อื่นๆ

เสียงดีมีเรื่องอยากเผยแพร่ จะออกสื่อทางไหนดี

2.1k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เสียงดีมีเรื่องอยากเผยแพร่ จะออกสื่อทางไหนดี

จากที่เคยเขียนบทความ แบ่งปันประสบการณ์ตัวเองด้วยการเขียน สำหรับคนที่ไม่ถนัดเขียนแต่ถนัดสื่อสารทางการพูดล่ะจะมีวิธีเผยแพร่อย่างไรบ้าง ปัจจุบันมีทั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับในส่วนนี้ไม่น้อยเลยค่ะ เรามาดูกันไปทีละแอปนะคะ

Beeber1. Beeber /Beeber Live เริ่มจากแอปใหม่ล่าสุดที่พบเจอก่อน ตัวนี้จะมีเฉพาะแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เท่านั้น สามารถดาวน์โหลดตามระบบปฏิบัติการที่ใช้ได้ดังนี้ค่ะ

สำหรับ iOS

สำหรับ Android

แอปตัวนี้จะเป็นเครือเดียวกับ Ookbee, Joylada, Tunwalai และ Fictionlog ค่ะ โดยมีรูปแบบที่คุณสามารถเผยแพร่ได้หลากหลายดังนี้

-นำนิยายแช็ตจาก Joylada ที่คุณเขียนมาเผยแพร่ในรูปแบบนิยายเสียง

-Live สดและสามารถรับของกำนัลจากทางบ้านได้

-มีระบบ Podcast สามารถจัดรายการได้

สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบ Podcast คือ การเผยแพร่เสียงทางออนไลน์โดยมีผู้ดำเนินรายการมาเล่าเรื่องหรือพูดคุยเหมือนรายการวิทยุค่ะ

Advertisement

Advertisement

สามารถสร้างรายได้ได้ โดยคุณสามารถเผยแพร่ได้ฟรี แต่จะมีการหักส่วนแบ่งหรือค่าบริการกับทางแพลตฟอร์ม

ขณะนี้ทางแอปเริ่มมีการนำนิยายลิขสิทธิ์จากแพลตฟอร์มตัวเอง (Tunwalai และ Fictionlog) มาทำนิยายเสียงเผยแพร่และเก็บเงินแล้วค่ะ

MEBMarket2. MEB Market แพลตฟอร์มขายอีบุ๊คที่ใหญ่ที่สุด

หากคุณเขียนนิยายอยู่แล้ว คุณสามารถอ่านนิยายของคุณเผยแพร่ในรูปแบบนิยายเสียงได้ แต่ถ้าไม่มีผลงานของตัวเองคุณสามารถสมัครเป็นผู้อ่านนิยายเสียงกับทาง MEB ได้ และคุณจะได้ส่วนแบ่งจากยอดโหลดนิยายเสียง 20% สำหรับการลงขายนิยายเสียงหรือการส่งไฟล์เสียงทำได้บนเว็บไซต์เท่านั้น

เว็บไซด์
รายละเอียดการสมัครพากย์เสียง

สามารถสร้างรายได้ในฐานะเจ้าของนิยาย หรือในฐานะผู้พากย์เสียง หรือถ้าเขียนเองพากย์เสียงเองก็ได้

Soudcloud3. Soundclound เว็บสำหรับลงไฟล์เสียงโดยเฉพาะมีทั้งบนเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน

Advertisement

Advertisement

เว็บไซต์

สำหรับ iOS

สำหรับ Android

สามารถใช้งานได้ง่ายมากเลยแค่สมัครสมาชิกและกด Upload ไฟล์ตั้งชื่อ ตั้งค่าต่าง ๆ เลือกว่าจะให้เป็นสาธารณะหรือส่วนตัวก็ได้ สามารถเผยแพร่ในหลายรูปแบบดังนี้ค่ะ

-เผยแพร่เพลงที่แต่งเอง

-หนังสือเสียง

-Podcast

-คลิบเสียง

สามารถใช้งานได้ฟรี หากจะเสียเงินสำหรับพรีเมี่ยมก็ได้ กำลังจะสร้างรายได้ได้ในอนาคตค่ะ น่าจับตาอยู่นะคะ

Youtube4. Youtube เว็บไซด์ยอดนิยมในการเข้ารับชมและเผยแพร่ที่แทบไม่ต้องพูดมากเลย คุณสามารถเผยแพร่ได้ในรูปแบบคลิบวีดิโอรวมถึงในรูปแบบ Podcast มีทั้งบนเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน

เว็บไซต์

สำหรับ iOS

สำหรับ Android

สามารถทำสร้างรายได้ได้ เมื่อมีผู้ติดตาม 1,000 และยอดวิว 4,000 ชั่วโมง

โดยทาง Youtube มีระบบออโต้เคลมตรวจสอบลิขสิทธิ์เพลงที่เผยแพร่ในเว็บไซต์อัตโนมัติ โดยทางเว็บไซต์จะหักส่วนแบ่งค่าลิขสิทธิ์เพลงจ่ายคืนให้เจ้าของลิขสิทธิ์เองเมื่อมีการสร้างรายได้ โดย Youtuber ก็ไม่ต้องจ่ายเงินตัวเองและไม่ถูกดำเนินการด้านลิขสิทธิ์ โดยรายได้ของ Youtuber คือหักส่วนดำเนินการของเว็บไซต์และหักค่าลิขสิทธิ์คืนให้เจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว

