมือนกัน แต่รู้สึกว่ามันไม่เหมาะกับตัวเองเอาซะเลย

ภาพจาก freepik.com ขอบคุณภาพจาก freepik.com

วิธีนี้ออกจะดูสมเหตุสมผล เข้าใจง่าย แถมเวลาทิ้งของเรายังสามารถหาข้ออ้างในการทิ้งให้ตัวเองได้ว่า “ในเมื่อไม่ได้ใช้ตั้ง 3 เดือนแล้วก็คงต้องทิ้งไป” เราเคยคิดว่าตัวเองคลั่งไคล้การจัดบ้านมากเกินไปและรู้สึกผิดว่า “นี่เราทิ้งเยอะเกินไปหรือเปล่า” ในตอนนั้นเรารู้สึกว่าวิธีที่พูดมานั้นเหมาะกับตัวเองมาก จึงพยายามทำตามนั้นเป็นระยะเวลานานถึงสองปีครึ่ง

Advertisement

Advertisement

ฉันเริ่มจากกำหนดให้ถุงกระดาษที่วางอยู่ตรงมุมขวาของตู้เสื้อผ้าเป็นที่เก็บ “ของที่ปลุกเร้าความสุขแต่ไม่แน่ใจว่าควรจะทิ้งดีหรือไม่” จากนั้นก็ตั้งกฏว่าจะติดป้ายที่ระบุ “วันครบกำหนัด 3 เดือน” ข้าวของแต่ละชิ้นกำกับเอาไว้ แต่เนื่องจากเราไม่ได้มีของมากมายนักจึงข้ามขั้นตอนนี้ไป จากนั้นก็ใช้ชีวิตไปตามปกติ

สุดท้ายเราก็ไม่ได้นำข้าวของที่อยู่ในถุงนั้นมาใช้ค่ะ

ภาพจาก freepik.com ขอบคุณภาพจาก freepik.com

เรากำลังช่วยเหลือข้าวของไม่ให้ถูกโยนทิ้งไป แทนที่จะเราจะรู้สึกเบิกบานใจ เรากลับรู้สึกหนักอึ้งทุกครั้งที่เห็นถุงกระดาษตรงมุมขวาของตู้เสื้อผ้า ระดับความสุขของตู้เสื้อผ้าที่จัดเก็บเรียบร้อยแล้วอุตส่าห์พุ่งสูงทั้งที แต่กลับต้องมาตกฮวบเหมือนกราฟรูปตัววีคว่ำและถึงจะย้ายถุงไปไว้ตรงมุมซ้ายก็ไม่ทำให้อะไรดีขึ้น เราพยายามหยิบของในถุงมาใช้งาน เช่น เวลาเปิดซิงจดหมาย ฉันจะลองเอามีดไม้ไป่ที่ได้เป็นของฝากจากการไปเที่ยวมาใช้เปิดทั้งที่ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้หรือบางทีก็ลองหยิบสมุดโน๊ตลายตัวการ์ตูนที่ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่มาใช้สักครั้งสองครั้งด้วยเหตุผลที่ว่า “เดี๋ยวจะครบ 3 เดือนแล้ว” ทั้งที่ฉันมีสมุดโน๊ตที่ปลุกเร้าความสุขอย่างเหลือเฟือ

Advertisement

Advertisement

ในระหว่างนั้นนอกจากเราจะรู้สึกว่า “เมื่อไหร่จะครบ 3 เดือนซะที” แล้ว เมื่อถึงวันครบกำหนดจริง ๆ เรายังคิดว่า “ฉันนี่บ้าชะมัด สุดท้ายก็ไม่ได้ใช้พวกเธอเลย ขอโทษด้วยนะ เรียกได้ว่าความรู้สึกผิดตอนที่จะทิ้งของเหล่านั้นเพิ่มขึ้นจากเมื่อ 3 เดือนก่อนถึง 3 เท่าเลยทีเดียว

ภาพจาก freepik.com ขอบคุณภาพจาก freepik.com

หลังจากนั้นเราก็ลืมทุกสิ่งทุกอย่างจนหมดสิ้น และปล่อยถุงใบนั้นทิ้งไว้โดยไม่ได้แตะต้องมันอีกจนเวลาล่วงเลยไปได้ครึ่งปี

