ไลฟ์แฮ็ก

"หนี้ดี" vs "หนี้ไม่ดี" กับวิธีการเปลี่ยนหนี้จาก "หมดตัง" เป็น "เป๋าตุง"

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
"หนี้ดี" vs "หนี้ไม่ดี" กับวิธีการเปลี่ยนหนี้จาก "หมดตัง" เป็น "เป๋าตุง"

คำกล่าวที่ว่า "การไม่มีหนี้ ถือเป็นลาภอันประเสริฐ" ถือเป็นวาทะกรรมที่ไม่ได้เลื่อนลอยและเหมือนจะเป็นสิ่งที่ใครหลายคนเห็นด้วยและอยากไปอยู่ในสถานะของการไม่มีหนี้ดูสักครั้ง เนื่องจากในเวลานี้เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ในประเทศล้วนกำลังอยู่ในสภาวะของการเป็นหนี้ หรือเคยผ่านการเป็นหนี้มาแล้วแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะบรรดาหนี้ครัวเรือน ที่ไม่สามารถหมุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบด้านได้ทันเมื่อเทียบกับรายได้ในยุคปัจจุบัน จึงเกิดภาวะการกู้เงินจากทั้งสถาบันการเงิน หรือขั้นเลวร้ายที่สุดคือการกู้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนดมาปะทังลมหายใจให้อยู่รอดไปชั่วขณะหนึ่ง

ส่งผลให้แต่ละเดือนเงินที่ได้จากการทำงานหรือลงทุนลงแรงต่าง ๆ แทบไม่เหลือเก็บออมหรือนำไปใช้ประโยชน์ใด ๆ ได้เลย เนื่องจากหมดไปการจ่ายดอกเบี้ยเพื่อชำระหนี้ที่ไม่มีทีท่าว่ายอดเงินต้นจะหมดลงเมื่อใด จากภาพสะท้อนของคำว่า "หนี้" เหมือนจะมีแต่ความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน แต่บางครั้งการมีหนี้ก็ไม่ได้เลวร้ายหรือเสมือนรู้สึกตกอยู่ภายใต้ขุมนรกเสมอไป เพราะหนี้บางประเภทคือสะพานที่อาจนำไปสู่ความมั่งคั่งในอนาคต ดังนั้น โลกใบนี้จึงมีทั้ง"หนี้ดี" และ "หนี้ไม่ดี"

Advertisement

Advertisement

เงินตรา "หนี้ดี" คือ หนี้ที่ก่อให้เกิดโอกาสทางการเงิน หรือเกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง หรือเกิดสภาพคล่องทางการเงินในระหว่างการเป็นหนี้ เช่น การกู้เงินซื้อคอนโด ซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน หรือซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทต่าง ๆ แล้วปล่อยให้ผู้อื่นเช่าหรือทำประโยชน์ ซึ่งจะทำให้เราได้รับค่าตอบแทนอย่างต่อเนื่อง หรือซื้อเก็บไว้เก็งกำไร รวมทั้งการซื้ออสังหาริมทรัพย์เหล่านี้มาปรังปรุงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแล้วปล่อยขาย ซึ่งอาจทำกำไรได้หลายเท่าตัว รวมทั้งการกู้เงินมาเพื่อประกอบธุรกิจ หรือลงทุนทำการค้าประเภทต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดรายได้งอกเงยอย่างต่อเนื่อง เช่น การเปิดร้านขายขนม ขายอาหาร ขายเครื่องดื่ม ขายเสื้อผ้า

หรือการลงทุนเพื่อการศึกษาที่สูงขึ้น ซึ่งควรเป็นสาขาที่เป็นที่ต้องการหรือขาดแคลน เพื่ออนาคตหรือโอกาสเรื่องรายได้ที่ดีกว่า ฯลฯ ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่ควรระวังคือ จะต้องไม่ใช่การกู้เงินมาลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การกู้เงินมาลงทุนในตราสารหุ้นเพื่อเก็งกำไรในระยะสั้น เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีความผันผวนสูง และไม่สามารถคาดเดาราคาในอนาคตได้อย่างแม่นยำ หากเข้าซื้อในจังหวะที่ไม่ถูกต้อง เหมาะสม อาจทำให้เกิดความเสียหายในระยะยาวและอาจแบกรับภาระหนี้เป็นสองเท่า

