ไลฟ์แฮ็ก

เทคนิคในการเลือกซื้อจักรยาน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เทคนิคในการเลือกซื้อจักรยาน

ภาพโดย volkan ugur จาก Pixabay เคยปั่นจักรยานกันไหมครับ ผมเชื่อว่าหลายคนเคยปั่นจักรยานกันตอนเด็ก ๆ หรือตอนนี้ก็ยังปั่นอยู่ ไม่ว่าจะปั่นไปทำงาน ปั่นในหมู่บ้าน ปั่นในซื้อกับข้าว หรือมีไว้ปั่นออกกำลังกาย ก็ล้วนต้องปั่นด้วยกันทั้งนั้น ถ้าไม่ปั่นจักรยานก็เป็นจักรยานไฟฟ้าแล้วหล่ะ จักรยานที่ขาย ๆ กันอยู่ในท้องตลาดมีหลายแบบนะ ตั้งแต่จักรยานซื้อกับข้าว BMX แบบเด็ก ๆ ถ้าใหญ่ขึ้นหน่อยก็ จักรยานเสือภูเขา , เสือหมอบ แล้วถ้าเราอยากได้จักรยานสัก 1 คันเราเลือกซื้อจักรยานจากตรงไหนหล่ะ วันนี้ผมมีวิธีในการเลือกซื้อจักรยานสัก 1 คัน มาแนะนำครับ แต่ก่อนอื่นไปรู้จักประเภทของจักรยานกันก่อนว่ามันมีกี่ประเภท ไปครับ

ภาพโดย Pexels จาก Pixabay 1.จักรยานฝึกการทรงตัวสำหรับเด็ก

เป็นจักรยานสำหรับเด็ก ๆ ขี่ เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3-5 ขวบ จักรยานคันไม่ใหญ่มาก มี 2 ล้อยื่นออกมาด้านหลัง เหมือนกับรถ 3 ล้อสมัยนี เพื่อให้เด็กเล็ก ๆ หัดปั่นเพื่อพยุงตัว เพื่อให้สามารถปั่นจักรยาน 2 ล้อ เมื่อโตขึ้นได้ ข้อดี คือ เด็กปั่นแล้วไม่ล้มเพราะมีล้อคอยพยุงด้านข้าง เมื่อปั่นได้แล้วล้อ 2 ล้อด้านหลัง จะลอยสูงขึ้น ข้อเสีย คือ ถ้าเด็กไม่มีความกล้าหรือกลัวจะปั่นจักรยานแบบนี้ไม่ได้ ทำให้ปั่นจักรยานไม่เป็น วิธีการเลือกซื้อ ให้เลือกแบบที่แข็งแรง ไม่โคลงเคลงไปข้างใดข้างหนึ่ง และราคาไมแ่พงเกินไป เพราะราคาประเภทนี้เด็กใช้ไม่กี่ปีก็ต้องเปลี่ยนใหม่แล้ว

Advertisement

Advertisement

2.จักรยานเสือภูเขา

เป็นจักรยานที่ปั่นได้ทั้งทางวิบากและถนนทางเรียบ โครงจักรยานจะหนาและแข็งแรงกว่าจักรยานรุ่นอื่น ๆ ล้อจักรยานจะมีดอกยางที่ใหญ่และโตกว่า คันจักรยานจะใหญ่และหนาจนเทอะทะ ผู้ปั่นต้องมีร่างกายที่แข็งแรง บึกบึน วิธีการเลือก จักรยานเสือภูเขาเฟรมต้องแข็งแรงหนา ๆ ล้มแล้วเฟรมไม่บุบหรือยุบ มีหลายเกียร์ เวลาไปเลือกต้องไปเลือกซื้อที่ร้านจักรยาน เพราะเราจะได้ลองขึ้นขี่หรือให้เจ้าของร้านวัดจากขนาดของร่างกายเรา ว่าเราควรขี่จักรยานเสือภูเขาแบบไหนรุ่นไหนดี

https://2www.me/WQd3B 3.จักรยานไฟฟ้า

เหมือนเป็นจักรยานธรรมดา สามารถปั่นได้และมีมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับชาร์จไฟด้านล่าง สามารถชาร์จไฟและจักรยานจะวิ่งไปเองโดยที่เราไม่ต้องปั่น ข้อดี คือ ทำให้เราสะดวกสบายไม่ต้องออกแรงปั่น เช่น ขี่ไประยะใกล้ ๆ ไม่ไกลมากนัก ข้อเสีย คือ มีราคาแพง ต้องเสียค่าไฟฟ้าในการชาร์จไฟ