เหตุการณ์วนเวียนอยู่อย่างนั้นสองปีครึ่ง ถ้าทำได้เราอยากจะจับตัวเองในอดีตมานั่งคุกเข่าตรงหน้าแล้วสั่งสอนซะหน่อยว่า “ดูซิว่าเราทำอะไรลงไป” ถ้าเรามีของที่ไม่แน่ใจว่าควรจะทิ้งดีหรือไม่ก็ให้เก็บไว้เอาไว้ได้เลยค่ะ ไม่ต้องไปแยกเก็บไว้ที่อื่น

เพราะความจริงแค่คุณพิจารณาในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาคุณได้ใช้ของชิ้นนั้นบ้างหรือเปล่า คุณก็รู็ได้แล้วว่าจะใช้มันภายใน 3เดือนนี้หรือเปล่า

Advertisement

Advertisement

จากมุมมองของสิ่งของ มันคงรู้สึกเหมือนถูกเราตำหนิว่า “เธอไม่ปลุกเร้าความสุขให้ฉันเลย แถมฉันตำคงไม่ได้ใช้เธอด้วย แต่เราจะวางเธอไว้ตรงนี้สัก 3 เดือนก็แล้วกัน” นอกจากจะโดนพูดใส่หน้าว่า “ปลุกเร้าความสุขไม่ได้” และถูกจับแยกออกจากของที่อยู่ในหมวดหมู่เดียวกันแล้ว มันยังโดนเราเหน็บแนมทุกครั้งที่เห็นอีกว่า “ปลุกเร้าความสุขไม่ได้จริง ๆ ด้วย” ซึ่งส่วนใหญ่แล้วของเหล่านั้นก็มักจะถูกกำจัดไปในที่สุด ฉันรู้สึกว่าการทำแบบนี้ไม่ต่างอะไรจากการจับผู้ต้องสงสัยมาซ้อมให้ยอมรับสารภาพเลยล่ะค่ะ

ภาพจาก freepik.com ขอบคุณภาพจาก freepik.com

ฉันคิดว่าการนำสิ่งของสักชิ้นไปเก็บแยกจากของชิ้นอื่นเพียงเพราะอยากได้ข้ออ้างในการทิ้งไว้ “ในเมื่อไม่ได้ใช้ตั้ง 3 เดือนแล้วก็คงต้องทิ้งไป” นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องค่ะ

การที่คุณแยกเก็บของไว้แบบนั้นก็เหมือนคุณยอมให้ข้าวของที่ไม่ปลุกเร้าคความสุขอยู่ในบ้านของคุณ

สุดท้ายแล้วคุณก็มีทางเลือกเพียงสองทางเท่านั้นนั่นคือ เก็บของชิ้นนั้นไว้หรือโยนมันทิ้งไป เพราะฉะนั้น ของชิ้นไหนที่ตัดสินใจแล้วว่าจะเก็บไว้คุณก็ควรจะดูแลรักษาอย่างทะนุถนอมค่ะ

เราขอแนะนำว่าอย่าทำอะไรครึ่ง ๆ กลาง ๆ อย่างการลองเก็บไว้ 3 เดือนก่อนแล้วค่อยตัดสินใจอีกทีว่าจะทิ้งหรือเปล่า คุณได้ไม่ต้องกังวลและรู้สึกผิดในภายหลังไงล่ะค่ะ

ถึงแม้คุณจะตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่า “ถ้าหน้าร้อนปีนี้ไม่ได้ใช้ก็คงต้องบอกลากันแล้วล่ะ” แต่ในระหว่างที่ของชิ้นนั้นยังอยู่ในบ้าน เราอยากให้คุณปฏิบัติกับมันด้วยความรู้สึกว่า “ของคุณนะที่เธอยังอยู่ตรงนี้” เสมือนว่าเป็นของที่ปลุกเร้าความสุขไม่ได้จริง ๆ หรือของชิ้นนั้นได้ทำหน้าที่ของมันเสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็ค่อยบอกกับของชิ้นนั้นว่า “ขอบคุณนะที่อยู่ด้วยกันมาจนถึงทุกวันนี้” แล้วโยนทิ้งไปค่ะ

เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เราเลยจะขอย้ำอีกครั้ง ถ้าคุณตัดสินใจแล้วว่าจะเก็บ “ของที่ปลุกเร้าความสุข” เอาไว้ ก็ขอให้เก็บอย่างสง่าผ่าเผย ไม่ต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ พร้อมทั้งใส่ใจและปฏิบัติกับของเหล่านั้นแบบเดียวกับของที่ปลุกเร้าความสุขให้คุณค่ะ


ขอบคุณภาพปกจาก freepik.com

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์