Advertisement

Advertisement

การจ่ายบัตรเครดิต "หนี้ไม่ดี" คือ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดโอกาสทางการเงิน หรือเกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง หรือเกิดสภาพคล่องทางการเงินในระหว่างการเป็นหนี้ หรือเป็นหนี้ที่เกิดผลลัพธ์ตรงกันข้ามกับหนี้ดีทุกประการ เช่น การกู้เงินมาซื้อของฟุ่มเฟือย ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋า นาฬิกา เสื้อผ้าราคาแพง โทรศัพท์ราคาแพง การกินอาหารหรู ๆ การดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย การซื้อสิ่งของตามกระแสนิยม การซื้อรถยนต์ที่ไม่ได้นำสร้างประโยชน์เพื่อเกิดรายได้ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ เราจะเป็นฝ่ายจ่ายดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นอย่างต่อเนื่องแต่เพียงผู้เดียว เพื่อแลกกับสิ่งที่ไม่อาจสร้างผลตอบแทนทางการเงินใด ๆ ได้เลยในระหว่างการเป็นหนี้ หากเรายังตกอยู่ในภาวะการเป็นหนี้ประเภทนี้ และเพิ่มปริมาณวงเงินต่อไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เราตกอยู่ในภาวะหมดตัวในท้ายที่สุด

Advertisement

Advertisement

จากความหมายของของหนี้ทั้ง 2 ประเภทที่แตกต่างกันในเรื่องของการเกิดรายได้ระหว่างที่เป็นหนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนว่า เราควรก่อหนี้ประเภทใดและลดหนี้ประเภทใด ซึ่งหนี้ทั้ง 2 เภทมีวิธีการจัดการที่แตกต่างกันพอสมควร

"การจัดการกับหนี้ดี" อันดับแรกต้องพิจารณาทบทวนก่อนว่าเงินที่กู้หรือเป็นหนี้อยู่นี้สามารถทำรายได้ให้เราไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยที่เราต้องเสียไปหรือไม่ เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินของเรา เช่น หากเรากู้เงินมา 10,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อไป หรือเท่ากับ 1,000 บาท ต่อปี จำนวนเงินกู้ 10,000 บาท ที่เรากู้มานี้จะต้องทำรายได้มากกว่า 1,000 บาท ต่อปี จึงจะเป็นเงินกู้ที่สามารถสร้างรายได้ให้เราอย่างแท้จริง ทั้งนี้จะต้องค่อย ๆ สร้างรายได้กระทั่งสามารถนำผลกำไรมาจ่ายคืนเงินต้นเพื่อให้หนี้เหล่านั้นหมดลงโดยเร็ว โดยที่เรายังคงถือครองทรัพย์สินนั้น ๆ ซึ่งยังคงทำเงินหรือสร้างรายได้ให้เราอย่างต่อเนื่อง

ลงทุนซื้อบ้านในส่วนของ "การจัดการกับหนี้ไม่ดี" สิ่งสำคัญประการแรกคือการตั้งสติและรวบรวมจำนวนวงเงินทั้งหมดที่อยู่ในเกณฑ์หนี้ไม่ดี โดยเฉพาะหนี้จากการซื้อของฟุ่มเฟือยต่าง ๆ ว่ามีเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อวางแผนในการชำระหนี้ ซึ่งปกติแล้วการเป็นหนี้ ไม่ควรเกินร้อยละ 40 ของรายได้ เช่น ถ้าเรามีรายได้ 10,000 ต่อเดือน ไม่ควรเป็นหนี้หรือชำระหนี้เกินเดือนละ 4,000 บาท เพื่อให้เหลือเงินดำรงชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากยอดหนี้ของเราเริ่มอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถชำระรายเดือนหรือรายงวดได้ ก็ให้เจรจากับสถาบันการเงิน หรือผู้ให้เงินกู้เพื่อหาแนวทางการชำระหนี้ร่วมกัน

