อื่นๆ

เราทุกคนสามารถเปลี่ยนชนิดมิเตอร์ไฟฟ้าเพื่อลดค่าไฟได้จริงหรอ?

8.1k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เราทุกคนสามารถเปลี่ยนชนิดมิเตอร์ไฟฟ้าเพื่อลดค่าไฟได้จริงหรอ?

สวัสดีครับเพื่อนๆชาว True ID In-Trend ทุกคนช่วงเวลานี้นับเป็นช่วงเวลาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในทุกๆปีนั่นก็คือช่วงเวลาหน้าร้อนนั่นเองครับ หลายคนที่อยู่บ้านกันทั้งวันคงจะหนีไม่พ้นจะต้องเปิดแอร์กันทั้งวันทั้งคืนจนทำให้ค่าไฟนั้นพุ่งสูงเกินคาดกันเลยทีเดียวใช่ไหมละครับ แถมหนำซ้ำช่วงนี้พนักออฟฟิศหลายๆบริษัทก็ถูกจ้างให้ทำงานจากที่บ้านจึงทำให้ต้องเสียค่าไฟในส่วนของการชาร์จโน้ตบุ๊คและเปิดแอร์ในตอนกลางวันเพิ่มเข้าไปอีก แต่หลายท่านคงจะไม่รู้กันสินะครับว่ามิเตอร์ไฟฟ้าของเราสามารถเปลี่ยนไปเป็นอีกชนิดเพื่อลดค่าไฟได้

รูปภาพ 1

วันนี้ผมจะมาเล่าสิ่งที่น้อยคนมากจะรู้เกี่ยวกับมิเตอร์ไฟฟ้ากันครับ ซึ่งก่อนอื่นเลยต้องขอบอกอย่างนี้ก่อนครับว่า

มิเตอร์ไฟฟ้าตามบ้านเราโดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ครับ

1.มิเตอร์ไฟฟ้าชนิดปกติ

Advertisement

Advertisement

2.มิเตอร์ไฟฟ้าชนิดTOU

มาเริ่มกันที่ประเภทที่ 1 ก่อนครับนั่นก็คือมิเตอร์ไฟฟ้าชนิดปกติ โดยทั่วไปแล้วบ้านพักอาศัยส่วนใหญ่เรียกได้ว่าแทบจะทุกหลังจะติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าชนิดนี้ครับ โดยอัตราการคิดค่าไฟของมิเตอร์ชนิดนี้จะถูกคิดแบบอัตราที่เรียกว่า Progressive Rate (อัตราก้าวหน้า) นั่นก็คือยิ่งเราใช้ไฟมากเท่าไหร่ราคาของค่าไฟก็จะสูงขึ้นตามนั่นเองครับ หรือถ้าพูดให้เข้าใจอย่างง่ายที่สุดนั่นก็คือสมมติเดือนนี้เราใช้ไฟไปทั้งหมด 500 หน่วย ค่าไฟตั้งแต่หน่วยที่ 1-150 จะถูกคิดในราคานึง หน่วยที่ 151-400 จะถูกคิดอีกราคานึง และตั้งแต่ 400 หน่วยขึ้นไปก็จะเป็นอีกราคานึงเช่นกัน

โดยการไฟฟ้านครหลวงได้กำหนดค่าไฟฟ้าไว้ดังนี้ครับ

1.กรณีใช้ไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน

15 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1 – 15)                           หน่วยละ 2.3488 บาท

Advertisement

Advertisement

10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16 – 25)                      หน่วยละ 2.9882 บาท

10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26 – 35)                      หน่วยละ 3.2405 บาท

65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36 – 100)                    หน่วยละ 3.6237 บาท

50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101 – 150)                  หน่วยละ 3.7171 บาท

250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400)                หน่วยละ 4.2218 บาท

เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป)       หน่วยละ 4.4217 บาท

ค่าบริการ 8.19 บาท/เดือน

2.กรณีใช้เกิน 150 หน่วยต่อเดือน

150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1 – 150)                        หน่วยละ 3.2484 บาท

250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151 – 400 )               หน่วยละ 4.2218 บาท

เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป)        หน่วยละ 4.4217 บาท

Advertisement

Advertisement

ค่าบริการ 38.22 บาท/เดือน

จะเห็นได้ว่าสิ่งแรกที่การไฟฟ้าจะพิจารณานั่นก็คือดูว่าบ้านเราใช้ไฟเกิน 150 หน่วยไหม ถ้าไม่เกินก็จะใช้หลักเกณฑ์ในข้อ 1 คิดราคา ถ้าเกินก็จะใช้หลักเกณฑ์ข้อที่ 2 แทนนั่นเองครับ จากนั้นอัตราค่าไฟก็จะแตกต่างกันตามปริมาณไฟที่เราใช้ไปครับ จะเห็นได้ว่ายิ่งจำนวนหน่วยเยอะจะทำให้เรายิ่งเสียเงินต่อหน่วยมากขึ้นเท่านั้น

