อื่นๆ

เจาะลึกจิตใจเมืองคนโหด! ทำไมอาชญากรรมถึงมีมากขึ้นทุกวัน?

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เจาะลึกจิตใจเมืองคนโหด! ทำไมอาชญากรรมถึงมีมากขึ้นทุกวัน?

สังเกตไหมครับว่าข่าวสารบ้านเมืองในแต่ละวันของเรา มีแต่พาดหัวที่เต็มไปด้วยอาชญากรรมความรุนแรงต่าง ๆ เช่น

“จับหนุ่มหื่น ฆ่าข่มขืน! เด็ก 6 ขวบคาบ้านพัก”

“ฆ่าโหด หมกสยอง เหตุโต๊ะข้าง ๆ เสียงดัง รัว 6 นัดซ้อน”

“ปาดคอสาวทิ้งบ่อน้ำ คาดปมชู้สาว”

หลายคนอาจจะบอกว่า สาเหตุคงจะเกิดจากชู้สาวล่ะมั้ง เมาล่ะมั้ง แน่นอนว่านั่นเป็นสาเหตุในทางคดีครับ แต่สาเหตุที่แท้จริงที่จะทำให้ใครสักคนลุกขึ้นมาฆ่าใครสักคน หรือก่ออาชญากรรมผิดกฎหมายได้ มักไม่ค่อยถูกหยิบยกมาพูดถึงสักเท่าไร

ในบทความนี้ผมจะพาไปรื้อค้น “จิตใต้สำนึก” กันครับว่า พฤติกรรมโหดร้ายที่อาจเป็นสาเหตุทำให้คนก่ออาชญากรรมความรุนแรงได้นั้นเกิดจากอะไรกันแน่

อาชญากรรมคืออะไร?

ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจคำว่าอาชญากรรมให้ตรงกันเสียก่อนครับ องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ให้ความหมายของคำว่าอาชญากรรมเอาไว้ว่า

Advertisement

Advertisement

“พฤติกรรมที่มีการกระทำผิดโดยผู้กระทำผิดมีเจตนาในการกระทำดังกล่าว โดยเป็นการกระทำความผิดที่มีลักษณะร้ายแรง มีความรุนแรงและเป็นอันตรายต่อสังคม ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบจำนวนมหาศาลต่อสังคม อันเป็นการกระทำที่มีการละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง”

อาชญากรรมคืออะไร?

หากจะให้นิยามสรุปสั้น ๆ ก็อาจกล่าวได้ว่า อาชญากรรมคือการทำผิดกฎหมายและอันตรายกับผู้อื่นนั่นเองครับ ซึ่งอาจรวมถึงความรุนแรง การทำให้ผู้อื่นรู้สึกไม่ปลอดภัยทั้งทางกายและทางใจด้วย

ทำไมคนไทยก่ออาชญากรรมเยอะ?

เมื่อเข้าใจนิยามของอาชญากรรมแล้ว เราจะต้องทำความเข้าใจว่าทำไมผู้ที่ก่ออาชญากรรมถึงไม่สนใจผลกระทบของสิ่งที่ทำต่อคนอื่น? ทำไมถึงเลือกที่จะก่ออาชญากรรมเพื่อสนองความต้องการของตัวเอง?

การจะตอบคำถามนี้ เราจะต้องเดินทางกลับไปรื้อค้นมันถึงสภาพจิตใจสมัยยังเด็กกันเลย

Usha Goswami เขียนไว้ในหนังสือ Child Psychology ถึงงานวิจัยชิ้นนึงที่ติดตามการเลี้ยงเด็กทารกของพ่อแม่ครับ

Advertisement

Advertisement

งานวิจัยชิ้นนี้สอบถามพ่อแม่เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือกลุ่มที่มีความใส่ใจสูง และกลุ่มที่ใส่ใจต่ำ

กลุ่มที่ใส่ใจสูงมักพยายามทำความเข้าใจอารมณ์ของลูก เช่น เวลาทารกทำเสียงแปลก ๆ ออกมา พ่อแม่ที่ใส่ใจทางอารมณ์ก็จะพยายามทำความเข้าใจว่า “เอ๊ะ ลูกฉันเป็นอะไร โดนมดกัดหรือเปล่า หรือกำลังจะบอกอะไรฉันใช่ไหมนะ?”