หลังจากนั้นสิ่งที่จะต้องทำคือ "หยุดการเป็นหนี้" ปิดทุกอย่างทุกช่องทางที่เป็นการก่อหนี้ ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต หรอบัตรกดเงินสดต่าง ๆ ที่เต็มไปด้วยอัตราดอกเบี้ยสูง เพื่อลดการซื้อของฟุ่มเฟือยหรือการใช้จ่ายเกินตัว เมื่อหยุดเป็นหนี้แล้วต้องลดรายจ่ายลงให้มากที่สุด เช่น การงดเครื่องดื่มหรืออาหารราคาแพง การงดซื้อเครื่องแต่งกายที่ไม่จำเป็น หรืองดท่องเที่ยวในช่วงนี้ เพื่อระดมเงินไปชำระหนี้ประเภทนี้ให้หมดลงโดยเร็ว ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการเพิ่มรายได้ เช่น เริ่มจากการนำของฟุ่มเฟือยที่ซื้อไว้ หรือสินทรัพย์ที่มีมาแปลงเป็นเงินทุนชำระหนี้ เช่น นำมาขาย หรือให้เช่า หรือการเปลี่ยนสภาพจากหนี้ไม่ดีให้กลายเป็นหนี้ดี เช่น การนำรถยนต์ที่กู้เงินซื้อมาขับรับส่งผู้โดยสาร ส่งของ ส่งอาหาร หรือนำไปใช้ประโยชน์เพื่อก่อให้เกิดรายได้ เป็นต้น

รถยนต์และการใช้ประโยชน์จะเห็นได้ว่าแม้จะเป็นหนี้ดี หรือหนี้ไม่ดี หากขึ้นชื่อว่า "หนี้" แล้ว ก็ยังคงป็นสิ่งที่เราต้องชำระหรือจ่ายคืน หรือที่เรียกว่าตกอยู่ในสภาวะ "การขาดอิสรภาพ" แต่ในขณะเดียวกัน หนี้บางประเภทก็อาจเป็นหนทางเดียวที่นำพาเราให้ไปสู่การปลดเปลื้องพันธนาการเพื่อนำไปสู่อิสรภาพและความมั่งคั่ง ดังนั้นมุมมองต่อ "การมีหนี้" จึงเป็นสิ่งที่ดี หรือไม่ดีอยู่ที่เราตั้งใจทำให้ "หนี้" เป็นอะไรในชีวิตเรา เพื่อการปลดแอกผ่านการทำหน้าที่ของ "หนี้ดี" หรือเพื่อเป็นหอกคอยทิ่มแทงผ่านการทำหน้าที่ของ "หนี้ไม่ดี"

ในส่วนของมุมมองที่ว่า การไม่มีหนี้ใด ๆ เลย จะเป็นการดีกว่าหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะที่ชีวิตไม่มีการก่อหนี้ใด ๆ นี้ ทำให้เรามีอิสรภาพทางการเงินที่สามารถคิด ทำ สิ่งใด อยากซื้อ อยากรับประทาน อยากไปท่องเที่ยวที่ไหนก็ได้บนโลก หรืออยากทำอะไรก็ที่สามารถซื้อได้ด้วยเงิน โดยปราศจากเงื่อนไขหรือไม่ต้องมานั่งกังวลถึงค่าใช้จ่ายว่าจะเพียงพอหรือไม่ หากคำตอบคือ "ใช่" ก็ถือเป็นโชคดีที่ไม่ควรก่อหนี้เพื่อประโยชน์อันใด แต่ถ้าหากคำตอบคือ "ไม่ใช่" และเต็มไปข้อจำกัดมากมาย การกู้เงินหรือการเป็นหนี้เพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงินหรือความมั่งคั่งทางการเงินให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่ประการใด ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งสำคัญคือการคิดอย่างรอบด้านและวางแผนอย่างรัดกุม เพื่อให้หนี้ที่ก่อกลายเป็นหนี้ดี และเฝ้าระวังไม่ให้กลายเป็นหนี้ไม่ดีที่ฉุดรั้งให้สถานะทางการเงินของเราตกต่ำย่ำแย่ลง

ภาพประกอบจาก pixabay ภาพหน้าปก, ภาพที่ 1, ภาพที่ 2, ภาพที่ 3, ภาพที่ 4

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์