รูปภาพ 2

มาต่อกันที่ประเภทที่ 2 กันครับซึ่งเป็นหัวใจหลักของบทความนี้นั่นเอง นั่นก็คือมิเตอร์ประเภท TOU (Time of Use) หรือเรียกกันให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือมิเตอร์ไฟฟ้าที่คิดเงินตามช่วงเวลาของการใช้ไฟนั่นเองครับ ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่ามิเตอร์ชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลดภาระของการไฟฟ้าในการที่จะต้องผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อการใช้งานในช่วงพีคครับ พูดให้เข้าใจอย่างง่ายก็คือให้เรานึกภาพอย่างนี้ครับโดยทั่วไปแล้วพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของคนทั่วไปนั่นก็คือจะใช้ไฟฟ้าอย่างหนักกันในช่วงตั้งแต่ 9:00 - 22:00 ครับ ยกตัวอย่างเช่นบริษัทที่ต้องเปิดไฟเปิดแอร์, ห้างต่างๆ ที่ต้องเปิดไฟเปิดแอร์, โรงเรียนต่างๆที่ต้องเปิดไฟเปิดแอร์ รวมไปทั้งคนที่อยู่บ้านช่วงกลางวันก็ร้อนจนต้องทำให้เปิดแอร์ในตอนกลางวัน แต่เราจะเห็นได้ว่าในช่วงเวลาตั้งแต่ 22:00 - 9:00 การใช้ไฟฟ้าจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากห้าง, โรงเรียน, บริษัท ได้ปิดทำการ เพราะฉะนั้นในช่วงเวลานี้จึงทำให้การไฟฟ้านั้นผลิตไฟฟ้าขึ้นมาเกินความจำเป็น สืบเนื่องมาจากการที่ต้องเดินโรงไฟฟ้าในตอนเที่ยงเพื่อตอบสนองความต้องการในช่วงพีค และพอการใช้ไฟฟ้านั้นลดลงอย่างมากในช่วงกลางคืนจึงทำให้การไฟฟ้าต้องหยุดเดินโรงไฟฟ้าบางโรงที่ไม่จำเป็นไปก่อน จากนั้นเมื่อกลับมาถึงช่วงเวลา 9:00 น. นั่นก็คือช่วงพีคอีก การไฟฟ้าก็ต้องทำการเดินโรงไฟฟ้าขึ้นมาเพิ่มอีกเพื่อให้ตอบสนองความต้องการ ซึ่งขั้นตอนในการเริ่มเดิมโรงไฟฟ้าขึ้นมานั้นมีต้นทุนสูงมากในการเริ่มเดิน 1 ครั้ง ซึ่งแพงยิ่งกว่าการเดินโรงไฟฟ้าเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการเสียอีก เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนกับรถยนต์ที่จะกินน้ำมันหนักมากในขั้นตอนการสตาร์ทรถซึ่งกินน้ำมันหนักยิ่งกว่าการขับเรื่อยๆ ในช่วงความเร็ว 60 km/h เสียอีก

รูปภาพ 3

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสิ่งที่การไฟฟ้าต้องการก็คืออยากให้ประชาชนลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงพีคลงและแบ่งมาใช้ในช่วงกลางคืนบ้าง จึงทำให้การไฟฟ้าคิดอัตราการใช้ไฟฟ้าแบบ TOU ขึ้นมานั่นเองครับ ซึ่งการไฟฟ้านครหลวงได้กำหนดอัตราการใช้ไฟฟ้าประเภท TOU ไว้ดังนี้ครับโดยแบ่งค่าไฟออกเป็น 2 ช่วงนั่นก็คือ

1.ช่วง Off Peak

เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ
วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)

2.ช่วง On Peak

เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์

โดยอัตราค่าไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับว่าเราใช้ไฟฟ้าในช่วงไหนดังนี้ครับ

ช่วง On Peak หน่วยละ 5.7982 บาท

ช่วง Off Peak หน่วยละ 2.6369 บาท

ดังนั้นจึงสรุปได้อย่างนี้ครับว่าบ้านใครที่มีพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในช่วง Off Peak มากกว่าช่วง On Peak สามารถยื่นความประสงค์กับการไฟฟ้าเพื่อเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นชนิด TOU ได้ครับ รู้อย่างนี้แล้วลองกลับไปสำรวจพฤติกรรมการใช้ไฟของตัวเองกันดูนะครับว่าใช้ไฟในช่วงไหนมากกว่ากัน ถ้าใช้ในช่วง Off Peak มากกว่า ช่วง On Peak ก็ควรจะไปเปลี่ยนมิเตอร์เป็นชนิด TOU นะครับซึ่งจะช่วยลดค่าไฟได้มากขึ้นเลยทีเดียว

ขอบคุณภาพจาก รูปภาพหน้าปก : Wikimedia/ รูปภาพ 1 : Pixabay/ รูปภาพ 2 : Hippopx/ รูปภาพ 3 : Pixabay

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์