Advertisement

Advertisement

4.จักรยานพับได้

มันก็คือจักรยานนี่แหละ แต่ตรงคอจักรยานจะยาว ๆ สักหน่อย มีราคาแพง สามารถพับเก็บใส่กระเป๋าพับเก็บใส่รถ ไว้พกพาไปปั่นที่ไกล ๆ ได้ข้อดี คือ สะดวกในการเคลื่อนย้าย วิธีการเลือก เอาแบบที่พับได้และเวลาพับน้ำหนักต้องเบาด้วย ไม่หนักมีกระเป๋าสำหรับเก็บได้สะดวก และแข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน

5.จักรยานเสือหมอบ

เป็นจักรยานที่มีน้ำหนักเบา ตัวจักรยานจะเรียว ๆ ตัวโครงจักรยานดูบอบบาง ใช้สำหรับวิ่งบนท้องถนนที่ทางราบเรียบ ไม่เหมาะสำหรับวิ่งบนทางขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ เพราะจะทำให้ยางสะดุ้งวงล้อ หรืองอได้ ข้อดี คือ มีน้ำหนักเบา ทำความเร็วบนท้องถนนได้เป็นอย่างดี อัตราในการทดเกียร์ค่อนข้างต่ำ ข้อเสีย คือ โครงจักรยานบอบบางเกินไปต้องระมัดระวังเวลาขี่ไม่ให้ตกหลุมตกบ่อ และราคาค่อนข้างสูง และอะไหล่ค่อนข้างมีราคาแพง วิธีการเลือก เลือกเอาที่เบา ๆ  มีหลาย ๆ เกียร์ยิ่งแพง ต้องเลือกที่เฟรมแข็งแรงและมีน้ำหนักเบาด้วยครับ

Advertisement

Advertisement

6.จักรยานครุยเซอร์

เป็นจักรยานชายหาด ขี่ไปไหนก็คนมาขอถ่ายรูป. เฟรมทรงวินเทจไว้ปั่นเล่นชิลๆ ระบบเบรค coaster ขับขี่ปลอดภัย รถที่ปรับท่านั่งของผู้ขี่ให้ตั้งขึ้น ข้อดี คือ เหมาะสำหรับขี่เล่นตามชายทะเล ขี่เล่นในหมู่บ้านจัดสรร ข้อเสีย คือ ไม่เหมาะสำหรับคือโลดโผน หรือขี่วิบาก เพราะมันจะพังเอาง่าย ๆ วิธีเลือกคือ เอาแบบปั่นสบาย ๆ , แบบราคาไม่แพง , สีสันสวยงาม , มีตะกร้าใส่ของ , มีข้างตั้งข้างและตั้งขึ้นตรง

https://2www.me/y5vWq 7.จักรยาน BMX

เป็นจักรยานพาดโผน แบบวิบาก เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย มีขนาดไม่ใหญ่นัก เด็ก ๆ ขี่ได้ผู้ใหญ่ขี่ดี เมื่อก่อนเคยเป็นกีฬาจักรยานวิบากหรือพาดโผน ข้อดี คือ ขี่ได้ทั้งทางเรียบหรือทางวิบาก ราคาไม่แพง ข้อเสีย คือ อะไหล่ค่อนข้างหายาก และไม่เป็นที่นิยมสักเท่าไหร่  จักรยานสำหรับเด็ก ๆ ขี่เล่นนี่แหละ แต่มีล้อแบบดอกยางหนา ๆ หน่อย ต้องลุย ๆ ต้องเลือกแบบมีดีทนมือทนเท้าหน่อย อันนี้ตั้งงบประมาณไว้เลยว่า 3-5 พัน เพราะว่าเหมาะสำหรับเด็กที่โตแล้ว หรือเลือกแบบที่เด็กสามารถขึ้นไปคร่อมบนรถแล้วเอาเท้า 2 ข้างยันถึง