ในทางกลับกัน พ่อแม่ที่มีความใส่ใจทางอารมณ์ต่ำ เมื่อได้ยินเสียงแปลกประหลาดจากทารก็มักจะบ่นว่า “ไม่เข้าใจเลย พูดอะไรวะเนี่ย!” หรือหากจะตีความให้เข้ากับสังคมไทยก็อาจจะใช้ความรุนแรงกับเด็กจนกลัวและเลิกร้องในที่สุด

นักวิจัยติดตามผมโดยกลับไปพบพ่อแม่คู่เดิมตอนที่ลูกอายุ 5 ขวบอีกครั้ง และให้ลูกทำแบบทดสอบความเข้าใจในมุมมองของคนอื่น (False belief task)

ผลปรากฎออกมาว่า เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบใส่ใจจะทำแบบทดสอบได้ดีกว่าเด็กที่ได้รับการใส่ใจทางอารมณ์ต่ำ

Advertisement

Advertisement

นั่นแสดงว่า เมื่อพ่อแม่ใส่ใจอารมณ์ความรู้สึกของลูกตั้งแต่ยังแบเบาะ ไม่ใช้ความรุนแรงตำหนิติด่าอย่างไร้เหตุผล เด็กจะเรียนรู้ว่า อ๋อ นี่คือวิธีที่สังคมทำเพื่อให้ได้รับการยอมรับซึ่งกันและกัน

การเลี้ยงดูเด็ก มีผลต่อสภาพจิตใจของเด็ก

ในทางกลับกัน เด็กที่ได้รับความใส่ใจต่ำมีแนวโน้มจะทำตัวต่อต้านสังคมในอนาคต เช่น แหกกฎระเบียบ เล่นกับเพื่อนด้วยความรุนแรง

เพราะเด็กค่อย ๆ เรียนรู้ว่าเมื่อพ่อแม่ต้องการให้เราเงียบ ต้องการให้เราเรียบร้อย พ่อแม่จะใช้ความรุนแรงเข้าบังคับ

ดังนั้น หากเราต้องการอะไรจากคนอื่น ก็แสดงว่าเราต้องใช้ความรุนแรงน่ะสิ! เมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้นก็มีแนวโน้มจะกลายเป็นวัยรุ่นหัวรุนแรงในชั้นเรียน คอยขู่เข็ญลอกการบ้าน ไถ่เงิน เพราะมันนำมาซึ่งสิ่งที่ตัวเองต้องการ

หากซูมออกมายังวัยผู้ใหญ่ ก็มีแนวโน้มเช่นกันที่พวกเขาจะใช้การปล้น จี้ ข่มขืน เมื่อตัวเองเกิดความต้องการขึ้น โดยไม่ได้ใส่ใจความรู้สึกของผู้ถูกกระทำเลยแม้แต่น้อย

พอจะเห็นภาพไหมครับว่าสาเหตุที่แท้จริงของอาชญากรรมมีรากมาจากอะไรกันแน่

เด็กจะเรียนรู้ว่าความกลัวและความรุนแรงสามารถใช้เป็นเครื่องมือได้

สิ่งที่ผมจะสื่อก็คือ... พื้นฐานครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญมากต่อพฤติกรรมของคนในสังคมครับ ยุคที่พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเป็นคน Generation X หรือ Baby Boomer มักจะใช้การตี การด่า ให้เด็กกลัวและจดจำ

สาเหตุที่เป็นไปได้คือ “เพราะมันง่าย” ในการควบคุมเด็ก จะได้มีเวลาไปทำมาหากินมากขึ้นด้วย แต่ผลกระทบในระยะยาวที่เห็นก็คือเด็กจะเรียนรู้การใช้ชีวิตที่แฝงด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราดและความรุนแรงติดมาด้วยจนโต

พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จึงผุดให้เห็นในสมัยนี้มากมายเต็มไปหมด หากต้องการเงิน ฉันจะปล้น หากเกิดอารมณ์ทางเพศ ฉันจะต้องข่มขืน

ดังนั้น จะดีกว่าไหมครับหากเราเริ่มเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีเลี้ยงดู และวิธีการสอนเด็กให้มีความ “ใส่ใจทางอารมณ์” มากขึ้น ทำความเข้าใจกันมากขึ้น ไม่ใช่เอาแต่ตำหนิติด่า หรือใช้ความรุนแรงเพื่อพยายามควบคุมเด็กและคนรุ่นใหม่

ทั้งนี้ก็เพื่อให้สังคมของเราในอนาคต ปลอดภัยจากอาชญากรรมมากขึ้นนั่นเองครับ

ที่มาของข้อมูล

Usha Gowami, Child Psychology, สำนักพิมพ์บุ๊คสเคป, พิมพ์ครั้งที่ 1, มีนาคม 2562.

องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน, ความหมายของอาชญากรรม, (https://www.secnia.go.th/2016/01/13/ความหมายของอาชญากรรม/).

ภาพถ่ายโดย zydeaosika จาก Pexels

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์