Advertisement

Advertisement

Fastwork5. Fastwork เว็บไซต์ลงประกาศหางานสำหรับฟรีแลนซ์สำหรับคนเสียงดีต้องการขายเสียงค่ะ หากคุณเขียนไม่ได้ พูดแบบมีสคริปต์ได้ ลองลงประกาศหางานในฐานะผู้พากย์เสียงดูนะคะ โดยลงตัวอย่างคลิปเสียงแนบไปกับประกาศ มีคนต้องการคนพากย์เสียงในหลายรูปแบบอยู่นะคะ มีทั้งเว็บไซต์และแอปค่ะแต่แอปใช้งานได้ไม่ค่อยดีกำลังปรับปรุงอยู่

เว็บไซต์

สามารถสร้างรายได้ได้เมื่อมีผู้จ้างงาน

Read For the Blind6. Read for The Blind สำหรับสายบุญค่ะ เป็นการอ่านหนังสือโดยมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ให้ผู้บกพร่องทางทางสายตาบนแอปพลิเคชันเท่านั้น เพราะคนทั่วไปสมัครเข้าไปจะเป็นผู้อ่านหรือเผยแพร่คลิบเสียงได้อย่างเดียว ต้องเป็นผู้บกพร่องทางสายตาจะมีรหัสประจำตัวเพื่อเข้าไปฟังได้

สำหรับ iOS

สำหรับ Android

สรุปของแต่ละแอปนะคะ โดยสรุปนี้มาจากคอมเมนต์ในบอร์ดนักเขียนเด็กดี โดยมีทั้งบุคคลปกติและผู้บกพร่องทางสายตา ร่วมกับที่เราเคยทดลองใช้งานนะคะ

-Beeber ยังใหม่อยู่ต้องรอใช้งานสักระยะหนึ่ง ตอนนี้แค่ภาวนาให้อย่าให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์คือ นำนิยายติดลิขสิทธิ์มาอ่านหรือเผยแพร่ก็พอ

-MEB เราเคยทดลองส่งไฟล์เสียงไปเพื่อสมัครเป็นผู้พากย์เสียงแต่ไม่ผ่าน ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องโหลดหนังสือมาอ่านเองผ่านแพลตฟอร์มที่สามารถกระทำได้โดยต้องตัดต่อเสียงเองทั้งหมด

-Soundclound เป็นที่สร้างความทึ่ง เราเคยขอเพื่อนในบอร์ดว่ามาลองเขียนนิยายภาษาอังกฤษสักหนึ่งย่อหน้ากัน แล้วเราก็อ่าน 1 ย่อหน้านั้นลง Soundclound ค่ะ นอกจากเจ้าของเรื่องมาฟัง มีชาวต่างชาติมาฟังด้วย หนึ่งในนั้น inbox มาขออนุญาตนำไปเผยแพร่ค่ะ แต่ด้วยความที่เป็นของหลายคนค่ะ เราจึงไม่สามารถอนุญาตได้ จึงเป็นที่มาว่า หากอยากลอง Go Inter ลองเขียนนิยายเป็นภาษาอังกฤษแล้วเผยแพร่ดู บางท่านที่รู้จักจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้วจะไม่มีปัญหาส่วนนี้ เราจึงแนะนำว่าถ้าเขียนเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้วหรือจ้างแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ก็สามารถลงขายทาง Amazon ดูนะคะ

-Youtube อันนี้ต้องสร้างฐานแฟนคลับก่อนถึงจะมีผู้ติดตาม

-Fastwork ลองไปลงประกาศงานทิ้งไว้ดูไม่เสียหลาย สำหรับผู้มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปค่ะ

- Read For The Blind สอบถามความเห็นนักเขียนหลาย ๆ ท่านแล้ว บางท่านมีนิยายที่เปิดให้อ่านฟรีลงอยู่แล้วไม่ว่าจะรูปแบบอีบุ๊กใน MEB หรือบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งยินดีให้นำไปอ่านเพื่อผู้บกพร่องทางทางสายตาได้แค่มาขออนุญาตโดยตรงเท่านั้น ส่วนทางผู้บกพร่องทางทางสายตาแนะนำมาว่า สำหรับแอปนี้ให้เว้นช่วงหน้าก่อนอ่านและหลังอ่านจบสัก 10 วินาทีเพราะระบบจะตัดออกอัตโนมัติ และควรอัดในที่ไม่มีเสียงรบกวนดีกว่าโดยไม่ต้องมีเสียงประกอบ (Background Music)

วิธีการอัดเสียงและตัดต่อเบื้องต้น เราเคยมีเขียนไว้ดังนี้ คลิก

ขอบคุณภาพปกจาก Pixabay / ภาพประกอบที่ 1 แอปพลิเคชัน Beeber / ภาพประกอบที่ 2 จากเว็บไซต์ MEB Market / ภาพประกอบที่ 3 จากเว็บไซต์ Soundcloud / ภาพประกอบที่ 4 จากเว็บไซต์ Youtube / ภาพประกอบที่ 5 จากเว็บไซต์ Fastwork / ภาพประกอบที่ 6 แอปพลิเคชัน Read For The Blind

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์