ภาพโดย Ulises Lothbrok จาก Pixabay 7 แบบ 7 ประเภท มันก็เยอะแล้วนะ ขึ้นอยู่กับว่าเราเอาไปใช้งานอะไร ปั่นเล่นรอบบ้าน ปั่นไปซื้อกับข้าว ปั่นออกกำลังกาย เยอะแยะครับ และราคาของจักรยานเริ่มตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักแสนบาท นี่แค่ราคาจักรยานนะยังไม่รวมชุดของมัน หมวกกันน็อค ไฟหน้าไปหลัง ขวดน้ำ อะไรอีกเยอะแยะ ปั่นจักรยานเหมาะสำหรับคนหนุ่มคนสาวนะ ถ้าอายุ 50 ปีขึ้นไปปั่นจักรยานไม่ดีแล้ว เพราะจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมลงได้ เพราะฉะนั้นเลือกออกกำลังกายให้ถูกวิธีดีกว่าครับ แล้วเวลาเราซื้อจักรยานเรามีวิธีในการดูยังไง ไปครับไปอ่านกันเลย

ภาพโดย Andrzej Rembowski จาก Pixabay

  1. ความต้องการ

การที่เราจะซื้อจักรยานสัก 1 คัน เราควรคิดซะก่อนว่า เราซื้อจักรยานมาเพื่ออะไรเอาไว้ปั่นไปตลาดไปซื้อกับข้าว ปั่นเล่นในหมู่บ้าน ปั่นออกกำลังกายทางไกล หรือซื้อเพื่ออวดเพื่อน ว่าเราก็มีจักรยานคันแพง ๆ

2.ขนาด

การที่เราเลือกจักรยาน เราควรเลือกโดยเอาจากความสูงของเราเป็นที่ตั้ง โดยที่เราไปเลือกซื้อที่ร้านจักรยาน ไปลองขี่ลองคร่อมกับจักรยานดูและบางร้านที่จำหน่าย เขารับประกอบตามขนาดความสูงของลูกค้า ตามขนาดรูปร่างของลูกค้าด้วย ราคาก็ขึ้นอยู่กับจักรยานที่เราเลือกและทางร้านประกอบให้

3.ราคา

ก่อนที่เราจะซื้อจักรยาน เราควรรู้ก่อนคร่าว ๆ ว่าจักรยานที่เราอยากได้มันราคาเท่าไหร่ เพื่อที่เราจะได้เตรียมเงินหรือเก็บเงินเพื่อไปซื้อจักรยานได้ แล้วอะไหล่ต่าง ๆ ที่ต้องซื้อที่หลังแพงไหม หมวกหรือชุดหรือรองเท้าอีกต่าง ๆ ที่เราต้องซื้อทีหลัง

4.ความทนทาน

จักรยานที่แข็งแรงและทนทานมันดูกันที่รุ่นที่ประเภทของความใช้งาน ถ้าเราไม่ขี่ไปโดนชนหรือล้มแรง ๆ ก็ไม่ทำให้เฟรมหรือตัวถังพังเสียหายง่าย ๆ ถ้าเรามีเงินเหลือเยอะแนะนำให้ซื้อจักรยานที่ดี ๆ ใช้งานได้นาน ๆ

ภาพโดย Nico Franz จาก Pixabay จริง ๆ จักรยานพวกเสือหมอบหรือเสือภูเขาก็ปั่นไปซื้อของที่ตลาดได้นะ ถึงแม้ไม่มีตะกร้าหน้ารถ แต่เราจะซื้อของมาไม่ได้เยอะ ก็ต้องหิ้วกันหน่อยหล่ะ ถ้าเราบ้านอยู่ใกล้ตลาด จักรยานแบบแม่บ้านเหมาะสมที่สุดละ เพราะมีตะกร้าใส่ของมาให้ และราคาก็ไม่แพงเกินไปด้วย และโครงของจักรยานก็แข็งแรงทนทาน แต่เราต้องเลือกให้ถูกประเภทและลักษณะในการใช้งานเป็นสำคัญด้วยครับ หรือเราจะซื้อจักรยานไว้ซื้อกับข้าว 1 คัน และซื้อจักรยานสำหรับปั่นออกกำลังกายอีก 1 คัน อันนี้ก็ไม่มีใครว่าหรอกครับ

ภาพโดย Free-Photos จาก Pixabay

ภาพปกโดย PIXABAY / ภาพประกอบที่ 1/ ภาพประกอบที่ 2 / ภาพประกอบที่ 3 /

ภาพประกอบที่ 4 / ภาพประกอบที่ 5 / ภาพประกอบที่ 6 / ภาพประกอบที่ 7 / ภาพประกอบที่ 8

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์